พัฒนาการแนวความคิดเพื่อนวัตกรรม


บทความวิชาการ

       แนวคิดแรกเริ่มของการจัดการนวัตกรรมคือ กิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน เริ่มตั้งแต่ความคิดริเริ่มที่เกิดจากการวิจัย อันจะนำไปสู่รูปแบบของผลิตภัณฑ์ และออกสู่ตลาดในท้ายที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งว่า  “การผลักดันจากเทคโนโลยี (Technology Push)” ในขณะเดียวกันก็ สามารถเกิดได้จากสัญญาณของความต้องการของตลาดเอง เพื่อที่จะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของตน เกิดเป็น “การสร้างแรงดึงดูดจากตลาด (Need Pull)” ขึ้น

         อย่างไรก็ตามข้อจำกัดจาก แนวคิดดังกล่าวก็จะ มีให้เห็นอยู่บ้าง กล่าวคือ นวัตกรรมนั้นโดยทั่วไปแล้วจะเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งสำคัญ สองประการคือ จากแรงผลักบ้างในบางครั้งและจากแรงดึงดูดในบางครั้ง แต่นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ของแรงทั้งสองไปพร้อมๆ กัน เปรียบได้ดั่งกรรไกร ที่ต้องอาศัยใบมีดทั้งสองด้านไปพร้อมๆกันจึงจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

         ปัญหาสำคัญของการจัดการนวัตกรรมคือ การเข้าใจในความซับซ้อน ความไม่แน่นอน รวมทั้งสภาวะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และจากพื้นฐานแนวคิดดังเดิมนี้เอง ทำให้แนวคิดของการจัดการนวัตกรรมในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นตามมาไม่ว่าจะเป็น แนวคิดของนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) ที่คิดโดย Booz, Allen และ Hamilton จะมีการเพิ่มตัวแปรต่างๆเข้าไปพิจารณาร่วมด้วย หรือ แนวคิดของ Rober Cooper ที่มีการเสริม “ด่านระหว่างขั้น (Stage Gate)” แทรกเข้าไปในระหว่างกระบวนการ เป็นต้น

         แม้ว่างานวิจัยต่างๆ จะตระหนักดี ถึงข้อจำกัดของแนวคิดดั้งเดิม แต่ก็มีความพยายามที่จะเสริมความซับซ้อน และการสร้างความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ เพิ่มเติมเข้าไปในแบบจำลองทางความคิดให้มากยิ่งขึ้น ถึงกระนั้นก็ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้อง สร้างสมดุลของความง่ายต่อการเข้าใจ กับความแม่นยำของแนวคิด ให้เกิดขึ้นไปพร้อมๆกันด้วย และที่สำคัญต้องระลึกไว้เสมอว่า แบบจำลองมิได้เปรียบเสมือนแผนที่ที่มีขอบเขตชัดเจนแน่นอน แต่เป็นเพียงแค่กรอบของแนวความคิดเท่านั้น นอกจากนี้นวัตกรรมส่วนใหญ่มักจะมีการเริ่มต้นที่ไม่ค่อยดีนัก ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ถูกต้องบ้าง ดำเนินไปไม่ถูกทิศทาง ผิดขั้นตอนบ้าง หรือแม้แต่กระทั่งเจอทางตันในที่สุด 

         ต่อมา Van de Ven พร้อมกับทีมงาน ได้ทำการศึกษาถึงข้อจำกัดของ แนวคิดพื้นฐานดังกล่าว และได้ทำการปรับปรุงแนวคิดของกระบวนการทางนวัตกรรมนั้นโดยแทรกประเด็นที่น่า สนใจต่างๆเข้าไปเสริม ไม่ว่าจะเป็น

        
การจุดประกายเพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรม 
         หมายถึงการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง ณ จุดสิ้นสุดในโอกาสที่เคยเอื้ออำนวย หรือ เคยทำให้เกิดความพอใจต่างๆ

        
การแพร่กระจายทางความคิด 
         ภายหลังจากการเริ่มต้นนวัตกรรมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งแล้ว การแตกแขนงหรือต่อยอดทางนวัตกรรมมักจะมีการเกิดขึ้นไปพร้อมๆกัน

        
การชะลอตัว การชะงัก
         ในกระบวนการทางนวัตกรรมมักจะมีเหตุให้ต้องเกิดการชะลอตัวของการดำเนินงาน หรือแม้แต่การหยุดชะงัก ได้อยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้เป็นไปได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น การวางแผนที่คาดการณ์ไว้เลิศหรูเกินไป หรือแม้แต่การสั่งสมข้อผิดพลาด มากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งถึงจุดๆหนึ่ง เป็นต้น

        
การปรับรูปแบบการทำงาน
         ด้วยผลกระทบจากภายนอก หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ต่างๆ อาจส่งผลให้รูปแบบของหน่วยงานที่ทำนวัตกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปได้

        
บทบาทของผู้บริหารระดับสูง
         ถึงแม้ว่าผู้บริหารจะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุน นวัตกรรม แต่ในขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงเองก็มีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางหรือรูป แบบของนวัตกรรมด้วยเช่นกัน

        
กฎเกณฑ์ของความสำเร็จที่เปลี่ยนแปลงไป
         ตลอดระยะเวลาของการทำนวัตกรรมมักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์หรือขอบเขตของ นวัตกรรมนั้นๆได้เสมอ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่กลุ่ม และประเภทธุรกิจ

        
นวัตกรรมกับการเรียนรู้
         นวัตกรรมมักจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นตลอดเวลา ซึ่งความรู้ที่ได้นั้นมักถูกนำไปใช้เพื่อการปรับปรุงนวัตกรรมหรือทำกิจกรรม ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 429098เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2011 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท