ศูนย์หม่อนไหมฯนครราชสีมา
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ นครราชสีมา

หม่อน - ไหม


หม่อน (MULBERRY) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus spp

 

เป็นไม้ยืนต้นจำพวกไม้พุ่ม พันธุ์หม่อนที่ปลูกกันอยู่ทั่วโลกมีมากมายหลากหลายพันธุ์ มีแหล่งกำเนิดกระจายอยู่กว้างขวางมาก คือ ตั้งแต่เขตร้อน (tropical zone) เขตอบอุ่น(subtropical zone) เขตหนาว(temperate zone) และเขตหนาวเย็น (sub-arctic zone) ส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อนำใบไปเลี้ยงไหม แต่มีอีกหลายพันธุ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่นการรับประทานผล การนำไปเป็นต้นไม้สำหรับบังลม(wind break) ปลูกไว้เพื่อใช้สำหรับเป็นอาหารของนก การปลูกเป็นไม้ประดับริมถนนหนทาง และบางพันธุ์เป็นพืชพันธุ์ป่า(wind varities) มีการจำแนกพันธุ์หม่อนระดับ species เริ่มตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2296 เมื่อ Linneaus ได้จำแนกพันธุ์หม่อน ออกเป็น 5 species ได้แก่ Morus alba L.,Morus nigra L.,Morus rubra L.,Morus tartarica L., และ Morus indica L., จนถึง  ปี พ.ศ. 2460 Koidzumi ได้จำแนกพันธุ์หม่อนออกเป็น 24 species และ 1 subspecies

 

ไหม (SILKWORM) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombyx mori
 

คือ เส้นใยที่พ่นออกมาจากปากของตัวหนอนไหมที่โตเต็มวัย เพื่อมาห่อหุ้มตัว ป้องกันศัตรูทางธรรมชาติในขณะที่หนอนไหมลอกคราบจากหนอนไหมเป็นตัวดักแด้ และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หนอนไหมเป็นแมลงชนิดหนึ่งซึ่งมีการเจริญเติบโตจากไข่ไหม (ขนาดเท่าเมล็ดงา) และเป็นตัวหนอนไหม ในขณะที่เป็นตัวหนอนไหมจะเจริญเติบโตโดยการลอกคราบประมาณ 3-4 ครั้งในระยะเวลาประมาณ 20-22 วัน และจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10,000 เท่า โดยการกินอาหารเพียงอย่างเดียว คือใบหม่อน และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะหยุดกินอาหาร แล้วพ่นเส้นใยออกมาห่อหุ้มตัวเอง ที่เราเรียกว่ารังไหม ซึ่งมีลักษณะกลมรีคล้ายเมล็ดถั่ว และหากเรานำรังไหมมาต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 80◦C ขึ้นไปจะสามารถทำให้กาวไหม (sericin) อ่อนตัวและดึงออกมาเป็นเส้นยาวได้ ความยาวของเส้นใยจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการดูแลในช่วงที่เป็นหนอนไหม

 

 

 

 

ที่มา : http://www.qthaisilk.com/

คำสำคัญ (Tags): #หม่อน#ไหม
หมายเลขบันทึก: 428180เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท