ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... AAR (22) กรมธนารักษ์ + กรมอนามัย (shot 2)


ถ้าไปดูที่คนของกรมอนามัย สุดท้ายมันก็จะอยู่ที่ความสามารถของคนที่จะตั้งคำถาม

 

  1. กรมธนารักษ์ ... ตอนแรกที่มาก็ไม่ได้คิดอะไร พอมาถึงผมคิดว่าได้อะไรเยอะมาก จากบูทที่ไปคุยก็เห็นว่า กรมอนามัยทำ KM เยอะ กรมธนารักษ์เพิ่งเริ่มต้น ภารกิจของกรมฯ มีหลากหลาย งานไม่เหมือนกัน วันนี้คุยเรื่องเหรียญกษาปณ์ พรุ่งนี้คุยที่ราชพัสดุ มะรืนนี้คุยเรื่องราคาประเมินทรัพย์สิน อีกวันคุยเรื่องการอนุรักษ์ทรัพย์สิน และเนื่องจากคนน้อย และมีหลายท่าน ที่พอเกษียณก็หมดแรง และท่านก็จากเราไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เราขาดองค์ความรู้ เช่น คนที่โรงงานกษาปณ์ ในชีวิตเขาก็เจอสารเคมี เขาไม่ได้ระมัดระวังป้องกันตัว เพราะว่าไม่ได้มีการบอกไว้ว่ามันอันตราย แต่เขาก็เป็นคนที่มีคุณค่า มีความรู้ อย่างตอนนี้ในโรงกษาปณ์ทำเรื่องเครื่องราชอิสริยภรณ์ มีบางคนเชี่ยวชาญมากว่า ทำยังไงไม่ให้เครื่องราชย์ร่อนและหลุด จากการใช้เทคนิคในการเผาเครื่องราชย์ จะออกมาสวยและดูดี Input นี้เราไม่ได้เตรียมไว้เลย แต่หลังจากที่เราได้เริ่ม และท่านอาจารย์จุฬาฯ ได้มาช่วย ตอนนี้ก็เริ่มที่จะเก็บข้อมูล และในวันนี้ เราได้เห็นหลายๆ บูท คิดว่าเป็นประโยชน์มาก ที่กรมธนารักษ์จะได้เอาความรู้นี้ไปต่อยอด

Shot 2 : นพ.สมศักดิ์ ... สิ่งหนึ่งที่ยากตอนเริ่มต้นของการทำ KM คือ การกำหนดว่าหัวปลาคือ อะไร พูดง่ายๆ คือ จะแลกเปลี่ยนเรื่องอะไร ผมเองโดยส่วนตัวได้ข้อสรุปจากที่เราได้ฟังเมื่อเช้านี้ คือ สิ่งที่มักจะทำให้เรา ลปรร. มีธรรมชาติอยู่ 2-3 อย่าง ไม่นับเรื่องถูกบังคับ ก็คือ

  1. มันเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งเรายังไม่ค่อยมีความรู้ เช่น เรื่องมะเร็งเต้านม มันเป็นสิ่งที่เรียกว่า การบริการหญิงวัยทอง กรมอนามัยให้บริการอนามัยแม่และเด็ก ไม่ได้มีการ ลปรร. เท่าไร เพราะดูเหมือนว่าจะมีความรู้เยอะแล้ว ทำมา 20 ปีแล้ว แต่พอมาหญิงวัยทอง เป็นเรื่องใหม่ มันต้องทำอะไรบ้าง ทำยังไง approach คนไข้ยังไง ให้ความรู้ยังไง เพราะฉะนั้นพอบอกว่า คุยเรื่องหญิงวัยทอง เขาก็อยากคุยด้วย หรือเรื่องพัฒนาการเด็กให้เด็กมีพัฒนาการดี ถุงของขวัญรัฐบาลก็เป็นเรื่องใหม่ และเรื่องใหม่ที่ต้องทำ ความรู้ยังมีน้อย เข้าใจว่าจะเป็นอย่างนั้น
  2. คือเรื่องที่ทำใหม่ๆ variation คงเยอะ เทคนิคมันมีใหม่ๆ ตลอดเวลา แบบนี้เราคงอยากรู้ การ approach คนไข้อย่างเช่น พยาบาลกับคนไข้ก็เจออยู่ทุกวัน แต่ชาวบ้านก็โดนว่าอยู่เรื่อยว่า พยาบาลดุ พยาบาลก็คงอยากจะรู้ว่า ทำยังไงแล้วคนไข้ติดใจ พอได้คุยกันก็จะรู้ว่าทำยังไงเขาจึงจะถูกใจ เราก็จะทำได้ เขต 1 ก็คงเคยเล่าเรื่องพนักงานผู้ช่วยที่มีเทคนิคคือ การจับมือคนไข้ตลอดเวลา ทำให้คนไข้มีกำลังใจ
  3. คือเรามีความรู้ว่าคนประเภทหนึ่งเขามีความรู้ ก็ต้องพยายามไปเอาความรู้ของเขามา ตัวอย่างเช่น เราก็ไปรู้ว่า อบต. ทำงานยังไง ถ้าไม่รู้เขา เราก็ทำงานไม่ได้ ตัวอย่างของกรมธนารักษ์ที่ผมได้เมื่อกี้คือ วิธีหลีกเลี่ยงสารเคมี ซึ่งเป็นเรื่องของคนงานในโรงงาน เราก็คงต้องไปรู้จากคนงานเอง เพื่อให้มีการปรับเรื่องพฤติกรรมจากความคิดของตัวเขาเอง

พวกที่อาจจะยากที่สุดก็คือ การหาหัวปลาของหน่วยงานที่มีหน้าที่สนับสนุน เช่น กองคลัง ก็หาหัวปลาในเรื่อง GFMIS และก็เอาเรื่องนี้มาแลกเปลี่ยน เหตุผลที่หน่วยสนับสนุนหาเรื่องที่ ลปรร. ได้ยาก เพราะหน่วยสนับสนุนมักคิดว่างานที่ตัวเองทำเป็น routine มัน standardsize มันก็เลยไม่เกิดแรงกระตุ้นที่จะ ลปรร. และถ้าไปดูที่คนของกรมอนามัย สุดท้ายมันก็จะอยู่ที่ความสามารถของคนที่จะตั้งคำถาม

 

หมายเลขบันทึก: 42782เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2006 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท