การจัดการความรู้กับการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน


พัฒนาคนก่อนพัฒนาองค์กร

           ใบงานที่   3 

บทความ            การจัดการความรู้กับการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ในท้องถิ่น
โดย                   ยินดี   เจ้าแก้ว

                                ในภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างเช่นปัจจุบันทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจในครัวเรือนกันมากเช่นมีหนี้สินมากและครอบครัวแตกแยก เด็กถูกทอดทิ้งจึงเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาให้กลุ่มองค์กรในท้องถิ่นได้มีการพัฒนาเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นเพราะองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่นมีความหลากหลายทั้งที่เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาสังคม เช่นกลุ่มสงเคราะห์คนชราและเด็ก กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารข้าว กลุ่มทางเศรษฐกิจได้แก่ สหกรณ์  กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เป็นต้น      แต่ก่อนที่จะพัฒนากลุ่มองค์กร  ควรมีการพัฒนาคนในท้องถิ่นก่อนแล้วค่อยส่งเสริมให้คนไปองค์กรในพัฒนาท้องถิ่น[1]  การพัฒนาซึ่งปัจจุบันได้ใช้การศึกษาเข้ามาพัฒนาท้องถิ่น โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี 2542  ในรูป 3 รูปแบบคือมีการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ที่จะทำให้คนในชุมชนมีการศึกษาและสามารถพัฒนาท้องถิ่นของตนได้  เพราะมีการเชื่อแน่ว่าทุกคนมีความรักในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ถ้าคนมีการศึกษาแล้วน่าจะทำให้องค์กรและชุมชนพัฒนาขึ้นได้    ก่อนจะรู้ว่าวิธีการจัดการศึกษาในท้องถิ่น หรือที่ปัจจุบันได้มีโครงการเสริมสร้างการเรียนร้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)เป็นความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันการจัดการความรู้ท้องถิ่น [2] จะขอกล่าวถึงองค์กรในท้องถิ่นที่ที่ปัจจุบันเป็นที่กล่าวถึงกันมากเนื่องจากมี พ.ร.บ.วิสาหกิจชุมชน2546 ขึ้นมาทำให้มีผู้อยากรู้กันมากว่าต่างกันอย่างไรกับองค์กรต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น [3]  หรือจากกลุ่มองค์กรที่ประชาชนจัดตั้งขึ้นเอง   วิสาหกิจชุมชนหมายถึง  การประกอบการขนาดย่อมและขนาดจิ๋วของชุมชนเพื่อการจัดการ “ทุน”   ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งตนเอง (SMCE-Small and Micro Community Enterprise )  ส่วนมากจะมีสมาชิกตั้งแต่ 5- 15 คน  ขึ้นไป เช่น กลุ่มแม่บ้าน OTOP   กลุ่มเลี้ยงปลา  แพะ  วัว  ส่วนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและธนาคารหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นวิสาหกิจชุมชนในแง่ของการเป็นส่วนหนึ่งขององค์การเงินในชุมชน ทีสะสมทุนจากคนในชุมชนและมีการบริหารกันจากคนในชุมชน รวมถึงสหกรณ์ต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น  ถึงจะใช้ พ.ร.บ.ต่างกันแต่ก็ถือว่าเป็นองค์กรวิสาหกิจชุมชนด้วยเช่นกัน [4]ในขณะเดียวกันลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชนก็จะมีคนในชุมชนเป็นเจ้าของส่วนใหญ่และใช้ ทุนของชุมชน ที่กล่าวถึงหมายถึงทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ทุนที่เป็นผลผลิต ทุนความรู้ ทุนภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรมความเป็นพี่น้องและไว้วางใจกันของชุมชน     ส่วนใหญ่วิสาหกิจชุมชนจะเน้นที่วิธีคิด  มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญและมีการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชนเป็นเป้าหมาย [5]ไม่ใช่เรื่องการผลิตมากมายแล้วหาตลาดไม่ได้  หรือไม่ได้เอาตลาดเป็นตัวตั้งสูตรของวิสาหกิจชุมชนมาจากการรู้จักการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพหรือทรัพยากรในท้องถิ่น บวกกับความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม    ปัจจุบันในประเทศไทยวิสาหกิจชุมชนยังอยู่ในขั้นพื้นฐาน ควรมีการยกระดับเป็นระดับสูงขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ รักษาคุณภาพการสร้างความเชื่อถือและการประสานแหล่งเงินทุน จากการวิจัยพบว่าวิสาหกิจชุมชนจะมีศักยภาพอยู่ที่ “เครือข่าย” เพราะจะคิดคนเดียวทำคนเดียวไม่ได้หลาย ๆ เรื่องต้องร่วมกันคิด ทำร่วมกัน บริโภคร่วมกัน เป็นการสร้างเครือข่ายของกลุ่มองค์กร  เพื่อทำกิจกรรมสำคัญที่กลุ่มองค์กรต้องการเป็นการประสานพลัง (synergy)  ใช้ทรัพยากร ใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพเพราะสมาชิกเครือข่ายมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานร่วมกัน [5] มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารประสบการณ์แล้วไปสู่การพัฒนาการวางแผนร่วมกัน เงือนไขสำคัญของเครือข่ายอยู่ที่ต้องมีการติดต่อสัมพันธ์สื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างสมาชิกกลุ่มองค์กร    อาจมีผู้ประสานซึ่งเป็นบุคคลหรือกลุ่มที่ดำเนินกิจกรรมประสาน  แต่ไม่ใช่เป็นผู้ดำเนินการแทนสมาชิกเครือข่ายในทุกเรื่อง  ซึ่งการเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอาจเป็นแบบผสมผสานระหว่างสมาชิกที่แตกต่างกันในสถานภาพ เช่น  องค์กรเกษตรกร  นักวิจัย  องค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มองค์กรในท้องถิ่น สถาบันวิจัย เป็นต้น  ฉะนั้นการพัฒนาเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนได้นั่นน่าจะมาจากองค์กรที่หลากหลายและการพัฒนาเครือข่ายที่ดีต้องให้องค์กรชาวบ้านมีส่วนร่วมเป็นกลไกสำคัญ มีวิธีการ มีรูปแบบที่มีส่วนร่วมกับองค์กรอื่น ๆ จึงจะทำให้ประสบความสำเร็จ [7]หน่วยงานที่เหมาะสมในการพัฒนาองค์กร กลุ่มต่าง ๆ ภายใต้กระแสความเปลี่ยนแปลงคือองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ในฐานะเป็นรัฐบาลท้องถิ่นในฐานะที่รัฐบลมอบอำนาจหรือกระจายอำนาจให้ประชาชนจัดการปกครองและดำเนินกิจการบางอย่างเพื่อผลประโยชน์รัฐและผลประโยชน์ของประชาชน[8]โดยประสานองค์กรกลุ่มต่าง ๆ ที่มีในระดับตำบลวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ใช้วิธีการจัดการความร้ การบูรณาการ และการจัดการองค์กรและเครือข่าย ฯลฯ ถามว่าแล้ว อบต. องค์กร กลุ่ม ส่วนงานทั้งภาครัฐเอกชนมีส่วนในการพัฒนาวิสาหกิจาชุมชนด้วยการการจัดการความรู้ทำไม  จริงขอขยายความสำคัญของ การจัดการความรู้  มาพอสังเขป  เพราะด้วยกระแสของหลักการทำงานสมัยใหม่ที่แรงที่สุดในปัจจุบันได้นำการจัดการความรู้มาใช้ เพราะก่อนนี้การทำงาน การพัฒนาท้องถิ่น มักจะเป็นการทำงานที่คิดกันไปคนละทางสองทาง ชาวบ้านคิดทาง อบต. คิดทางหนึ่ง สุดท้ายแล้วงานไม่สำเร็จไม่มีทิศทางเดียวกัน การจัดการความรู้มีเป้าหมายของการทำให้ความรู้เกิดการแลกเปลี่ยน เกิดการไหลของความรู้ทั้งสองทาง คือเอาความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน มีการเปิดเผยกันในท้องถิ่นมีองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารสามารถนำความรู้มาแลกเปลี่ยนให้องค์กรแบบเดียวกันอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันศึกษาเป็นตัวอย่างได้ดี หรือภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีความรู้ในคน( Tacit Knowledge) [9] สามารถนำมาแลกเปลี่ยนให้กับประชาชน กลุ่มองค์กรในท้องถิ่นได้นำไปพํฒนาได้ดี การที่คนในท้องถิ่นมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันเรียกว่ามี  การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม คือแสดงความเห็นร่วมกันและไม่มองแค่ภายในองค์กรเท่านั้นแต่มองแบบว้างและมองไปข้างหน้าจริง ๆ ถ้าคนในท้องถิ่นคิดเหมือนกันหมดก็เป็นสิ่งไม่ดี(หรือคิดแบบเบ็ดเสร็จจากผู้นำ) การที่จะทำให้องค์กรมีพลังมากต้องมีองค์ประกอบที่แตกต่าง หลากหลาย  แต่การกระทำที่แตกต่างนั้นต้องมีเป้าหมายเดียวกัน  ถ้าเข้าใจความหลากหลายตรงกันจะเห็นความแตกต่างเป็นความงดงาม เช่นกันความรู้ที่ต่างกันนั้นเมื่อมามีปฏิสัมพันธ์กันแล้วจะเกิดความรู้ใหม่ ความรู้เดิมเป็นตัวต่อเติมให้เกิดความรู้ใหม่ เป็นความรู้จากประสบการณ์ของกลุ่มองค์กรที่ประสบความสำเร้จในท้องถิ่น ได้จากการทำกิจกรรม  กิจกรรม งานกลุ่มต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้นให้ต้องคิด ไม่ใช่คิดบนฐานเดียว แต่คิดบนหลายฐานของวิธีคิด  ความรู้เดิมจึงเป็นตัวคูณ [10] เพราะในการดำเนินการจัดความร้ใช้สมมติฐานว่า  มีความรู้อยู่ในความสำเร็จ  ใช้พลังความสำเร็จ ในการปฏิบัติงานอาจเป็นการปฏิบัติงานหรือการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติหรือนักปฏิบัติ นักพัฒนาท้องถิ่น ผู้นำ ทั้งหลายก็เช่นกัน ที่ต้องเสาะหาความรู้ทั้งในท้องถิ่นและนอกท้องถิ่นมาพัฒนาท้องถิ่นของตนให้ได้
            กระบวนการในการจัดการความรู้ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น ควรจะเป็นแบบไหนกลุ่ม องค์กรในท้องถิ่นดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นไม่ว่าจะเป็นองค์กรการเงิน การผลิต สถาบันการศึกษา องค์กรรัฐและเอกชน ประชาคมต่าง ๆ ในระดับตำบลสามารถจะร่วมกันใช้กระบวนการจัดการความรู้มาพัฒนาท้องถิ่นได้โดยผู้บริหารทุกหน่วยที่เข้าใจการใช้ความสำเร็จร่วมกันแลกเปลี่ยนแล้วก็มีการวางแผนเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จซึ่งมี 3 ชั้นดังนี้ [11]ขั้นที่ 1 สำรวจและวางแผนความรู้(Knowledge Planning) สำรวจสภาพแวดล้อมขององค์กร กลุ่ม เพื่อทราบองค์ความรู้ในองค์ท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด จึงตั้งวัตถุประสงค์ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการไปให้ถึงเป้าหมาย และจัดทำแผนปฏิบัติ ชั้นที่ 2 การพัฒนาความรู้ (Knowledge Generation)เป็นการทำให้ความรู้ภายในองค์กร กลุ่ม เพิ่มขึ้นซึ่งสามารถพัฒนาได้จากภายในท้องถิ่นที่จัดเก็บไว้เป็นระบบความรู้ในกระดาษ(Explicit Knowledge)และความรู้ภูมิปัญญาที่ผังลึกอยู่ในองค์กร กลุ่ม คน (Tacit Knowledge)[12]และภายนอก เสาะหามาความวิธีการต่างจากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปรุ่นใหม่ การเชื่อมโยงทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ขั้นที่ 3 การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) เป็นกระบวนการที่เผยแพร่ไปสู่บุคคล องค์กรหรือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความรู้นั้นจริง ๆ เช่น กองทุนหมู่บ้านที่ทำการบริหารจัดการไม่สำเร็จ ได้เรียนรู้จาก กลุ่มกองทุนที่ประสบความสำเร็จ การประกอบอาชีพทางเกษตรจากกลุ่มที่ประสบความสำเร็จถ่ายทอดสู่กลุ่ม คนที่ต้องการจะประกอบอาชีพนั้นด้วยเป็นต้น   การร่วมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สหกรณ์)สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในด้านโครงสร้างของการบริหารอาจจะมีการวิตกกังวลกันมากของนักบริหารทั้งหลาย การร่วมกันเป็นเครือข่ายการจัดการความรู้ควรเป็นโครงสร้างของความร่วมมือของส่วนต่าง ๆ เช่นสถาบันศึกษา(โรงเรียน มหาวิทยาลัย)และ อบต.ไปสร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร กลุ่มสหกรณ์ในท้องถิ่นให้สามารถจัดการเชื่อมร้อยระบบได้อย่างบูรณาการ  ควรมีหน่วยจัดการความรู้ในท้องถิ่นที่จะเป็นหน่วยงานคอยประสานและเชื่อมโยงกลุ่มองค์กรทั้งนอกและในท้องถิ่นได้ เสมือนเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตำบลสหกรณ์เฉลิมพระเกียรติขึ้นโดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการสนับสนุนโดรงการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้จัดกิขกรรมสหกรณ์ตำบลเฉลิมพระเกียรติใน 23 อำเภอเป้าหมายอำเภอละ 1 ตำบลในปี 2549 เป็นการส่งเสริมระบบสหกรณ์ในโครงการของพระบาลพระเจ้าอยู่หัว[13]และจากการที่ได้ส่งเสริมมาแล้วปี 2548 ตำบลสหกรณ์เฉลิมพระเกียรติที่ประสบความสำเร็จมีหลายตำบลแต่ที่ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสงซึ่งเป็นพื้นที่แดนดำเนินงานของนิคมสหกรณ์ทุ่งสง  สามารถดำเนินการในรูปเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนได้ดี  และกำลังดำเนินการให้เป็นการจัดการความรู้ในท้องถิ่นในรูปแบบเครือข่ายตำบลสหกรณ์เฉลิมพระเกียรติโดยมีสหกรณ์นิคมทุ่งสงเป็นองค์กรแกนนำ ร่วมกับองค์การบริหารตำบลเขาขาว กลุ่ม องค์กร สหกรณ์ต่าง ๆ และอยู่ในระยะการศึกษาวิจัยหาบริบทสภาพของกลุ่มองค์กรในท้องถิ่นเพื่อกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ทุกองค์กรมีร่วมกันและทำแผน(Knowledge Planning)และพัฒนาองค์ความรู้ตามขั้นตอนของการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน(สหกรณ์)ในตำบลเขาขาวตามแนววคิดในการพัฒนาท้องถิ่นทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ แต่จะพัฒนาคนให้มีวิธีคิดก่อนที่จะไปพัฒนากลุ่ม องค์กร  สหกรณ์ คณะบุคคลที่รวมตัวกันเมื่อมีวัตประสงค์ในการจัดทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของเครือข่าย  นั่นคือความหมายของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  หรือเครือข่ายสหกรณ์ซึ่งเป็นความหมายเดียวกัน[14] และถ้าจะให้เครือข่ายประสบความสำเร็จควรมีปัจจัยดังนี้ 1. ความพร้อมของวิสาหกิจชุมชน  ก่อนการเชื่อมโยง มีอุดมการณ์ และปฏิบัติการความพร้อม 2. ความจริงใจ การสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกเครือข่ายบนความเท่าเทียม 3. การบริหารจัดการที่เหมาะสมระหว่างเครือข่ายให้เก้ดเวทีแลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ 4. การสื่อสารที่จะทำให้มีการติดต่อประสานเชื่อมโยงกันได้ทั่วถึง ข้อมูลองค์ความรู้ จุดเด่นกิจกรรมส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์ตำบล [15]เป็นการสื่อสารในระดับตำบลของสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนได้ 
                สรุปการจัดการความรู้ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่นระดับตำบล  ควรมีการส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาคนไปพัฒนากลุ่ม องค์กรให้เข้มแข็งและท้องถิ่นจะกลายเป็นชุมชนเข้มแข็งได้ในที่สุด

เอกสารอ้างอิง
                                                                             
1. สมคิด วงศ์พิพันธ์  การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น   [ ออนไลน์] เข้าถึงได้ http://www.scppk.com/
2.ทรงพล เจตนาวณิชย์ การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น [ออนไลน์]เข้าถึงได้ http://gotoknow.org/blog/thaikm/93
3.ไสว บุญมา ยุทธการเศรษกิจของรัฐบาลทักษิณ 1 กับการพัฒนาท้องถิ่น [ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://library.rits.ac.th/Journal/johs/jour451/jo01.htm/
4.สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  วิสาหกิจชุมชน  [ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://yalor.yru.ac.th/
5.สำนักงานพัฒนาเกษตรกร  วิสาหกิจชุมชน [ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://farmdev.do.ae.go.th/Enterprise/EnterpriseDoc.htm/
6.เสรี พงศ์พิศ  ปร60/เครือข่ายการเรียนรู้และการจัดการ [ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://www.phongphit.com/
7.อรอนงค์ ธรรมกุล  การมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น  วิทยานิพนธ์  ศึกษาศาสตร์มหาบัฒฑิต  มหาวิทยาลัยเชียงหใหม่  [ออนไลท์] เข้าถึงได้ http://Library.cmu.ac.th/
8. การปกครองท้องถิ่น [ออนไลท์] เข้าถึงได้ http://www.tambol.com/
9.การจัดการความรู้ในมุมมองของนักบริหารรุ่นใหม่ [ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://tulib.bu.ac.th/
10.วิจารณ์ พานิช. ศ. คุณภาพคือวิถีของชีวิต
[ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://www.kmi.or.th/
11.มหาวิทยาลัยขอนแก่น การจัดการความรู้ [ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://home.kku.ac.th/km
12.วิจารณ์ พานิช.ศ. องค์กรเคออร์ติคกับการจัดการความรู้    (7)[ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://www.kmi.or.th
13.สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช  ตำบลสหกรณ์เฉลิมพระเกียรติ  [ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://www.nakhonsithammarat.go.th
14สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  วิสาหกิจชุมชน [ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://webhost.cpd.go.th/
15 องค์การบริหารส่วนตำบล   ภาระหน้าที่  [ออนไลท์]เข้าถึงได้ http://www.tambol.com


                           
                          อนุทินการเรียนรู้

                                                                                                                                        ฉบับที่ 4
วันที่เขียน   31 กรกฎาคม 2549
หัวข้อที่เรียนรู้    การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเลิกทรอนิกส์ : email, Webblog, Web board,  MSN , WiKi

ความคิดเห็นตามหัวข้อที่ระบุ

                   ในการเรียนของสัปดาห์นี้ในตอนต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ทบทวนการค้นหา e-book ฐานข้อมูลกฤตภาคออนใลน์ในหนังสือพิมพ์มติชน  กาค้นหาใช้ Username Clipping และ Password Ubulib  ส่วนหัวข้อในการเรียนการทำwebblog   ได้เริ่มตั้งแต่หน่วยที่ 1 ให้มีการลงทุนเบียนเพื่อสมัคร blog  โดยเข้าสู่เว็บไซต์ http:// Gotoknow.org  และคลิก ลงทะเบียนใน 4 ขั้นตอน  จนได้ครบขั้นตอน จึงเข้า ไปหน่วยที่ 2 เข้าใช้ระบบ  ต้องใช้รหัสผ้ใช้ yindee รหัสผ่าน ............ และรหัสตัวเลข (ใส่ตัวเลขที่แสดงไว้ให้ถูกต้อง แล้ว กด เข้าใช้ระบบ  ต่อไปก็เป็น หน่วยที่ 3  การสร้าง blog  เข้าส่ระบบครั้งแรกต้องมีการสร้าง Blog ใหม่ โดยมีขั้นตอนผ่านแผงควบคุม แล้วไป สร้างบล็อกใหม่  ต้องมีการเปลี่ยนที่อย่ต่อท้าย เป็นURL ของบล็อกสั้น จำได้ง่าย ในที่นี้ใช้คำว่า dra หรือใช้ที่อยู่ http://gotoknow.org/blog/dra และใส่ชื่อบล็อก  ให้รายละเอียดใน  รูปสีเหลี่ยม และบอกป้ายส่วนล่าง แล้วคลิกป่ม สร้าง จะได้บล็อกถูกสร้างขึ้นแล้ว  จะเพิ่มบันทึกก็กระทำได้  หรือมีการบันทึกใหม่ จะปรากฏหน้าจอบันทึกข้อมูล และปรับเป็นใส่ชื่อบันทึก ประโยคเด่น และเนื้อหา  ควรมีการกำหนดชื่อป้ายให้ชัดเจน   แล้วกดป่มบันทึก  ทุกครั้งที่ปฏิบัติการสำเร็จจะปรากกหน้าจอแสดงผลการตีพิมพ์บันทึก
           หน่วยที่ 4 การสร้าง สรรค์  การนำๆฟล์ขึ้น(ข้อมูล/รูป)โดยผ่านแผงควบคุม  ที่จะแก้ไขหรือจัดไฟล์อัลบั้ม เปลี่ยนรหัสผ่าน แล้วจากการนำไปทบทวนด้วยตนเอง  สามารถสร้างบล็อกใหม่ได้ และเพิ่มเติมแก้ไขในส่วนต่าง ๆ ได้ แต่ควรจะทดลองและศึกษาเพิ่มเติมอีก

สาระอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องและต้องการเสนอไว้
                    ต้องการให้อาจารย์อธิบายส่วนด้านหลังที่เป็นการสร้างPlanet อธิบายเพิ่มเติมการนำบล็อกเข้าแพลนเน็ตและการถามคำถาม  การถามให้อีกนิดหน่อย

ความคิดเห็นของผ้สอน

........................................................ .............ผ่าน Browse  พร้อมรายละเอียด แล้วกด นำไฟล์ขึ้น  และได้เรียนการสร้างประวัติ ใส่ภาพของเจ้าของWeb ได้  ส่วนการสร้าง Planet สร้างแพลนเน็ตใหม่  นำบล็อกเข้าแพลนเน็ต การถามคำถามยังไม่ได้ทำ

การเปรีรยบเทียบความคิดเห็นกับเพือน
               จากการพูดคุยกับเพื่อนหลายคนยังทำไม่ได้จริงได้สอบถามกันทางโทรศัพท์ และแนะนำกันพร้อมทดลองปฏิบัติจากที่ดูในเอกสารที่อาจารย์ให้มาทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น พร้อมทั้งได้พิมพ์ใบอนุทินที่ 4 นี้ได้

การประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้
                 จากการเรียนครั้งนี้เนื่องจากอาจารย์มีแบบการเรียนที่ละขั้นตอนละเอียด  จะตามอาจารย์ได้ทันและสามารถปฏิบัติได้ 

หมายเลขบันทึก: 42770เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2006 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วก็ใช้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท