ผู้นำเน้น "ผลลัพธ์" ของงาน


ผู้นำเน้น "ผลลัพธ์" ของงาน

ผู้นำเน้น "ผลลัพธ์" ของงาน

โดยทั่วไปแล้ว "ผลงาน" ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 2 ประการ ได้แก่

1. เป้าประสงค์ในเชิงปริมาณหรือตัวเลข (Quantitative Targets) มุ่งเน้นผลระยะสั้น และ

2. เป้าประสงค์ในเชิงคุณภาพหรือพฤติกรรม (Competency) มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและผลในระยะยาว

ในโลกแห่งความเป็นจริง แม้จะมีวิธีวัดที่ดีที่สุดแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันดีที่สุด...ที่สำคัญคือ...จะหาว่าปัจจัยอะไรบ้างนำพาเราไปสู่ความสำเร็จ เช่นเดียวกับการบริหารองค์กรแบบเก่า ๆ มีต้นแบบของการบริหารจัดการ มองทุกอย่างเป็นเครื่องจักรไม่มีชีวิตด้วยการวัดที่เป็นในแบบแผนเดียวกัน นั่นคือ...การแบ่งซอยงานออกเป็นแผนก ๆ และอาจจะแบ่งลงไปในรายบุคคล...โดยมีลักษณะงาน (Job descriptions) เป็นตัวกำหนดขอบเขตการทำงาน...ยกตัวอย่างเรื่องลักษณะงานนี้ ถ้าเราเป็นคนทำงานที่มีประสบการณ์ เราจะรู้ว่า "ลักษณะงาน" เหล่านี้มีข้อจำกัดเพียงใด แม้จะเอาผู้เชี่ยวชาญด้าน HR มายกร่างก็ตามก็ยังมีข้อจำกัดอยู่แน่นอน...

องค์กรที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา งานขององค์กร งานของแผนก งานของคนก็อาจจะต้องแปรเปลี่ยนตามไปด้วย การปฏิบัติงานจริงกับการนึกเอาล่วงหน้าไว้อย่างไร?...ก็ไม่อาจครอบคลุมได้ทั้งหมด แต่ถ้าเรามององค์กรอย่างมีชีวิต สภาพแวดล้อมขององค์กรก็มีชีวิตที่แปรเปลี่ยนได้อยู่ตลอดเวลา...เราจะเข้าไปจัดการกับองค์กรด้วยวิถีทางอีกอย่างหนึ่ง เราไม่อาจมององค์กรเป็นเพียงเครื่องจักรได้อีกต่อไป...การกลับมามององค์กรให้เป็นระบบชีวิตที่ดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมมีลักษณะเดียวกับระบบชีวิต จะสามารถช่วยคนในองค์กรปรับตัวได้เร็วเหมือนกับสิ่งมีชีวิตเช่นกัน

จากการจัดกิจกรรมจัดการความรู้ ประกันคุณภาพเพื่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ได้ข้อสรุปเป็นประเด็นสำคัญ คือ...การสืบค้นด้านบวกได้ผลมากกว่าด้านลบ แทนที่จะหาความผิดหรือหาคนผิด ก็ร่วมกันเฟ้นหาความสำเร็จหรือสิ่งที่ทำได้ผลและหากลไกที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น...เมื่อไม่มีการสืบค้นหาผู้กระทำผิด ก็ไม่มีการโยนความผิดไปให้คนที่คร่อมสายงาน หมู่คณะหรือทีมงานก็มีความสุขและมีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น ปรับความคิดใหม่ด้วยการหยุดคิดที่จะวางหน่วยพื้นฐานอยู่ที่ปัจเจกบุคคล ในทฤษฎีระบบ องค์รวมเป็นอะไรที่มากกว่าผลบวกของหน่วยย่อย การเน้นความสำคัญของทีมมากกว่าความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคลเป็นกุญแจหลักที่จะนำสู่ความสำเร็จ ข้อจำกัดของบางคนอาจจะไม่เป็นข้อจำกัดของทีม เพราะความหลากหลายของทีมอาจเติมเต็มข้อจำกัดของแต่ละคนได้...

นอกจากนี้ ในด้านบวก ความหลากหลายของทีมยังเป็นผลทวีคูณมากกว่าผลบวกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม...คนในองค์กรที่ประสบความสำเร็จต่างแสวงหาวิสัยทัศน์ร่วมกันของการทำงานแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ เมื่อหน่วยย่อยมีวิสัยทัศน์ร่วมกันกับองค์รวมทั้งหมดขององค์กร โดยร่วมกันในส่วนที่เป็นพันธกิจ (Mission) มากกว่าที่จะแยกเป็นส่วน ๆ หรือแตกเป็นแผนกย่อย ๆ...

ที่มา : หนังสือ KPI รายบุคคล : สุดยอดบริหารผลลัพธ์ขององค์กร.

กรุงเทพฯ : สินทวีกิจ พริ้นติ้ง, 2553.

หมายเลขบันทึก: 427253เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2011 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เรื่องของระบบองค์กรในหน่วยงาน ปัจจุบันคนเป็นหัวหน้างานก็สำคัญเหมือนกันครับ ระบบองค์กรจะมีพลังได้ ต้องมีการพัฒนาความรู้ ความสามารถของทีมงาน รู้จักให้ขวัญและกำลังใจคนทำงาน หากหน่วยย่อยส่วนใหญ่ เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม เช่น หัวหน้าให้ความสำคัญกับใครคนใดคนหนึ่ง ส่งเสริมแต่คนใดคนหนึ่ง จนคนอื่นรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ความสำคัญ ทำไปก็แค่นั้น หรือคนที่ทำก็ทำไป คนที่ไม่ทำก็ไม่เห็นเป็นไร เอาอะไรมาวัดผลงานก็ไม่ได้มีความต่างอะไร ก็จะทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงาน หรือการพัฒนางาน ระบบขององค์กรก็อยู่ในภาวะเสื่อมรอสลาย ขาดชีวิตชีวา การทำงานเป็นเรื่องของคนทำงาน การจะใส่กระบวนการอะไรลงไป ถ้าคนทำงานถอดใจ ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่สดใส หรือเป็นไปตามเกณฑ์ครับ

 

    

สวัสดีค่ะ...คุณชำนาญ...Ico48...

  • คนเป็นหัวหน้างาน ต้องสำคัญด้วยสิค่ะ...เพราะในยุคปัจจุบัน เราทำงานกันเป็นทีมค่ะ...ทุกคนต้องสละเรื่อง "ส่วนตัว" ให้ออกจากเรื่อง "งาน" หมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวนะค่ะ"...เราต้องคำนึงถึง ความรู้สึกร่วมกันของทีมงานหรือของทุกคนในหน่วยงานแล้วค่ะ...เพราะจะทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาในเป้าหมายเดียวกัน
  • ไม่ใช่เช่นแต่ก่อน...วัดผลงานยากมาก ๆ ขนาดพี่ทำงานบุคคลมา ร่วม 20 ปี ยังฟันธงบอกได้เลยว่า...ไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเลยค่ะ...
  • จะลองดูในระบบที่รัฐมอบให้ใหม่นะค่ะว่า...จะเป็นรูปธรรมได้มากน้อยเพียงใด...แล้วจะนำมาเล่าให้ฟังนะค่ะ...
  • ปัจจุบันนี้...ทุกคนในองค์กรต้องร่วมกันดูแลคุณภาพชีวิตของบุคคลในองค์กรร่วมกันค่ะ...
  • ยิ่งคนที่เป็นหัวหน้างาน ต้องวางตัวเป็นกลาง เอาใจใส่ดูแลลูกน้องอย่างเท่าเทียมกัน แล้วจะทำให้องค์กรดูเป็นระบบคุณธรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ใช้ระบบอุปถัมภ์กันจนเกินไปค่ะ...
  • สังเกตดูได้ว่า ถ้าหัวหน้าคนใดใช้ระบบคุณธรรม + (อุปถัมภ์บ้างนิดหน่อย)...พอให้มีรสชาติ จะทำให้องค์กรนั้น มีความสุขและคนในองค์กรมีคุณถาพชีวิตที่ดีด้วยค่ะ...
  • แต่ที่ผ่าน ๆ มา องค์กรใช้ระบบอุปถัมภ์มากไป จนลืมนึกถึงว่าองค์กรต้องมีระบบคุณธรรมเป็นหลักในการทำงานค่ะ...
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ค่ะ...

-สวัสดีครับอาจารย์...

-แวะมาเพิ่มเติมความรู้เรื่อง "ผลลัพธ์" ครับ..

 

สวัสดีค่ะ...คุณเพชรน้ำหนึ่ง...Ico48...

  • ขอบคุณค่ะ...อย่าลืมติดตามเรื่อง "KPI" นะค่ะ...พี่เพิ่งไปอบรมมาหมาด ๆ ค่ะ...
  • แต่วันนี้ขอพักผ่อนก่อนค่ะ ไม่ไหวนั่งรถเมื่อยมาก ๆ ค่ะ...

ผู้นำองค์กร กระบวนการจัดการ การมีส่วนร่วม สัมพันธ์ประสาน ต้องไปด้วยกัน

สวัสดีค่ะ...ครูหยุย...

- ใช่เลยค่ะ...ทุกส่วนมีความสำคัญต่อ "ผลลัพธ์ของงาน" ค่ะ

- ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท