ภาระจากการคิดภาระงาน (load unit)


ภาคต่อจาก เฮ้อ...อยากเป็นทศกัณฑ์

เป็นบันทึกกึ่งบ่นกึ่งนำเสนอให้เกิดการปรังปรุงและอยากให้กำลังใจแ่ก่ผู้พัฒนาระบบการคิด load unit ของมหาวิทยาลัย 

ดิฉันนั่งสาระวนกับตัวเลข load unit เพื่อคิดภาระงานประจำปี 2/2549  ซึ่งเป็นงานที่ไม่อยากทำแต่จำเป็นต้องทำ

เหมือนที่ Dilbert พูดไว้ว่า "Are you aware that all jobs require you to do things you'd rather not do? That's why they have to pay you."

รูปจาก http://www.comics.com/comics/dilbert/archive/dilbert-20060801.html

ดิฉันทำงานไปแต่ละวันไม่เคยได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะได้เลื่อนกี่ขั้น ถามๆ อาจารย์ด้วยกัน ยิ่งฟังก็จะยิ่งรับรู้ปัญหาของระบบราชการมากขึ้น เช่น บางคนบอกว่า ทำไปก็เท่านั้น เห็นแต่คนหน้าเดิมๆ ได้เลื่อนขั้นอยู่นั่นแหละ คนหน้าใหม่ๆ เข็นกันสุดฤทธิ์ก็ตามคนหน้าเดิมไม่ทัน ก็เลยไม่รู้จะคำนวณ load unit กันไปทำไม

ปีนี้มหาวิทยาลัยใช้ระบบ online ในการคิด load unit ซึ่งแต่เดิมใช้เขียนลงใน Excel ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ คน

การนำระบบใหม่เข้ามาใช้ย่อมมีปัญหาแน่นอน ค่ะ ดังนั้น นักพัฒนาอย่าเพิ่งท้อนะค่ะ เสียงผู้ใช้คือเสียงสวรรค์ค่ะ และนี่คือปัญหาที่ดิฉันเจอในระบบใหม่ เช่น

- ปัญหาการสื่อสาร เจ้าหน้าที่คิดว่าต้องทำทั้งใน excel และ online
- ระบบใหม่ไม่ตรงกับระบบเดิม มีหลายช่องใส่ข้อมูลไม่ได้ดังใน excel ของเดิม

- error ของระบบ

ส่วนปัญหาเดิมๆ ที่เจอในการคิด load unit เช่น

- ไม่รู้ว่าจะใส่ช่องไหน อ่านคู่มือแล้วก็ตอบไม่ได้ ต้องถามไปทางเจ้าหน้าที่คณะ เจ้าหน้าที่คณะก็ต้องถามกันต่อไปที่เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย
- ไม่รู้ว่าจะคิด load unit เท่าไรสำหรับงานชิ้นที่ไม่เคยทำมาก่อน แล้วก็เช่นเดิม เจ้าหน้าที่ก็ไม่รู้
- บางคนส่งหลักฐานไม่ครบ จะตรวจสอบกันอย่างไร เช่น บอกว่าประชุม 30 ชม. แต่ไม่มีหนังสือเชิญ (ระบบสารบรรณกับระบบ HRM ของมหาวิทยาลัยต้องหาทางเชื่อมโยงกันให้ได้ค่ะ)
- บางคนเขียนเวอร์ บางคนเขียนน้อย คนที่เขียนน้อยก็บ่นรำพึงรำพันว่า ทำไปก็เท่านั้น มีแต่คนหน้าเดิมที่ได้เลื่อนขั้น
- รางวัลที่ไม่เป็นธรรมสำหรับคนหน้าใหม่เพิ่งวิ่ง ทำให้เกิดระบบเช้าชามเย็นชาม (ต้องแยกประเภทรางวัลแล้วค่ะ) *** ข้อนี้สำคัญ และน่าสงสารอาจารย์รุ่นใหม่หลายคนที่เริ่มท้อแล้ว  ส่วนรุ่นเดิมท้อนั้นอยู่นานแล้ว :) !!!

...

ดิฉันหมดไปหนึ่งวันกับการคิด load unit ลงใน excel แล้วมารู้ตอนเย็นว่าเขาเลิกใช้แล้ว

พรุ่งนี้อีกหนึ่งวัน คงยังต้องสาระวนกับการคิด load unit ลงในระบบ online แต่น่าจะทำได้เร็วขึ้นเพราะเตรียมข้อมูลไว้แล้วใน excel

... เฮ้อ...อยากเป็นอะไรดีหละครานี้ ...

 

คำสำคัญ (Tags): #load#unit#มหาวิทยาลัย
หมายเลขบันทึก: 42672เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
   เห็นใจครับ  เจอมามากแล้วเหมือนกัน ก็ได้แต่ "เช่นนั้นเอง" ถ้าถาม " Why ?"คำตอบที่เหมาะสมน่าจะเป็น " Because this is Thailand."
    ทำใจเถอะครับ อะไรๆมันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยอันสลับซับซ้อนของมัน เรามีหน้าที่ดูก็ดูไป ไม่ต้องเผลอไปแบกให้หนัก ส่วนที่ทำได้ก็ทำไปด้วยใจรัก เสวยผลคือความอิ่มใจ พอใจ ในผลจากการกระทำที่เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าจะเริ่มท้อ ลองอ่าน บันทึกนี้ ดูหน่อยนะครับ
  
ขอบคุณอาจารย์ Handy ค่ะ ทำใจค่ะ แต่ก็เชื่อว่า ระบบการคิด load unit ของมหาวิทยาลัย จะดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ หากนักพัฒนาพยายามฟังเสียงผู้ใช้ และผู้ใช้ก็อย่านิ่งเฉยต้องคอยแจ้งผู้พัฒนาระบบ

อาจารย์จันทวรรณครับ

เรื่องที่เขียนเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมนั้น  น่ารับฟังครับ  เป็นปัญหาสามัญของทุกแห่ง  นั่นคือเรื่อง User Requirements  ผมบังเอิญเกี่ยวข้องกับ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มอ. อยู่บ้าง  ก็รับว่าจะนำไปช่วยกันคิดต่อครับ  แต่อย่าเพิ่งคาดหวังเร็วนัก  ต้องรอเวลาหน่อยครับ

      สำหรับการบันทึกผลงานนั้น  ในวงการซอฟต์แวร์ มีหลักการทำงานส่วนบุคคล ที่เรียกว่า Personal Software Process เขาเน้นทีการจัดเก็บผลงาน และ เวลาการทำงานไปเรื่อย ๆ ครับ (เก็บเป็นรายวัน รายชั่วโมงเลยครับ)  ผมเชื่อว่าอาจารย์คงจะเก็บข้อมูลตัวเองไปเรื่อย ๆ อยู่แล้ว  ไม่ต้องทำเป็นรายชั่วโมงก็ได้  ในปีใหม่นี้ลองทบทวนทุกวัน หรือ ทุกสัปดาห์ จะได้ไม่ต้องเสียเวลารื้อฟื้นความจำในภายหลัง  อย่างไรก็ตามนี่เขียนแบบไม่รู้ว่า Load Unit คืออะไรนะครับ  อาจจะเป็นชั่วโมงสอน ชั่วโมงเตรียม ชั่วโมงให้คำปรึกษา ฯลฯ ถ้าไม่ถูกก็ขออภัย

 

 

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์ครรชิตมากๆ ค่ะที่เข้ามาช่วยร่วมถ่ายทอดความรู้ เป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ และตื่นเต้นค่ะที่มีปรมาจารย์ด้าน IT ของประเทศมาพูดคุยกับดิฉันผ่านทางบล็อก ดิฉันชื่นชมอาจารย์มาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยแล้วค่ะ ไม่ค่อยอยากเชื่อเลยค่ะว่า จะได้มีโอกาสมาร่วมเสวนากับอาจารย์ทางอินเตอร์เน็ตค่ะ :)

เรื่อง user requirement gathering เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ แต่นักพัฒนาระบบมักจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญ หรือ อาจจะไม่รู้กระบวนการ ค่ะ ดิฉันได้เขียนเกี่ยวกับเทคนิคด้าน requirement gathering ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/usability/47518 ค่ะ

ส่วนระบบ load unit แบบ online ที่มอ.เริ่มจะนำมา implement เป็นเรื่องดีค่ะ กะว่าก็จะใส่ข้อมูลเข้าไปเรื่อยๆ ค่ะ จะได้ไม่เหนื่อยตอนประเมิน

และเนื่องจากระบบราชการยังให้ความสำคัญกับหลักฐานเอกสารต่างๆ ในการประกอบการประเมิน ดังนั้น ระบบสารบรรณจึงควรที่จะเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบ load unit ค่ะ (คงเหนื่อยหน่อยนะค่ะ ไว้เป็นเวอร์ชันถัดๆ ไปก็ได้ค่ะ )

และเนื่องจากเป็นระบบที่มี business rules ซับซ้อนหลากหลาย ดิฉันคิดว่า ทางทีมงานพัฒนาน่าจะทำ usability testing ดูสักครั้ง แล้วทำออกเป็น research paper ด้วยก็ได้ ตีพิมพ์ International Journal ได้ด้วยค่ะ

หากทีมงานจะขอสอบถามเรื่อง usability ดิฉันยินดีช่วยเหลือนะค่ะอาจารย์ และก็อยากให้ open-source ระบบด้วยค่ะ มหาวิทยาลัยอื่นๆ จะได้นำไปใช้ได้ด้วยค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์อีกครั้งค่ะ :)

ผม search google หาข้อมูลเรื่อง Personal Software Process

เจอหน้านี้ดีใจจัง 

ไม่น่าเชื่อว่าจะมี ดร.ที่สวยขนาดนี้

ภาพอาจจะหลอกตา 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท