ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ มีคำสั่งแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันภาษา



           ตามที่ ศ.ดร.พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มีนโยบายในการพัฒนาสถาบันภาษาให้เป็นสถาบันพัฒนาบุคลากร ที่เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมถึงบุคคลทั่วไป เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และเป็นแหล่งรองรับการจัดตั้งวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาตินั้น


           เพื่อให้การบริหารจัดการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ศ.ดร.พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผศ.ดร.พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และผู้อำนวยการสำนักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามคำสั่งที่ ๐๗๒/๒๕๕๔ โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เป็นต้นไป

หมายเลขบันทึก: 426677เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2011 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขออนุโมทนาและความยินดีครับ

นมัสการครับพระคุณเจ้า

  • มาสาธุๆๆด้วยคนครับ
  • ต่อไปอยากมีกิจกรรมร่วมกับสถาบันบ้างครับ

อาจารย์โสภณ และอาจารย์ขจิต

ขอบคุณมากๆ สำหรับมุทิตาจิต  เป็นงานที่หนักมาก แต่ก็ถือว่าท้าทาย เพราะต้องยอมรับความจริงว่า "เมื่อเทียบภาษาอังกฤษระหว่างพระไทยกับพระศรีลังกา พม่า ลาว เขมร เวียดนาม"  ภาษาอังกฤษของเรายังไม่ค่อยแพร่หลายเท่าที่ควร  การที่จะทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาทโลกจำเป็นต้องพัฒนา

(๑) ภาษาวิชาการ   เน้นวิชาการให้เข็มแข็ง ทั้งในแง่ของการเรียน ศึกษาหาความรู้ อุปกรณ์ สื่ีอต่างๆ รวมถึง การเีขียนตำรา และเอกสารต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษและเรียนของคนทั่วโลก

(๒) ภาษาไอที  จำเป็นต้องเน้นและเรียนรู้ เพราะโลกก้าวไปพุทโธโลยี ธรรโมโลยี และสังโฆโลยี ตามก้าวให้ทันต่อความเป็นไปของสิ่งต่างๆ เพื่อให้สองสิ่งเอื้อเฟื้อและเกื้อกูนต่อการเข้าถึงธรรม และนำธรรมเข้าสู่สังคม

(๓) ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ  เราจำเป็นต้องเรียนรู้ ศึกษา เพื่อจะได้นำมาเป็นเครื่องในการศึกษา และบริหารจัดการ "ภาษาวิชาการ และภาษาไอที" หากภาษาของเราไม่เข้มแข็งเพียงพอ จะมีผลต่อการพัฒนาวิชาการ และภาษาไอทีเป็นอย่างมาก เพราะภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ นั้น อุดมไปด้วยองค์ความรู้ และขุมทรัพย์ทางปัญญาอย่างหลากหลายที่ซ่อนตัว หรือเผยตัวอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก ฉะนั้น ภาษาจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะไข "ความลับของสรรพสิ่งในจักรวาล" ให้เผยตัวออกมาเพื่อนำไปสร้าง และบูรณาการองค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อการพัฒนามนุษยชาติและสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขต่อไป

 

ด้วยสาราณียธรรม

วรกฤต เถื่อนช้าง (คำพอง)

กราบนมัสการ พระคุณเจ้าที่เคารพยิ่ง

              ก่อนอื่นขอกราบแสดงความยินดีกับพระเดชพระคุณด้วยนะครับ ที่ได้รับความไว้วางใจมอบภาระหนักอีกด้านหนึ่งของ มจร ให้ มั่นใจว่าพระเดชพระคุณทำได้และทำได้ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอนครับ  ขอให้รักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจให้ดีนะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ ในฐานะบุคลากร มจร และในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา สุดท้ายในฐานะเพื่อนร่วมหลักสูตรนักจัดรายการวิทยุเพื่อเผยแผธรรมะ กรมประชาสัมพันธ์ ครับ

                                                              กราบนมัสการด้วยเคารพยิ่ง

                                                                    วรกฤต  เถื่อนช้าง

                                                              รองหัวหน้าศูนย์บัณฑิตศึกษา

                                                                 วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

                                                                     

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท