คำศัพท์เพศศึกษา


เพศภาวะ (Gender)

เพศภาวะ หมายถึง ภาวะความเป็นหญิง เป็นชาย ที่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยระบบชีววิทยา แต่ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคม และอื่นๆ ทำให้สังคมเกิดความคาดหวังต่อความเป็นหญิงและชายในแง่มุมเฉพาะต่างๆ และมีส่วนกำหนดความเชื่อ ทัศนคติ มายาคติ (myth) รวมทั้งประเพณีปฏิบัติต่างๆ ที่ถูกทำให้กลายเป็นบรรทัดฐานของสังคมในเรื่องของความเป็นหญิงเป็นชาย เพศภาวะเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น ผู้หญิงไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นนิยมแต่งกายโดยนุ่งโจงกระเบนและไว้ผมสั้นเหมือนกับผู้ชาย จนชาวต่างชาติไม่สามารถแยกแยะคนไทยเพศหญิงและชายออกจากกันได้ ปัญหาของการทำความเข้าใจเพศภาวะ คือ ความเข้าใจผิดที่ว่า เพศสรีระเป็นตัวกำหนดเพศภาวะของบุคคล

ที่มา         http://th.wikipedia.org/wiki

 

เพศภาวะ หมายถึง  ไม่ว่าเราจะเกิดมาเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย  แต่เพศสภาพของเราคือการแสดงบทบาทความเป็นหญิงชายออกมา  ซึ่งบทบาทดังกล่าวเป็นสิ่งที่สังคมคาดหวัง  เช่นผู้ชายต้องแข็งแรง  กล้าหาญ  ผู้หญิงต้องอ่อนหวาน  นุ่มนวล  เพศสภาพเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้  เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกตามบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ต่างกันหรือตามเวลาที่เปลี่ยนไป

ที่มา   www.pil.in.th/.../ITSexology/3/เพศศึกษา_ม.3_เส้นแบ่งแห่งเพศ.ppt

 

เพศภาวะ (อังกฤษ: gender) คือสิ่งที่แสดงลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยองค์การอนามัยโลกให้ความหมายไว้ว่า "คุณลักษณะของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง"

ที่มา        http://others.sensagent.com

 

สรุป  เพศภาวะ หมายถึง  สิ่งที่แสดงลักษณะที่แตกต่างกันของชายและหญิงออกมา โดยถูกกำหนดจากสังคม วัฒนธรรมและสิ่งที่อยู่รอบตัว ทำให้ต้องแสดงออกถึงบทบาทของชายและหญิง

 

  

บทบาทเพศ 

บทบาทเพศ (Gender role) หมายถึง การสร้างเอกลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ความเสมอภาคทางเพศ และบทบาททางเพศที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมอย่างสมดุล.

ที่มา        http://www.clinicdek.com/index.php?option=com_content&task=view&id=647&Itemid=26

 

บทบาทเพศ หมายถึงบทบาทที่สังคมเป็นตัวกำหนดให้เพศนั้น ๆ ต้องปฏิบัติภาระกิจหน้าที่การงานไปตามอวัยวะเพศที่ปรากฏ  เช่น  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งก็มีหน้าที่แบบหนึ่ง  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งก็ให้เล่นของเล่นแบบหนึ่ง  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งให้แต่งกายแบบหนึ่ง  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งสามารถเข้าไปในสถานที่บางแห่งได้ในขณะที่อวัยวะเพศอีกแบบหนึ่งไม่สามารถเข้าไปได้  

 ‘บทบาทเพศ’ ยังหมายถึงความคาดหวังที่มีต่อต่อบุคลิกภาพ อารมณ์ความรู้สึกที่มีในเพศนั้น ๆ ด้วย เช่น คาดหวังว่าผู้ชายต้องเป็นผู้นำ เข้มแข็ง ไม่ร้องไห้ ในขณะที่ผู้หญิงต้องอ่อนโยน นุ่มนิ่ม เป็นผู้ตาม ร้องไห้ได้  โดยที่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่ามีความเป็นจริงมากน้อยเพียงใดที่ผู้ชายผู้หญิงต้องเป็นแบบนั้น

ที่มา        http://gotoknow.org/blog/storykhienkhao/22474

 

บทบาททางเพศหมายถึงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงถึงความเป็นชายหรือความเป็นหญิงซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จากการสังเกตบุคคลรอบ ๆ ข้าง รวมทั้งการอบรมสั่งสอนโดยตรงของพ่อแม่และตัวแทนต่าง ๆ ในสังคมตั้งแต่วัยเด็ก ท้ายสุดบุคคลจึงมีเอกลักษณ์บทบาททางเพศ (Sex role identity) ที่เหมาะสมเป็นของตนเอง และเป็นที่ยอมรับจากคนในสังคม โดยที่จะแสดงออกทั้งลักษณะความเป็นเพศหญิงและความเป็นเพศชายกลายเป็นลักษณะร่วมกัน

ที่มา        http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8

 

สรุป  บทบาทเพศ หมายถึง  บทบาทที่สังคมเป็นตัวกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามเพศนั้นๆ เช่น ชายต้องเข้มแข็ง เป็นผู้นำ หญิงต้องมีความอ่อนโยน ซึ่งก็คือ บุคลิกภาพของบุคคลจึงเป็นเอกลักษณ์

 

 

สิทธิทางเพศ 

สิทธิทางเพศ หรือ sexual rights คือสิทธิของบุคคลที่ถูกระบุไว้แล้วในกฎหมายและข้อตกลงต่างๆทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เป็นสิทธิของคนทุกคนที่ต้องได้รับโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่มีการบังคับ และไม่มีความรุนแรงในเรื่องต่อไปนี้คือ 

-                   การได้รับบริการด้านสุขภาพทางเพศ                      -  การได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิถีทางเพศ

-                   การได้รับการให้การศึกษาเรื่องวิถีทางเพศ             -  การควบคุมเนื้อตัวร่างกายของตนเอง

-                   การเลือกคู่ครอง                                                           -  การตัดสินใจว่าจะมีเพศสัมพันธ์หรือไม่มี

-                   การสมัครใจมีความสัมพันธ์ทางเพศ                       -  การสมัครใจที่จะแต่งงาน

-                   การตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และมีเมื่อใด        -  การมีชีวิตด้านเพศที่พึงพอใจและปลอดภัย

ที่มา        http://th.wikipedia.org/wiki/

 

“สิทธิทางเพศ” ก็คือสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมไปถึงสิทธิที่จะเลือกวิถีทางเพศที่ตนพึงพอใจ จะมีคู่ต่างเพศหรือเพศเดียวกันก็ได้ แต่เพศสัมพันธ์ทุกครั้งต้องมีความสุขและปลอดภัย ปราศจากความรุนแรงและการบังคับ ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการท้องไม่พร้อม นอกจากนี้ ยังต้องได้รับบริการสุขภาพทางเพศที่มีคุณภาพ ต้องสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระโดยได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน

ที่มา        http://whaf.or.th/content/20

 

สิทธิทางเพศ คือ สิทธิที่จะมีเสรีภาพทางเพศ ต้องขจัดการบังคับข่มขู่ทางเพศ การแสวงหาผลประโยชน์ และการล่วงเกินทางเพศทุกรูปแบบ สิทธิเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งความเคารพในความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และไม่ว่าจะมีอายุ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น หรือมีรสนิยมทางเพศแบบใด สิทธิที่จะมีสุขอนามัยทางเพศที่ดี รวมทั้งได้รับการรักษาพยาบาล โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้องและเหมาะสม สิทธิที่จะได้รับความรู้เรื่องเพศที่กว้างขวางและเป็นข้อเท็จจริง  สิทธิที่จะดำเนินชีวิตร่วมอย่างอิสระ จะแต่งงานหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งสิทธิในการใช้ชีวิตร่วมทางเพศแบบอื่นๆ ที่ตนประสงค์ สิทธิที่จะตัดสินใจโดยเสรีและรับผิดชอบในการเจริญพันธุ์ สิทธิที่จะมีความเป็นอิสระ ความเป็นตัวของตัวเอง และความปลอดภัยในร่างกาย โดยปราศจากการทารุณกรรมและความรุนแรงในทุกรูปแบบ

ที่มา        http://www.doctor.or.th/node/2145

 

สรุป  สิทธิทางเพศ คือ  สิทธิของบุคคลที่จะมีเสรีภาพในเรื่องเพศ ไม่ว่าจะเป็นการเท่าเทียมกันทางเพศ การเลือกคู่ครอง การเลือกที่จะแต่งงานหรือไม่แต่งงาน  การมีเพศสัมพันธ์จะต้องเกิดจากความพึงพอใจ มีความสุข ไม่ถูกบังคับ มีอิสระเรื่องเพศ

 

 

การวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัว (Family Planning) หมายถึง การที่คู่สมรสวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ หรือควบคุมระยะเวลาการตั้งครรภ์ให้เหมาะสมกับอายุ สุขภาพ ฐานะเศรษฐกิจ และระยะห่างของการมีบุตร ตลอดจนจำนวนบุตรที่ต้องการ การวางแผนครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมที่จะมีสมาชิกตามจำนวนที่ต้องการ ในระยะเวลาที่ต้องกา

ที่มา        http://baancondom.com

 

การวางแผนครอบครัว คือ การที่สามีภรรยาวางแผนล่วงหน้าว่าจะมีลูกเมื่อใด มีกี่คน โดยวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไว้ในระยะต้องการเว้นระยะลูกให้ห่างและใช้วิธีคุมกำเนิดแบบถาวร การทำหมันเป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องคิดและตกลง กับสามี ภรรยา คิดร่วมกันไม่ใช่คนหนึ่งคนใดคิด หากเราไม่วางแผน เมื่อมีลูกแล้ว เราอาจจะไม่ได้ดูแลเขาอย่างเต็มที่ ชีวิตครอบครัวจะมีปัญหา ถ้าเราวางแผนครอบครัวไม่ดี เราอาจจะมีลูกมากเกินไป เราดูแลไม่เต็ม

ที่มา        http://www.thaigoodview.com/node/17648

 

การวางแผนครอบครัว หมายถึง การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

ที่มา        http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

 

สรุป  การวางแผนครอบครัว คือ การที่สามีภรรยาวางแผนล่วงหน้าว่าจะมีลูกเมื่อใด  มีกี่คน และตั้งเป้าหมายที่จะทำเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งที่อยู่อาศัย การเงิน และวางแผนการเลี้ยงดูบุตร  รวมไปถึงการวางแผนที่จะทำหมันเพื่อที่จะไม่ให้มีบุตรมากเกินไป

 

 

อนามัยการเจริญพันธุ์

อนามัยเจริญพันธุ์ หมายถึง ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ที่เป็นผลจากกระ บวนการและการทำหน้าที่การเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทางเพศชายและหญิงทุกช่วงอายุ อันส่งผลให้มี ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ที่มา        http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/health03/04/contents/hs01.html

 

อนามัยการเจริญพันธุ์"ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจที่เป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากกระบวนการ และหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิงทุกช่วงอายุของชีวิต ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข "

ที่มา        http://webboard.yenta4.com/topic/115592

 

อนามัยเจริญพันธุ์ หมายถึง ภาวะที่มีความสมบูรณ์ของผู้หญิงและผู้ชายที่พร้อมจะสืบทอดเผ่าพันธุ์ มีความสุขทั้ง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณมีกระบวนการครอบคลุมตลอดช่วงชีวิตของบุคคล ดังนี้
          1. มีพัฒนาการทางเพศ
          2. มีความพึงพอใจทางเพศ
          3. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
          4. ได้รับการตรวจสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์
          5. มีศักยภาพในการให้กำเนิดและความมีอิสระที่จะตัดสินใจในการให้กำเนิดบุตรเมื่อใด อย่างไร โดยคลอดบุตรอย่างปลอดภัย 
          6. ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับข้อมูลและบริการสุขภาพที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในการกำหนด หรือควบคุมภาวะการเจริญพันธุ์

ที่มา        http://www.it.ssyt.org/page3.html

 

สรุป  อนามัยเจริญพันธุ์ คือ ภาวะความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ ทั้งในเพศชายและหญิง เพื่อพร้อมที่จะสืบเผ่าพันธุ์หรือวงสกุลต่อไป

 

 

เพศสัมพันธ์

เพศสัมพันธ์เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสืบพันธุ์ของมนุษย์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัย ทางธรรมชาติ ของร่างกายเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ของมนุษย์นั้นเอง เมื่อมีการร่วมเพศกันจนถึงจุดสุดยอด ตัวอสุจิของชายหนุ่ม ก็หลั่งออกมาภายในช่องคลอดของหญิงสาว จากนั้น ตัวอสุจิจะแหวกว่ายเข้าไปในมดลูกเพื่อไปพบกับ"ไข่" ของหญิงสาว ตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียง 1 ตัว สามารถไชเข้าไปภายในไข่ได้ และผสมกับไข่เกิดเป็นตัวอ่อน ของเด็กเราเรียกการผสมระหว่างตัวอสุจิและไข่นี้ว่า “

ที่มา        http://www.oknation.net/blog/print.php?id=20642


         เพศสัมพันธ์ เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้น ระหว่างความรัก ความเข้าใจ ความพร้อมของคนทั้งสอง มักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับบุคคลที่เรามีความรู้สึกอยากใกล้ชิด เพศสัมพันธ์นั้นไม่ได้หมายความถึงการร่วมเพศเท่านั้น แต่หมายถึงกิจกรรมทางเพศในลักษณะต่างๆ เช่น การกอด การสัมผัส การจูบ การกระตุ้นอวัยวะเพศ แต่ความสัมพันธ์ทางเพศที่ยอมรับในสังคม เป็นองค์ประกอบของการอยู่กินเป็นสามี ภรรยา เมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะเกิดผลตามมา

ที่มา        http://www.maeklongtoday.com/sara_2/aid.htm

 

เพศสัมพันธ์ หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างบุคคลสองคน มีความหมายครอบคลุมทั้งระหว่างบุคคลต่างเพศ  และบุคคลเพศเดียวกัน ส่วนพฤติกรรมของสัตว์จะเรียกว่า การผสมพันธุ์

การร่วมเพศระหว่างชายกับหญิง คือ การที่อวัยวะสืบพันธุ์ชายเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์หญิง การเสียดสีระหว่างอวัยวะทั้งสองนำไปสู่จุดสุดยอด ฝ่ายชายจะหลั่งอสุจิออกมาภายนอกร่างกาย หากอสุจิเข้าไปภายในช่องคลอดของฝ่ายหญิง ในภาวะที่เหมาะสมอาจเกิดการปฏิสนธิทำให้ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์

การร่วมเพศ/การผสมพันธุ์ เป็นกิจกรรมปกติของสัตว์ที่สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ เป็นกิจกรรมที่เริ่มต้นการปฏิสนธิ เพื่อให้กำเนิดชีวิตใหม่

ที่มา        http://th.wikipedia.org/wiki/

 

สรุป  เพศสัมพันธ์ คือ  การที่บุคคลสองคนมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง โดยจะต้องเกิดจากความรัก ความเข้าใจและความพร้อมของทั้งสองคน เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยอวัยยวะเพศชายจะเข้าไปในอวัยวะเพศหญิง มีการเสียดสีกัน จนนำไปสู่จุดสุดยอด

 

 

พฤติกรรมเพศ

พฤติกรรมเพศ หมายถึง การกระทำ หรือ การปฏิบัติตนที่เกี่ยงข้องกับเรื่องเพศ โดยครอบคลุมทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก คือ พฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ปัจจัย คือ ครอบครัว เพื่อน สังคม และ วัฒนธรรม

ที่มา        http://www.thainame.net/project/dinar_za/index1.html

 

พฤติกรรมทางเพศ (Sexual behavior) หมายถึง การแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับเพศ และวัย

ที่มา        http://www.konmun.com/Article/id4331.aspx

 

พฤติกรรมทางเพศ  หมายถึง ปฏิกริยาที่แสดงออกในเรื่องเพศของบุคคลที่เกิดขึ้นระหว่างเพศตรงข้ามจากประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบัน

ที่มา        http://dc.oas.psu.ac.th/dcms/files//04581/Chapter1.pdf

 

สรุป  พฤติกรรมเพศ  หมายถึง การกระทำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน สังคม และ วัฒนธรรม

  

 

ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ 

ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ หมายถึง การที่หญิงและชายมีความเท่าเทียมกันในสังคม มีความเสมอภาคในสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และโอกาส โดยเงื่อนไขทางสังคมเอื้อต่อการมีและใช้สิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้สังคมที่ไม่แตกต่างกัน

ที่มา        www.diw.go.th/km/other/.../มุมมองบทบาทหญิงชายในภาครัฐ(สล.กรอ.).doc

 

ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ  เป็นเรื่องของการที่ชายและหญิงมีสิทธิ  เสรีภาพในการเเสดงออกซึ่งบทบาททางเพศของตนเองต่อสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่ต้องอยู่ภายในกรอบที่เหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรม  ประเพณีที่ดีงามของชนชาติไทย  การมีความเสมอภาคทางเพศมิได้หมายความว่าจะทำอย่างไรก็ได้  ขอให้เท่าเทียมกันก็พอ  หากเเต่จะต้องรู้จักที่จะวางตัวให้เหมาะสมกับเพศของตนเองด้วย  เนื่องจากเราจะต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น  ทั้งที่เป็นเพศเดียวกันและต่างเพศ  ซึ่งวิธีการปฏิบัติตัวก็จะแตกจ่างกันออกไปในเรื่องของรายละเอียด  แต่ถึงอย่างไรก็ตามการวางตัวที่เหมาะสมก็จะทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามบทบาททางเพศของตนเองได้ในที่สุด

ที่มา        http://www.thaigoodview.com/node/52058

 

ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ เป็นเรื่องของเพศหญิงกับเพศชายที่มีความเท่าเทียมกันในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในทางกฎหมาย และทางสังคม

ที่มา        http://202.143.148.60/myscrapbook/index.php?section=89&page=41

 

สรุป  ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ  คือ  การที่ชายหญิงมีความเสมอภาคในเรื่องเพศ มีเสรีภาพในการแสดงออกแต่ต้องอยู่ในกรอบของสังคม วัฒนธรรม มีการวางตัวที่เหมาะสม

 

 

บทบาทชาย 

เพศที่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขทางสังคมหรือวัฒนธรรมให้แสดงบทบาทชาย ดังนั้นเพศที่ถูกกำหนดโดยสังคมจึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละสังคม ตามสภาวการณ์ และเงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนไป เช่นผู้ชายอาจจะต้องรับบทบาทการดูแลบ้านเรือนเลี้ยงดูบุตรซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของผู้หญิง  

ที่มา        http://guru.sanook.com/answer/question/บทบาทชายหญิง

 

                  บทบาทชาย  บทบาทที่กำหนดโดยสังคมเป็นตัวกำหนดสำคัญในการที่ผู้หญิงหรือผู้ชายจะแสดงออกอย่างไรในสังคมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

ที่มา        http://www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

 

“บทบาทชาย” หมายถึง ความเป็นชายที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสังคมและวัฒนธรรม เช่น ชายเป็นผู้นำ ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติมาตั้งแต่กำเนิดเหมือนกับธรรมชาติทางร่างกายของชายที่มีอัณฑะ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้   การกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมนื้ทำให้มีผลต่อชีวิตของหญิงชายมากกว่าการกำหนดโดยธรรมชาติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์

ที่มา        http://www.oknation.net/blog/print.php?id=409012

 

สรุป  บทบาทชาย  เป็นสิ่งที่สังคม ได้กำหนดขึ้นให้เป็นไป  ผู้ชายจะแสดงออกอย่างไรในสังคมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

 

 

บทบาทหญิง

“บทบาทหญิง” หมายถึง ความเป็นหญิงที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสังคมและวัฒนธรรม เช่น หญิงจะเป็นผู้ตามมากว่าจะเป็นผู้นำ  ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติมาตั้งแต่กำเนิดเหมือนกับธรรมชาติทางร่างกายของหญิงจะมีรังไข่ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้   

ที่มา        http://www.oknation.net/blog/print.php?id=409012

 

มีบทบาทตามค่านิยมของคนในสังคม เกิดการหล่อหลอมหรืออบรมสั่งสอนต่อๆกันมา ให้อยู่ในบทบาทหน้าที่ของตน โดยหญิงนั้นจะมีบทบาทในการคอยดูแลบ้าน เป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูก เป็นผู้ตาม

ที่มา        webhost.cpd.go.th/saraburi/download/plan2.pps

 

บทบาทหญิงถูกกำหนดขึ้นโดยสังคมและวัฒนธรรม อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เป็นอยู่

ที่มา        http://www.prachatai.com/journal/2010/03/28052

 

สรุป  บทบาทหญิงเป็นสิ่งที่แสดงออกของเพศหญิงที่ถูกกำหนดขึ้นจากสังคมวัฒนธรรม ให้ต้องปฏิบัติ โดยบทบาทนั้นอาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยหรือสถานการณ์ที่เป็นอยู่

 

 

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางสังคมและเทคโนโลยี 

เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการกระทำและการปะทะสังสรรค์รวมทั้งผลของการกระทำและโครงสร้างที่ก่อให้เกิดปทัสถานอย่างเห็นได้ชัด”

ที่มา        www.stech.ac.th/blogs/0830/wp-content/uploads/.../Cultural-change.doc

 

 เมื่อสรุปเป็นภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมในสังคมไทยโดยทั่วไปในขณะนี้   ก็อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมก็ดี  หรือการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชาวนามาเป็นสังคมกรรมกรก็ดี เป็นไปในลักษณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมปรับตัวไม่ทัน  เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีค่านิยมทางวัฒนธรรมที่เน้นการทำตัวเองให้กลมกลืนกับจักรวาล  และการสร้างดุลยภาพระหว่างความต้องการทางวัตถุกับทางจิตใจ ที่มีผลทำให้ผู้คนต้องพึ่งพากันเองและร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  มาเป็นสังคมสมัยใหม่ที่มีแต่ความต้องการทางวัตถุและการเป็นปัจเจกบุคคล  แล้วสร้างค่านิยมทางวัฒนธรรมที่เน้นการควบคุมจักรวาลแทน  ผลที่เห็นในปัจจุบันก็คือ การใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์เพื่อการผลิตผลิตผลทางเศรษฐกิจจนเกินความจำเป็น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่พอจะเหลือไว้ให้คนในรุ่นหลังๆ ได้ดำรงอยู่อย่างราบรื่นนั้นหมดสิ้นไปโดยไม่จำเป็น

ที่มา        http://guru.sanook.com/enc_preview.php?

 

แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ไม่ว่าในทางยอมรับหรือต่อต้าน ย่อมขึ้นอยู่กับรากฐานของวัฒนธรรมในสังคมนั้น ตัวอย่างเช่น ความเป็นชายและหญิงที่ต่างมีบทบาทอยู่ในหลายวัฒนธรรม เพศใดเพศหนึ่งอาจต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกระทบต่ออีกเพศหนึ่ง ดังเช่นที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมตะวันตกในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2493 -2443) ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักดันชักจูงทั้งสองทาง คือการกระตุ้นให้ยอมรับสิ่งใหม่ และการอนุรักษ์ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้น

ที่มา        http://th.wikipedia.org/wiki/

 

สรุป  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการกระทำและการปะทะสังสรรค์รวมทั้งผลของการกระทำและโครงสร้างที่ก่อให้เกิดปทัสถานอย่างเห็นได้ชัด

 

 

มิติทางเพศ

เรื่อง "เพศ" จึงมีหลายมิติคือมิติของความรู้ ของอำนาจ และเศรษฐกิจ นับวัน "เพศ" ก็จะ

กลายเป็นเรื่องเด่นในชีวิตประจำวันมากขึ้นเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ไม่ขาดผู้บริโภค

ในสังคมปัจจุบัน

http://www.human.cmu.ac.th/Huge/huge104/data/104-23.pdf

 

ในภาษาละตินจะมีการแบ่งคำนามออกเป็น 3 เพศ คือ เพศชาย (MASCULINE) เพศหญิง (FEMININE) และไม่มีเพศ (NEUTRAL) การแบ่งเพศในทางสังคมเป็นเรื่องซับซ้อนเพราะในโลกตะวันตกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความแตกต่างทางเพศในสังคมขึ้นอยู่กับคำสอนทางศาสนาและการนิยามทางวัฒนธรรม มากกว่าทางสรีระร่างกาย แต่ต่อมาเมื่อมีความตื่นตัวทางด้านความรู้เกี่ยวกับร่างกายมากขึ้น และคำสอนทางศาสนาลดอิทธิพลลงในยุคของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ทัศนคติที่มีต่อเรื่องเพศจึงปรับเปลี่ยนจนในปัจจุบันเพศเป็นจุดเด่นในสังคมของโลกปัจจุบันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในขณะนี้เพศสัมพันธ์ถูกถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ในสังคม แต่ในความเป็นจริงในพัฒนาการของทัศนคติเกี่ยวกับเพศนั้น การมีเพศสัมพันธ์ก็ดี การมีความต้องการทางเพศก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่สามารถสร้างปัญหาและความขัดแย้งในสังคมได้ทุกยุคทุกสมัย

ที่มา        http://guru.sanook.com/enc_preview.php?

 

ในโลกตะวันตกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในความรู้ความเข้าใจของคนทั่วไป ร่างกายมนุษย์นั้นไม่มี

ความแตกต่างทางเพศหรือถ้าจะพูดให้ถูก ร่างกายมนุษย์มีเพศเดียวคือเพศชายเพราะร่างกายผู้ชายถูกใช้

เป็นบรรทัดฐาน มีความเชื่อกันว่าร่างกายผู้หญิงมีทุกอย่างที่ร่างกายผู้ชายมี ความแตกต่างอยู่ที่ตำแหน่ง

ของอวัยวะที่แตกต่างกันเท่านั้น กล่าวคือในร่างกายผู้ชายอวัยวะเพศอยู่ข้างนอก แต่ในผู้หญิงอวัยวะเพศ

อยู่ข้างในช่องคลอด ก็คือองคชาติที่อยู่ข้างในร่างกาย มดลูกคือถุงอัณฑะ และรังไร่ก็คืออัณฑะ ยังเชื่อกัน

อีกด้วยว่าผู้หญิงก็สามารถผลิตน้ำอสุจิได้เหมือนผู้ชายความแตกต่างทางเพศซึ่งในสมัยโบราณนั้นมักจะกำหนดให้เพศหญิงต่ำต้อยกว่าเพศชาย จึงมิได้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายตามธรรมชาติแต่จะมาจากสาเหตุอื่นโดยเฉพาะก็คือความเชื่อทางศาสนาและประสบการณ์ทางวัฒนธรรม

ที่มา        http://th.wikipedia.org/wiki/

 

สรุป  มิติของเพศนั้นมีหลายมิติคือมิติของความรู้ ของอำนาจ และเศรษฐกิจ

 

คำสำคัญ (Tags): #สุขศึกษา
หมายเลขบันทึก: 426397เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท