หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a3 : ไม่รู้อะไรมาก...ค่อยๆสางดีกว่า


ความดันอากาศก็มีรอบตัวทั้งอยู่กับที่นิ่งๆ แนวดิ่ง และแนววิ่ง อย่าลืมๆ

พูดกันเรื่องไอน้ำทำให้ชื้น ชื้นก็คือเปียกน้อยๆ เปียกน้อยกว่าก็คือแห้ง ทำให้ไอน้ำแห้งก็คือลดไอน้ำ ไอน้ำมากเมื่อมีน้ำมาก อย่างนี้ก็ต้องตามไปดูว่าตึกนี้มีเรื่องเกี่ยวกับน้ำที่ไหน เมื่อไร อย่างไรบ้างก่อนเนอะ จะได้ลดน้ำให้ไอน้ำน้อยลง

คราวก่อนนึกไว้เรื่องลมเป่า โดยหลักของการเจือจางอะไรก็แล้วแต่ที่ไหลได้ คำแนะนำคือเติมเพิ่มอะไรที่สิ่งนั้นไปปนอยู่ ลมเป่าสามารถใช้เติมเข้าไปที่ตึกแห่งนี้อย่างไร ก็ต้องไปดูก่อนละมัง

จะไปดูก็ต้องรื้อความรู้ก่อนไปซะหน่อย เรื่องลม เรื่องเป่า จะได้สังเกตว่าที่คิดจะทำนั้นโอเคแค่ไหน

ธรรมชาติสร้างลมขึ้นจากความต่างกันของอุณหภูมิในอากาศ ๒ จุด ความเย็นทำให้อากาศจากที่ร้อนกว่าเคลื่อนไหวเข้าไปหาเหมือนหนุ่มร้อนเจอสาวใจเย็นดูดเข้าไปหา เวลาไปเจอกันก็ผ่องถ่ายความร้อนให้จนอุณหภูมิเท่ากัน  เมื่อไรที่อุณหภูมิเท่ากัน ลมก็หยุดพัด (ธรรมชาติตรงนี้เหมือนอารมณ์คนเลยนะ)

ก็คงจะต้องไปดูทั้ง ๒ ตึกเพื่อมาหาคำตอบว่าจะทำยังไงต่อกับเงื่อนไขของความเป็นตึกเดียวกันแม้จะอยู่คนละชั้น แล้วทำำให้คนสบายกับอากาศรอบตัวพร้อมๆกับไม่เป็นอากาศที่เลี้ยงเชื้อโรคในทั้ง ๒ ตึก

ก่อนเป่าก็ต้องรู้ก่อนว่า ตรงไหนอากาศนิ่ง ตรงไหนลมพัดอยู่แล้ว  จะได้นำมาตัดสินใจว่า ตรงไหนควรกรองอากาศ ตรงไหนติดแอร์แล้วดี ตรงไหนควรปรับอะไรอีก แหงละว่าควรดูเรื่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับตึกทั้ง ๒ ชั้นด้วย

เคยเห็นน้ำร้อนเดือดมั๊ย สิ่งที่เห็นจะเห็นน้ำมันหมุนวนแล้วก็มีน้ำเดือดกระเซ็น เห็นไอที่ลอยขึ้นเหนือน้ำเนอะ  ไอน้ำที่ลอยขึ้นจากผิวน้ำนี่แหละที่ปนในอากาศแล้วให้ผลเป็นความชื้นสัมพัทธ์ และใช่ว่าจะมีแต่น้ำเดือดเท่านั้นที่ให้ไอ น้ำอะไรก็ให้ไอน้ำได้เพียงแต่ไม่หนาพอให้ตาเรามองเห็นเท่านั้นเอง

ยิ่งร้อนยิ่งไอเยอะ ยิ่งอากาศเย็นยิ่งเห็นเยอะใช่ไหม แปลว่าอุณหภูมิของน้ำและอากาศเข้ามาเอี่ยวด้วยกับการเกิดความชื้นสัมพัทธ์เนอะ

แกะรอยค้นหาต่อก็ไปเจอคำอธิบายว่า “ทุกอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ๑๐ องศาเซนติเกรดของอากาศ จะเพิ่มที่ให้ไอน้ำปนเพิ่มได้อีกเป็น ๒ เท่าของที่ปนอยู่แล้วเดิม”

อย่างนี้แปลว่า อากาศที่อุณหภูมิต่างกันเพิ่มไอน้ำที่ปนเนอะ ยิ่งร้อนยิ่งเพิ่มด้วยซิ  ลมเกิดจากความต่างของความดันอากาศด้วย ยิ่งร้อน ยิ่งเพิ่มไอน้ำ

ความดันอากาศก็มีรอบตัวทั้งอยู่กับที่นิ่งๆ แนวดิ่ง และแนววิ่ง

จำได้ว่าเมื่อเรียนเรื่องเมฆ ครูสอนว่า เมื่อไรที่แดดร้อน น้ำจะกลายเป็นไอลอยไปเกาะกันบนฟ้า มากเข้าๆก็จะกลายเป็นเมฆ  แปลว่ายิ่งร้อน ยิ่งมีไอน้ำมาก

ไอน้ำที่เพิ่มนั้นลอยจากพื้นที่ต่ำกว่าขึ้นไปหาฟ้าที่สูงกว่า แปลว่าอากาศร้อนมันเบา แรงกดทับบนอากาศน้อยจึงลอยสูงได้เนอะ

อย่างนั้นน่าไปตามดูอุณหภูมิในตึกทั้ง ๒ ตึกซะหน่อยแล้ว จะได้เข้าใจทิศทางลมกับความเกี่ยวข้องในตึก เผื่อว่าจะเติมลมเป่าเข้าไป จะได้กำหนดจุดเป่าได้ตรง

เอาละได้เรื่องน่าสนุกไปลองค้นหาความจริงดูแล้ว ไปเรื่อยๆอย่างนี้แหละ ค่อยๆสางค่อยๆคิดแล้วจึงมาตัดสินใจเรื่องแก้ให้ดีกว่า ปัญหามีมานานแรมปีแล้วไม่ใช่เรื่องฉุกเฉินขนาดคอขาดบาดตาย  ค่อยๆตามสางดูก็แล้วกัน

หมายเลขบันทึก: 426202เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2011 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เห็นด้วยค่ะ คุณหมอ
    ค่อย ๆ สาง...ก็คงเข้าใจชัดในที่สุดนะคะ
  • คุณครูเป็นอย่างหมอบ้างมั๊ยค่ะ
  • บางทีก็เหมือนไม่รู้อะไรเลย
  • จนต้องหันมาถามตัวเองว่า
  • รู้อะไรที่พอมีให้ดึงมาใช้ได้
  • จนกระทั่งหาเจอความรู้เล็กๆ
  • ก็เลยลองเอามาสางดูหน่อย
  • ก็สางไปได้ทีละนิดๆ
  • ........
  • ไม่เคยคิดเลยว่า
  • ความรู้พื้นฐานที่เรียนๆมา
  • จากชั้นมัธยมต้น-ปลาย
  • .........
  • จะสามารถนำมาใช้
  • แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้
  • .........
  • ก็ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่า
  • ทำไมคนโบราณเขาจึงพูดว่า
  • "รู้มาก...ยาก...นาน"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท