หลักการตรวจแปลงผัก GAP ที่ส่งขาย อียู


หลักการตรวจแปลงผัก GAP ที่ส่งขาย อียู

จะมุ่งตรวจสอบ 8 ประเด็นหลัก ได้แก่

1. สภาพการเพาะปลูก

2. แหล่งน้ำ หากเกษตรกรรายใดมีแปลงเพาะปลูกและแหล่งน้ำ อยู่ในใกล้โรงงานอุตสาหกรรม โรงฆ่าสัตว์ก็ถือว่าสอบไม่ผ่าน

3. การใช้สารเคมี ห้ามใช้สารเคมีในกลุ่มที่ อียู ประกาศงดใช้อย่างเด็ดขาด เช่น ยาฆ่าหญ้ากลุ่มไกลโฟเสต ส่วนสารเคมีประเภทอื่นๆ ใช้ได้แต่ต้องใช้ให้ถูกส่วน ถูกเวลา และถูกอัตรา

4. เกษตรกรต้องมีการจดบันทึกทุกขั้นตอนการปลูก ตั้งแต่วันที่ปลูก ใส่ปุ๋ยและสารเคมี วันที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตที่จำหน่ายและรายชื่อลูกค้า 

5. สารเคมี จะต้องจัดเก็บในโรงเรือนที่มีหลังคาคลุม แยกจากบ้านพักและสัตว์เลี้ยง

6. การเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี โรคและแมลง เน้นใช้ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด

7. จุดรวบรวมผลผลิต จะต้องมีโต๊ะคัดแยกผักโดยเฉพาะ

8. ผ้าคลุมเข่ง สำหรับป้องกันผักเหี่ยวเฉา ก่อนนำไปใช้งานจะต้องตากผ้าให้แห้งสะอาด มีราวตากผ้าคลุมผักโดยเฉพาะ ส่วนถุงมือและมีดที่ใช้ตัดผัก จะต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ ภายหลังการใช้งานก็ต้องจัดเก็บให้เป็นสัดเป็นส่วน

หลังจากนั้น ทางกรมจะเก็บส่งตัวอย่างผักส่งเข้าห้องแล็บ เพื่อตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี โรคและแมลง หากยังตรวจพบสิ่งปนเปื้อน ก็จะแจ้งให้เกษตรกรทราบว่า ยังส่งออกผักไม่ได้ 

หลังจากนั้น อีก 10-15 วัน จึงค่อยมาสุ่มเก็บตัวอย่างผักไปตรวจสอบอีกครั้ง หากตรวจสอบรอบ 2 ไม่เจอจุดบกพร่อง คณะผู้ตรวจรับรองก็จะออกใบรับรองแหล่งผลิตพืช (Q) ให้แก่เกษตรกร ซึ่งใบรับรองดังกล่าวจะมีอายุการใช้งาน 1 ปี

แต่ทางศูนย์จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบแปลงทุกๆ 2-3 เดือน เพื่อสุ่มเก็บตัวอย่างผักส่งเข้าห้องแล็บ เพื่อตรวจสอบหาสารตกค้างอย่างต่อเนื่อง 

(สรุปจาก http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05104010254&srcday=&search=no)

...

...

คำสำคัญ (Tags): #study
หมายเลขบันทึก: 425324เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2015 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท