ทัศนาจรปักษ์ใต้ เรียนรู้เรื่องเมือง ศรีวิชัย


เมืองศรีวิชัย หรือศรีวิชายา (Srivijaya) ที่น่าจะเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและศิลปะ "ศรีวิชัย" และน่าจะเป็นที่มาของการตัดคำมาเป็นเมือง "ไชยา"

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางลงใต้

  • ไปชมวัดสวนโมกข์และสถานปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติ
  • ไปอาบน้ำพุร้อน และ
  • ไปศึกษาตลาดพระเครื่องที่เมืองไชยา สุราษฎร์ธานี

และโชคดีได้ไปพักบ้านญาติของตระกูลขุนนางเก่า บ้านน้าอำพัน มากมี (นามสกุลเดิม วังมี) ที่อยู่ในเขตเมืองเก่าของเมือง "ไชยา"

ทำให้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของไทย ชาวบ้านเรียกกันว่า เมืองศรีวิชัย ที่ผมคาดว่า คือศูนย์กลางของ เมืองศรีวิชัย หรือศรีวิชายา (Srivijaya) ที่น่าจะเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและศิลปะ "ศรีวิชัย" และน่าจะเป็นที่มาของการตัดคำมาเป็นเมือง "ไชยา"

ลักษณะเป็นเมืองขนาดกว้างประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่วัดเวียง และชุมชนด้านตะวันตกของตัวอำเภอไชยา มีถนนเข้าเมืองไชยาผ่ากลางเมือง แต่วัดโบราณอีก ๓ วัด ได้แก่วัดพระบรมธาตุไชยา วัดแก้ว (วัดรัตนาราม) และวัดหลงนั้นอยู่นอกกำแพงเมืองศรีวิชายา

ลักษณะสำคัญคือ มีคูเมืองกว้างประมาณ ๒๐ เมตรล้อมรอบกำแพงเมืองที่เป็นแนวอิฐเก่า สภาพถูกถมไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ เพราะอยู่ในชุมชนที่มีน้ำท่วมถึง ที่ใช้ทำนามาแต่เดิม และได้ทราบว่ามีการถมดินในเมืองให้สูง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือ "เมือง" มาแต่เดิม โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนเดิม บริเวณที่มีการขุดลอกคูเมืองเก่าเป็นบ่อเลี้ยงปลาอยู่ที่หลังวัดเวียง

พระสำคัญที่พบในพื้นที่บริเวณนั้น คือ พระอวโลกิเตศวร เนื้อสำริดครึ่งองค์ท่อนบน ปัจจุบันนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่กรุงเทพ

นอกจากนั้นยังพบแท่นศิวลึงค์ และศิวลึงค์ แกะจากหินทรายสีแดง ที่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่วัดเวียง

ส่วนพระกรุจากการสอบถามคนท้องถิ่นนั้น พบว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรปางประทานพร ศิลปะละเอียดอ่อนช้อยแบบศรีวิชัย เนื้อดินเผามีประภามลทลรอบเศียรพระ

 

พระอวโลกิเตศวร เนื้อดิน กรุวัดบรมธาตุไชยา  อ.ไชยา สุราษฎร์ธานี

 

พระกรุนำทางที่ผมได้มานานแล้วคือ พระอวโลกิเตศวรเนื้อดิน ลักษณะเนื้อแบบเดียวกับเนื้ออิฐชั้นล่างสุดของกำแพงเมืองศรีวิชายา มีลักษณะเป็นอิฐขาวนวลออกเหลืองอ่อนๆ

นับว่าเป็นความรู้ใหม่สำหรับผมครับ

 

หมายเลขบันทึก: 425194เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท