เอกสารความรู้เรื่อง เสียงในภาษาไทย โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม


เสียงเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาแต่ก็มีค่ามากที่สุดเช่นเดียวกัน

เสียงในภาษาไทย

เรียบเรียงโดย เฉลิมลาภ ทองอาจ, ค.ม. การสอนภาษาไทย (จุฬาฯ)                                                          

            มนุษย์ใช้เสียงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อสาร  เนื่องจากมนุษย์สามารถเปล่งเสียงและดัดแปรให้มีความแตกต่างกันได้หลายลักษณะ  เมื่อมนุษย์กำหนดความหมายให้กับเสียงเหล่านั้น  ก็ทำให้เกิดถ้อยคำที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน  อย่างไรก็ตาม  นักเรียนคงสังเกตพบว่าในแต่ละภาษานั้น  มีลักษณะและท่วงทำนองการเปล่งเสียงที่แตกต่างกัน  ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าของภาษาเรียนรู้วิธีการเปล่งเสียงแตกต่างกันไป  สำหรับในภาษาไทย  เราเรียนรู้วิธีการเปล่งเสียงได้  ๓  ประเภท  คือ  เสียงแท้  เสียงแปร  และเสียงดนตรี     ซึ่งในการเปล่งเสียงที่เหล่านี้เราจำเป็นต้องใช้อวัยวะต่างๆ  อย่างสัมพันธ์กัน

            อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง

          ๑.  เส้นเสียง  เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดในการออกเสียง  มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อวางขวางอยู่ในกล่องเสียง  เมื่อลมผ่านจากปอดขึ้นมาจะทำให้เส้นเสียงสั่นสะเทือนและเป็นต้นกำเนิดของเสียง

            ๑.  ลิ้น  เป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้  ทำหน้าที่ผลักลมและดัดแปรช่องปากให้มีปริมาตรแตกต่างกัน  อันส่งผลให้เสียงที่เปล่งออกมาแตกต่างกันด้วย

            ๒.  เพดานแข็ง  เพดานอ่อน  ปุ่มเหงือก  ฟัน  ริมฝีปาก  ช่องจมูก  อวัยวะเหล่านี้เป็นอวัยวะที่เป็นฐานให้เกิดเสียงต่างๆ 

            เสียงในภาษาไทย

          นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งเสียงในภาษาไทยเป็น  ๓  ประเภท  คือ  เสียงแท้  เสียงแปร  และเสียงดนตรี   ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๑.  เสียงแท้

          เสียงสระเป็นเสียงก้อง  คือ เมื่อเปล่งเสียง  ลมที่ผ่านออกมาทางช่องปากไม่ทำให้อวัยวะที่เป็นฐานเกิดการสั่นสะเทือนหรือเคลื่อนไหว   ซึ่งเมื่อต้องการบันทึกเสียงแท้ด้วยตัวอักษร  จะใช้ตัวอักษรที่เรียกว่า  “สระ” ดังนั้นเราจึงเรียกเสียงแท้ว่า  “หน่วยเสียงสระ”  ซึ่งมี  ๒๑  หน่วยเสียง  แบ่งเป็น  หน่วยเสียงสระเดี่ยวและหน่วยเสียงสระประสม  ดังนี้

                        ๑.๑  หน่วยเสียงสระเดี่ยว

                   หน่วยเสียงสระเดี่ยว  คือ  เสียงที่เปล่งออกมาโดยไม่มีอวัยวะใดในช่องปากมาปิดกั้นไว้   ลักษณะเสียงชนิดนี้เกิดจากการทำหน้าที่ของลิ้นส่วนต่างๆ  และการยกระดับของลิ้น  รวมทั้งการดัดแปรลักษณะของริมฝีปาก  มีทั้งสิ้น  ๑๘  หน่วยเสียง  ดังนี้

 

               ส่วนของลิ้น

 

การยกระดับลิ้น

                ริมฝีปากรี                                                                                        ริมฝีปากห่อ

หน้า

กลาง

หลัง

สูง

  อิ                      อี

  อึ                      อือ

  อุ                       อู

กลาง

เอะ                     เอ

  เออะ                เออ

 โอะ                    โอ

ต่ำ

แอะ                    แอ

  อะ                    อา

 เอาะ                   ออ

 

                        หน่วยเสียงสระเดี่ยวข้างต้น  แบ่งเป็นหน่วยเสียงสระสั้น  ๙  เสียง  ได้แก่  หน่วยเสียง    อิ  เอะ  แอะ  อึ  เออะ  อะ  อุ  โอะ  เอาะ  และหน่วยเสียงสระยาว  ๙  เสียง  ได้แก่         หน่วยเสียง  อี  เอ  แอ  อือ  เออ  อา  อู  โอ  ออ  

                        ๑.๒  หน่วยเสียงสระประสม

                   หน่วยเสียงสระประสมเกิดจากการเปลี่ยนระดับลิ้นจากระดับสูงมาต่ำอย่างรวดเร็ว  ซึ่งในภาษาไทยมี  ๓  หน่วยเสียง  ได้แก่  หน่วยเสียงสระสูง    อิ   อึ   อุ  ประสมกับสระต่ำ   อะ  เป็นหน่วยเสียง  เอียะ  เอือะ  อัวะ  ตามลำดับ  ซึ่งในทางภาษาศาสตร์ถือว่าแม้จะออกเสียงสระประสมเหล่านี้ให้ยาวออกไป  เป็น  เอีย  เอือ  อัว  ก็ไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป 

๒.     เสียงแปร

            เสียงแปร  หมายถึง  เสียงที่ลมที่ผ่านออกมาทางช่องปากถูกปิดกั้น  และดัดแปรโดยอวัยวะต่างๆ  ภายในปาก  ซึ่งเรียกว่าฐาน  อาทิ  เพดานแข็ง  เพดานอ่อน  ปุ่มเหงือก  ริมฝีปาก  เป็นต้น  ในการบันทึกเสียงแปรนั้นใช้ตัวอักษรที่เรียกว่า  “พยัญชนะ”  ดังนั้นเราจึงเรียกเสียงแปรว่า  ”หน่วยเสียงพยัญชนะ”  ซึ่งในภาษาไทยมี  ๒๑  หน่วยเสียง  สรุปได้ดังตารางต่อไปนี้  

 

หน่วยเสียง

ลักษณะ

หน่วยเสียง

ลักษณะ

หน่วยเสียง

ลักษณะ

๑.    ก

ระเบิด

ไม่มีลม

๘.       ค

ระเบิด

มีลม

๑๕.    ง

นาสิก

๒.    จ

๙.       ช

๑๖.    น

๓.    ด

๑๐.    ท

๑๗.    ม

๔.    ต

๑๑.    พ

๑๘.    ย

ครึ่งสระ

๕.    บ

๑๒.    ฟ

เสียดแทรก

๑๙.    ว

๖.    ป

๑๓.    ซ

๒๐.    ร

รัว

๗.    อ

๑๔.    ฮ

๒๑.    ล

ข้าง

           

            หน่วยเสียงทั้ง  ๒๑  หน่วยเสียงข้างต้น  แบ่งตามลักษณะเสียงได้  ๖  ลักษณะ  ดังนี้

            ๑.  พยัญชนะเสียงระเบิด  เกิดจากขณะเปล่งเสียง  ลมถูกกักไว้ ณ  ตำแหน่งหนึ่งในช่องปาก  จากนั้นจึงพุ่งออกมาโดยแรง  กรณีที่มีกลุ่มลมหายใจเคลื่อนตามออกมา  จะเรียกว่า  พยัญชนะระเบิดมีลม  แต่หากไม่มีกลุ่มลมหายใจเคลื่อนตามออกมา จะเรียกว่า  พยัญชนะระเบิดไม่มีลม  พยัญชนะเสียงระเบิดในภาษาไทย  มี  ๑๑  หน่วยเสียง  ได้แก่  หน่วยเสียง  ก   จ   ด   ต   บ  ป    อ   ค  ช   ท   พ  

            ๒.  พยัญชนะเสียงเสียดแทรก  เกิดจากขณะเปล่งเสียง  ลมถูกบีบให้เคลื่อนผ่านบริเวณที่แคบ   ได้แก่  ริมฝีปากบนกับล่าง  ฟันบนกับริมฝีปากล่าง  ลิ้นส่วนต่างๆ  กับเพดานปาก  และที่ช่องระหว่างเส้นเสียง   พยัญชนะเสียงเสียดแทรก  มี  ๓ หน่วยเสียง  คือ  ฟ   ซ    ฮ

            ๓.  พยัญชนะเสียงนาสิก  เกิดจากเมื่อเปล่งเสียงแล้ว  มีกลุ่มลมหายใจส่วนหนึ่งเคลื่อนออกทางโพรงจมูก   พยัญชนะเสียงนาสิกมี  ๓  หน่วยเสียง  ได้แก่  หน่วยเสียง  ง   น   ม  

            ๔.  เสียงพยัญชนะครึ่งสระ  เกิดจากการเคลื่อนตำแหน่งของอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงสระ  มี  ๒  เสียง  ได้แก่  หน่วยเสียง  ย  ว

            ๕.  เสียงพยัญชนะรัว  เกิดจากลมเคลื่อนผ่านปลายลิ้นที่ยกขึ้นไปแตะบริเวณหลังฟันอย่างรวดเร็วในลักษณะการสั่นสะบัด  ได้แก่  หน่วยเสียง  ร

            ๖.  เสียงพยัญชนะข้าง  เกิดจากลมเคลื่อนออกมาบริเวณข้างลิ้น  ได้แก่  หน่วยเสียง  ล 

            หน่วยเสียงพยัญชนะทั้ง  ๒๑  หน่วยเสียงข้างต้น  สามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยเสียงพยัญชนะต้นและหน่วยเสียงพยัญชนะท้ายได้  ดังนี้

            ๑.  หน่วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว              ทุกเสียงสามารถทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้

            ๒.  หน่วยเสียงพยัญชนะต้นควบ  มี  ๑๑  หน่วยเสียง  ดังตารางต่อไปนี้ 

          

หน่วยเสียงที่

หน่วยเสียง

ตัวอย่าง

กร

กระ     กราบ    กรู     เกรียงไกร     

กล

กลัว     กลาง    กลึง    ไกล

กว

กว่า      กว้าง    แกว่งไกว

คร

ครับ     คร่ำ      ครู       เคร่ง     ขริบ   

คล

คลาด    คล้าย     เคลื่อน    ขลาด    เขลา

คว

ความ    ควาย     ไข่วคว้า    ขวาง    ขว้าง

พล

เพลา   เพลง     พลิ้ว     ผลุบโผล่

พร

พร้อม   พราน    พรู       พริ้ง          

ปล

ปลด   ปลอด     ปลี       เปล่า   

๑๐

ปร

ปรับ     เปลี่ยน      แปลง       โปรด         

๑๑

ตร

ตราด   ตรึง   เตรียม   ไตร

 

            ๓.  หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายหรือพยัญชนะสะกด  มี  ๙  หน่วยเสียง  ดังตารางต่อไปนี้     

 

หน่วยเสียงที่

หน่วยเสียง

ตัวอย่าง

จาก     จักร      มรรค       เมฆ     

วัด       กฎ      ภัทร         โรจน์       วัฒน์

กราบ    กราฟ     กอปร     ภาพ        

จง       โล่ง         อ้าง

กาฬ        กาล     คน      พร     พรรณ      สันต์     

กลม      ตาม     ร่ม      โสม   

กร่อย     เคย       ไป       ไกล   

แวว      วาด        เรา       เศร้า     

?

จะ       ติ       บุ       โละ     

 

            ข้อสังเกต  นักภาษาศาสตร์ถือว่าหน่วยเสียง  ?  เป็นหน่วยเสียงที่เกิด  ณ  ช่องระหว่างเส้นเสียงและเป็นเสียงกักตามหลังเฉพาะเสียงสั้นเท่านั้น  ดังนั้นคำที่ประสมกับสระเสียงสั้นและ  ไม่มีรูปพยัญชนะท้าย  จึงมีเสียง  ?  เป็นหน่วยเสียงสะกด  ดังตัวอย่างในตาราง

          ๓.  เสียงดนตรี

            เสียงดนตรี  หมายถึง  เสียงที่เกิดจากการดัดแปรหน่วยเสียงสระและพยัญชนะให้มีระดับ  สูงต่ำต่างกันออกไป  ซึ่งในภาษาไทย  การทำให้เกิดเสียงสูงต่ำ  ทำให้เกิดความหมายใหม่  นับเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของภาษา เนื่องจากเราบันทึกเสียงดนตรีด้วยตัวอักษรที่เรียกว่า  “วรรณยุกต์”  ดังนั้น  เราจึงเรียนเสียงดนตรีว่า  “หน่วยเสียงวรรณยุกต์”  ซึ่งมี  ๕  หน่วยเสียง  แบ่งเป็นหน่วยเสียงวรรณยุกต์ระดับ  ๓  เสียง   ซึ่งหมายถึง  หน่วยเสียงที่มีระดับความถี่คงที่โดยตลอดตั้งแต่ต้นถึงท้ายพยางค์  และหน่วยเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ  ๒  หน่วยเสียง  ซึ่งหมายถึง  หน่วยเสียงที่ความถี่เสียงช่วงต้นพยางค์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงท้ายพยางค์  หน่วยเสียงวรรณยุกต์ทั้ง  ๔  หน่วยเสียง  สรุปได้ดังตารางต่อไปนี้ 

 

หน่วยเสียงวรรณยุกต์

ลักษณะ

ตัวอักษรแทนหน่วยเสียง

ตัวอย่างคำ

๑.  สามัญ

วรรณยุกต์ระดับ

 

การ     ใคร    ทำ   ปลา  

๒.  เอก

 

จิต      หาก    ไม่    ว่า

๓.  ตรี

 

คะ      โต๊ะ   โป๊ะ  รัก

๔.  โท

วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ

 

ข้า   บ้าน   วาด    โรค        

๕.  จัตวา

 

ขา    จ๋า    สาน    หา   

 

หมายเลขบันทึก: 424763เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2011 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบคุณครับ อาจารย์เฉลิมลาภ
  • แวะมาเติมเต็มความรู้ทางภาษาไทย ให้แข่งแกร่งขึ้นครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท