การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา


กระบวนการสาธารณะอย่างมีส่วนร่วม เพื่อนำสู่สังคมที่เป็นสุข ดังคำว่า พอเพียง จึงเพียงพอ เพื่ออนาคตอย่างยั่งยืน

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา

อ.ปัตพงษ์  เกตสมบูรณ์

 

แลกเปลี่ยนเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา

  • งาน PCU นครราชสีมา โดยการแจ้งชุมชนรู้เรื่องเบาหวานในชุมชน เพื่อให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม โดยซื้อเครื่องเจาะน้ำตาล ให้ คนไข้ดูแลตนเอง ต่อมา
  • งานเวชกรรมสังคม รพ.พิจิตร ในชุมชนมีธนาคารขยะ มีชุมชนนึงที่มีคลองกลางหมู่บ้าน ชาวบ้านทิ้งขยะลงไป นำเสนอปัญหาโดยการทำประชาคม ซื้อขยะวันเดียว 3,500 บาท ขายได้ 7,500 บาท และมีโปรโมชั่น แจกไข่ แจกจักรยาน ปัญหาคือเด็กแย่งขยะ มีความยั่งยืนเพราะเป็นเหมือนสหกรณ์ไปแล้ว
  • งานทันตสาธารณสุข ที่ชุมชนหนองไผ่ ขอนแก่น โดยปกติมีโครงการลงชุมชนทุกปี ทำมา 5 ปี แล้ว โครงการทันตกรรมรร. 5 ปีแล้วไม่ลดลง ทำอย่างไร เพื่อลด ท้ายสุด ผู้ปกครองรับไปแปรงฟันให้เด็ก ผู้ที่เสนอคือตัวผู้ปกครองเอง แต่ยังมีส่วนร่วมน้อย มาร่วม 10 ใน 40 คน การรณรงค์เรื่องเด็กไทย ไม่กินหวาน เป็นต้น
  • งานโครงการครอบครัวเข้มแข็ง แปลงเครื่องมือ เพื่อให้ชุมชนใช้เอง ให้นักวิจัยชุมชน เป็นผู้ลงสำรวจเก็บข้อมูล พบว่างานศพ กินเหล้าเยอะ เสียเงินเยอะ ปีแรกเริ่มทำ ฝืดมาก งานศพยายของคุณเชาวลิต เชิญเจ้าคณะอำเภอ มาเป็นประธาน
  • การดึงการมีส่วนร่วมผู้นำสำคัญ แต่การที่เค้าคิดได้เองจะทำให้ยั่งยืนกว่า
  • งานสถานีอนามัย หากผู้บริหารในชุมชนให้ความสำคัญ มีการประเมินความมีส่วนร่วม ให้แต่ละพื้นที่คิดโครงการเพื่อใช้งบ มีกองทุนดูแล ภายใต้ความเห็นชอบของสอ. และกรรมการหมู่บ้าน บ้างก็สำเร็จ เพราะอสม.บริหารจัดการ บ้างก็สำเร็จเพราะ ชุมชนมีส่วนร่วม แต่ถ้าเปรียบเทียบกับเดิม พบว่าปชช.มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการประเมินมากขึ้น
  • งานสถานีอนามัย สงขลา จากประสบการณ์ที่มีการแก้ปัญหาในพื้นที่ เรื่องไข้เลือดออก เจ้าหน้าที่ต้องเป็น facilitator ผลที่ได้ใช้เป็นมาตรการทางสังคมเพื่อบีบให้แต่ละบ้านนั้น ดำเนินการตามที่ต้องทำ แต่เหตุผลแรกคือ เพราะเกินยอดที่ต้องควบคุม นวัตกรรม คือผู้นำชุมชนเห็นพ้อง ข้อโต้แย้งคือความคิดนี้ไม่ได้มาจากชาวบ้าน และทำอย่างไรให้เค้าคิดได้เอง และ ณ ปัจจุบัน มันไม่ยั่งยืน
  • ไอเดียกำจัดยุง ผ้าสีทึบ เปียก วางล่อยุงไว้ในกล่อง หรือปี๊บ พอเช้าก็ปิดกล่อง  เอาไปผึ่งแดดก็ตาย วันละ มากกว่า 30 ตัว จอหอได้ทำนวตกรรม นี้ แต่ยังไม่มีการเผยแพร่ (อ.ปัตพงษ์ )
  • งานศูนย์อุบัติเหตุ รพ.ขอนแก่น การดึงการมีส่วนร่วมโรงเรียนเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจราจร  โดยลงสำรวจ รร.แก่นนครวิทยาลัย เก็บข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนน แล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารรร. กก นักเรียน เพื่อทราบ และเชิญชวนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า สำคัญอย่างไร น่าจะต้องปรับปรุงอย่างไร

การมีส่วนร่วมตำรวจ ในการตั้งด่าน เริ่มต้นคือมีการบริหารจัดการแบบแนวราบพูดคุยวงเล็กเสนอข้อมูลกับผู้ว่า มีสัมพันธภาพที่ดีเพื่อ  advocacy ผู้ว่ามีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมชุมชนเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจราจร บ้านป่าไม้งาม แวงใหญ่ โครงการร่วมกับ GRSP ได้รางวัลสัมมนาอุบัติเหตุแห่งชาติ  ประเด็นสำคัญคือ การจัดหาเวที ให้ผู้นำชุมชน ได้แสดงผลงานวิชาการ กลายเป็นที่ดูงาน และทำให้เกิดความยั่งยืนในการเป็นแหล่งเรียนรู้

อย่างตัวอย่างในยโสธร ที่มียอดใกล้เคียง zero vision คือ ผู้นำ ท่านผู้ว่ามีนโยบายที่ชัดเจน มีการลงโทษทางวินัยข้าราชการ แต่ในขอนแก่นจากการใช้ข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บ ดูปริมาณผู้บาดเจ็บจากเมาแล้วขับ และจากการดึงข้อมูลตำรวจ เรื่องสัดส่วนการตรวจจับเมาแล้ว และสัดส่วนการจับกุม ที่เห็นคือ พบว่า น้อยกว่า 50% ที่ดำเนินการจับกุม อาจเนื่องจากมีการดำเนินการทางวินัย ทำให้ด่านพิจารณาเอาผิดในเรื่องอื่น เช่น หมวกนิรภัย เข็มขัดนิรภัย

การดึงการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นเรื่องที่ดี แต่ ปัญหาคือพอนโยบายส่วนกลางต้องการยอดบาดเจ็บให้น้อยลง จึงมีการบีบบังคับให้ได้ตัวเลขที่น้อย เพื่อความอยู่รอด เช่น การอุบัติเหตุนอกเขต ไม่นับ ยอดส่งต่อ ไม่นับ ส่งยอดกลับก็ไม่แน่ใจว่าผู้ส่งนับยอดเองหรือไม่  ผลคือไม่สามารถติดตามแนวโน้มที่แท้จริงได้ เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

โดยสรุป ประชุม เสนอข้อมูล หาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ความเป็นเจ้าของ เราสร้างให้เค้าได้หรือไม่ ถ้ามีส่วนร่วมและทำอย่างดี มีข้อมูล เห็นปัญหาจริง มีเวทีสนับสนุน มีsupport ภายนอก ก็ยั่งยืน

วิดิโอ ตัวอย่างการมีส่วนร่วมชุมชน

สมหวัง ชุมชนมีส่วนร่วม ทำส้วมคนพิการ ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการคิด ทำส้วม  ไม่ได้เป็นแค่ห้องน้ำที่ได้มา แต่เป็นกำลังใจ ที่ได้จากชุมชนให้หมดจากความสิ้นหวัง สร้างโอกาสให้เค้าช่วยตัวเอง และ ให้โอกาส คนพิการช่วยกันเอง มาอาศัยเป็นแกนนำในการช่วยเหลือกัน มีการถกกันเสมอ ปัญหาไหนช่วยก่อน  ปัญหาไหนช่วยทีหลัง นี่คือ synergy บูรณาการ สู่โครงการนวัตกรรมการช่วยเหลือกันของคนพิการนำสู่ความยั่งยืน มีการรวมตัวสมาชิกคนพิการทั่วประเทศ

เจ้าหน้าที่เอง ก็ต้องมีการปรับวิธีคิด เพื่อรองรับ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับศักยภาพ และมอบโอกาสให้เค้าทำ

วิดิโอ 2 HIA

ความเร่งรีบ ที่ต้องการให้เจริญ ภาวะไร้ความสงบ ขาดสันติ เป็นเมืองที่ทำให้คนป่วยมากขึ้น ทุกอวัยวะ อีกทั้งโรคระบบหัวใจ และสุขภาพจิต เกิดอะไรขึ้น ทำไมยิ่งพัฒนา ยิ่งป่วย หันไปมองชนบท ผลการพัฒนาที่ใช้ชนบทเป็นฐาน ทรัพยากรเสื่อม ธรรมชาติเสื่อม แรงงานถูกขาย ชนบทเป็นที่ๆคนกลับมาตาย

ปัตตานี ชีวิตขึ้นบนฐานทรัพยากร ถ้าทำเพื่อกอบโกยไม่กี่ปีก็หมด แต่ถ้าทำเพื่อต้องให้มีกินมีใช้อย่างยั่งยืน ก็ต้องระวังใช้อย่างพอเพียง  ต้องเป็นกระบวนการในการเข้าใจร่วม สื่อสาร สะท้อนกลับ เป็นความคิดใหญ่ที่เห็นร่วมเป็นฉันทามติ มีการผนึกกำลังเพื่อการทำงานแบบเครือข่าย มีการคิด วิจัยและป้อนกลับเพื่อหาแนวทางแห้ปัญหาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน กระบวนการนโยบายสาธารณะจึงเป็นคำตอบสุดท้าย โดยพัฒนากระบวนการสาธารณะอย่างมีส่วนร่วม เพื่อนำสู่สังคมที่เป็นสุข ดังคำว่า พอเพียง จึงเพียงพอ เพื่ออนาคตอย่างยั่งยืน

กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อการวิจัยและพัฒนานโยบาย การประเมินผลกระทบเป็นประเด็นหนึ่งที่ทำและให้ความสนใจในการพัฒนา

การมีส่วนร่วมของประชาชนใน HIA บทเรียนจากต่างประเทศ และไทย

ขั้นตอนการทำ HIA

  • Screening
  • Scoping (public)
  • Assessing
  • Reviewing (public)
  • Influencing
  • Monitoring

กระบวนการนโยบายสาธารณะ

ประเวศ วะสี (2543) : สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

  1. การสร้างความรู้หรือการทำงานทางวิชาการ
  2. การขับเคลื่อนทางสังคม
  3. การเชื่อมโยงกับนโยบาย

กระบวนการนโยบาย + กระบวนการวิจัย = evidence base policy

ในไทย เช่นเรารู้ว่าสารเคมีทำให้เกิดมะเร็ง ก็ควรต้องเอามายืนยันเพื่อลดการใช้ยาฆ่าแมลง , เหมืองแร่ทองคำที่จังหวัดเลย การที่ใช้ ไซยาไนด์ เพื่อร่อนทองนั้น จากการประเมิน  EIA ได้แจ้งผลกระทบไว้หมดแล้ว แต่ยังคงมีการดำเนินการ และผลสุดท้ายก็เกิดผลกระทบกับชาวบ้าน  มีปลาตาย พืชผลเสียหาย กินน้ำไม่ได้ อุบัติเหตุจากการขนส่ง

ในต่างประเทศ เช่น แคนาดา จะสร้างเขื่อน มีการประเมินผลกระทบก่อนว่าจะมีผลอย่างไร ตั้งเป้าขายอเมริกา และใช้เอง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม แผนการปกป้องสิ่งแวดล้อม ใช้งบ 5% (30ล้านเหรียญ)ของโครงการ แผนกำกับติดตามถึง ปี 2040 เช่น monitor mercury ที่อาจปนเปื้อนในน้ำ การมีส่วนร่วมให้ชุมชนได้ประโยชน์มีแผนอย่างไร

เจ้าของโครงการใช้วิธีการรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง โดยคนในท้องถิ่น เพราะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการประชุม จัด work shop และอื่นๆ รวมถึงองค์กรเอกชน มีการเปิดรับฟังสื่อ อย่างเสรี ด้วยเวลามากกว่า 5 ปี แล้วนำมารวบรวม

ออสเตรเลีย เมืองเดนเวอร์ สร้างสนามบิน เปิดรับฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้กว้างขวางที่สุด

โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • การสัมภาษณ์
  • ตำรวจในพื้นที่
  • นักธุรกิจ
  • กลุ่มเฝ้าระวัง
  • แพทย์ประจำครัวเรือน
  • ผู้บริหารอปท.
  • คนในชุมชน

วิธีการ เลือกมาสัมภาษณ์

  • แบบกลุ่ม บ้างมาร่วมน้อย บ้างมาร่วมมาก
  • ประเด็นสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ การจ้างงาน จราจร ขนส่งสาธารณะ โครงสร้างพฐ. อุบัติเหตุไฟไหม้ แรงสั่นสะเทือน มลพิษ เสียงรบกวน วิถีชีวิตชุมชน คุณภาพอากาศ น้ำ โรคติดต่อ โรคหอบหืด พิษตะกั่ว

เหมืองเพชรที่แคนาดา ขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อคุณภาพ HIA

  • ทำรายงานประเมินผลกระทบทางสวล
  • เอาไปทำประชาพิจารณ์
  • ปรึกษาหารือ ผู้บริหาร
  • ตั้งกองทุนแบ่งผลประโยชน์ รายได้
  • ใช้หลัก determinant support

Kweitkowski,R.E.,and Ooi,M. (2001)สุขภาวะ-สุขภาพ

เครือข่ายการช่วยเหลือทางสังคม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการหลายครั้งพยายามไม่สร้างสิ่งก่อสร้างถาวร เพราะทำเหมืองเพียง 25 ปี พยามยามรักษา จิตวิญญาณ ของชาวบ้าน

การศึกษา ช่วยท้องถิ่นได้รับการจ้างงาน แม้การศึกษาน้อย

การมีงานทำและสภาพการทำงาน อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การดูแลสัตว์ป่า สิ่งแวดล้อม

รายได้และสถานะทางสังคม สร้างตำแหน่งการก่อสร้างอย่างไร กำหนดเลยว่าครึ่งนึงของรายได้ ให้คนท้องถิ่น  มีการลดการว่างงาน

พฤติกรรมสุขภาพและทักษะการเผชิญปัญหา วางระบบป้องกันเรื่องอุบัติเหตุ ปัญหาเพศสัมพันธ์ การเคลื่อนย้ายแรงงาน การให้ความรู้คนเหล่านี้

บริการสุขภาพ ตั้งกองทุนดูแลหรือไม่ อย่างไร

โดยสรุป คือดูปัจจัยว่ามีอะไรที่คนจะได้รับผลกระทบ แล้วจัดการตรงนั้น (determinants of health ;12 ข้อ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ)

กรณีศึกษา

  • โรงไฟฟ้า ชีวะมวลในนครสวรรค์พบว่า ฝุ่นทำให้ข้าวลีบ หรือไม่ ถ้ามีผลการศึกษาควรต้องกันไว้
  • ที่เลย ผู้ว่าต้องการให้พื้นที่ เป็นป่าสงวน โดยปกติ ชาวบ้านเก็บเห็ด ของป่า มีรายได้ 2,000,000 บาท ต่อเดือน

โดยสรุป HIA ทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ ใช้เวลานานเพื่อครอบคลุมรอบด้าน ประเด็น ไม่ใช้เฉพาะใครป่วยไม่ป่วย แต่ต้องทุกฝ่าย  เดิมทีกรณีศึกษา เขื่อนปากมูลที่อุบล ชาวบ้านครอบครัวแตกสลาย ขาดรายได้ ไปอยู่ต่างถิ่นเอาโรคติดต่อกลับมา  ผลการวิจัยพันธ์ปลา

 

 

ต่างประเทศ

ไทย

การนำเสนอข้อมูลโครงการ

เพียงพอหลายรูปแบบ

จำกัด

การจัดเวที

หลายครั้ง

น้อยครั้ง

งบประมาณ

มาก

น้อย

การประเมินผล

พึงพอใจพอควร

ไม่พึงพอใจ

ทำไมจึงต้องประเมิน HIA

  • เป็นเครื่องมือวัดความห่วงกังวล
  • ปชช.มีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการรับรู้ และรับฟัง
  • ลดความขัดแย้ง เมื่อนำข้อเท็จจริงมาพิจารณารอบด้าน
  • ทำให้เกิดการเรียนรู้ สร้างความสามารถในการดำรงชีวิต ให้มีสุขภาพดี

คำถามต่อทิศทางพัฒนา

  • เป้าหมายพัฒนาอะไรบ้าง
  • มีทางเลือกเชิงนโยบาย ให้บรรลุเป้าเหมายชุมชน
  • แต่ละทางเลือกเกิดผลบวก และลบอย่างไร
  • ควรตัดสินใจอย่างไร ปรับเปลี่ยน ยกเลิก
  • ใครควรทำอะไรบ้าง

 ประเด็นประเมินปัจจัยด้านต่างๆ

 

ผลกระทบ +, -

ขนาดของความรุนแรง

สิ่งที่ประชาชนห่วงและกังวล

มาตรการที่เจ้าของโครงการดำเนินการ

ทรัพยากรธรรมชาติ

 

 

 

 

วัตถุอันตราย ของเสีย

 

 

 

 

การรับสัมผัสมลพิษ

 

 

 

 

อาชีพการจ้างงาน

 

 

 

 

ความสัมพันธ์ของชุมชน

 

 

 

 

มรดกทางศิลปวัฒนธรรม

 

 

 

 

กลุ่มเสี่ยงพิเศษ

 

 

 

 

ระบบสาธารณสุข

 

 

 

 

สาธารณูปโภค

 

 

 

 

ทางเลือก หากประเมินแล้วไม่ยอมรับ

เปลี่ยนเป้าหมาย วิธีการ ขนาด/พท. เทคโนโลยี/เงินทุน การจัดการ/กฎระเบียบ คน/องค์กรรับผิดชอบ

การวิเคราะห์กระบวนการ

  • นโยบายที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ ส่งผลผู้เกี่ยวข้องอย่างไร
  • เครือข่ายนโยบาย ผู้ได้ประโยชน์
  • ขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นกฎหมาย
  • จังหวะ เวลา ช่องทาง และโอกาสทางนโยบาย
  • การประเมิน วิเคราะห์
  • Scenario building

การสร้างฉากทัศน์จำลอง (without or alternative- project scenarios)

  • Forecasting
  • Modeling
  • Benefit identification
  • Environment  monitoring
  • Cost benefit analysis
  • Multi criteria decision analysis
  • Evaluation

สรุปต้องบอกได้ว่า จะลดผลกระทบ อย่างไร เพิ่มผลบวกอย่างไร หรือต้องเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร

การทบทวนผลการประเมิน ประกอบด้วย

มีกรรมการ EIA(คชก.)ซึ่งเป็นผู้ตัดสินหลัก   กรรมการอิสระ(ม.67)   ปชช.ร่วมประเมิน

Deliberative(ถกแถลง พิจารณาอย่างใคร่ครวญ) opinion polls (James Fishkin,2008)

  • Random sampling of population 170-500 คน
  • Hold a conference
  • Expert presentation Ro vs Con
  • Small group discussion
  • Asking expert
  • Repeat step 3-5
  • Poll (voting)

ประเด็นการหาความสมดุล

  • ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับชาวบ้าน
  • โครงการเล็กและโครงการใหญ่
  • จำนวนคนได้รับผลกระทบน้อย-มาก
  • ใครควรเข้าร่วม
  • เป็นตัวแทนจริงของส่วนรวมจริงหรือไม่

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 424102เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท