เยี่ยมแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์


       วันนี้ได้แวะเข้าไปทำธุระใน มทส. เลยถือโอกาสแวะไปเยี่ยมชมแปลงสาธิตและวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ที่บริเวณหลังอาคารกาญจนาภิเศก เทคโนธานี  โชคดีจริง ๆ ที่ได้พบกับ ท่าน ศ. เกียรติคุณ ดร. นันทกร บุญเกิด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์จาก คลินิคเทศโนโลยี (iTAP) กำลังให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของวารสารด้านข้าวในเรื่อง การใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในระบบข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต (Azolla & BOF-SRI) และ เรื่องราวของการทำเกษตรอินทรีย์อยู่พอดี  ซึ่งทางวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดนครราชสีมาได้ประสานเพื่อให้ท่านไปช่วยฝึกอบรมเรื่องนี้ให้แก่เกษตรกรชุมชนบ้านใหม่อุดมในวันที่ ๙ กุมภาพันธุ์ ที่จะถึงนี้พอดี

       อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่เว็บไซต์นี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 423561เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2011 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ปลูกข้าวต้นเดียว แต่แตกกอได้หลายต้น ใช่ไหมครับ หรืออย่างไร เห็นภาพหลายต้นในหนึ่งกอ

แวะมาศึกษาครับ และขอแลกเปลี่ยนด้วยครับ

บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากเกษตรกรส่วนใหญ่ ก็คือว่า

"ทำแล้วดี "กับ "ทำแล้วได้" มันไม่เหมือนกัน ...

 ทำเกษตรอินทรีย์ ทำแล้วดี...ระยะยาว เค้ามองว่าอย่างงั้น (ต้องมีความมุ่งมั่นมาก)

 ทำเกษตรเคมี หรือเชิงเดียว ทำแล้วได้ เป็นระยะสั้น... ต้องรีบผลิตเพื่อใช้หนี้...

"ถ้าจะทำแล้วได้และดี" คือ ทำสองเรื่องควบ เริ่มต้นที่บัญชี ครัวเรือน ครับ

เกษตรกรส่วนใหญ่จ่ายเงินไปแบบไม่รู้ตัว และไม่ได้วิเคราะห์

ทำให้เกิดการขาดทุน ตามมาด้วยหนี้สิน ทำให้หยุด ไม่ได้ ต้องเข้าสู่วงจรอุบาทว์ "หนี้ จน เจ็บ"

เกษตรกรที่หยุด มาทำปลอดสารหรือ อินทรีย์ได้ ...คือ เจอ "จุดพลิกผัน" อาทิ

1."knock คา ไร่นา" ขณะกำลังฉีดยา โชคดีที่รอด จึงได้กลับตัวกลับใจทัน (ที่ไม่พื้นก็เยอะ)

2."เริ่มทำบัญชีครัวเรือน" เริ่มมีข้อเท็จจริง - รู้จ่ายที่จำเป็น รู้จักลด อะไรที่สามารถทำเองได้ -ปุ๋ยคอก น้ำส้มควันไม้ ปุ๋ยหมัก ต่างๆเหล่านี้

3.ยอมรับเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ทำให้ได้เปรียบเทียบ กับที่เคยๆทำมา...

พอเกษตรกร "เริ่มมีเงินเหลือเก็บ" จะใจเย็นพอที่จะพินิจพิเคราะห์ เหตุและผล ได้ว่า ที่ผ่านมา เราเพาะปลูก เราผลิตไปเพื่อใคร ทำเพื่ออะไร ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จะอยู่อย่างสมดุลได้อย่างไร อนาคตลูกหลานจะกลับมาต่อยอด ได้อย่างไร ...

แต่คนที่คิดแบบนี้ได้ อย่าปล่อยให้โดดเดียวครับ  ต้องส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่ม หรือสนับสนุนต่อยอด และเป็นกำลังใจ ให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆต่อไป ...

ตามไปให้กำลังใจได้ที่ http://gotoknow.org/blog/supersup300/423390?page=1#2349487  

 

พี่ใหญ่มาส่งความสุขในช่วง เทศกาลตรุษจีน..ขอให้สมปรารถนาทุกประการค่ะ..

..ขอบคุณบันทึกดีๆที่น่าสนใจนี้ค่ะ..

  • ถูกต้องแล้วครับท่าน โสภณ เปียสนิท Ico48 เวลาปลูกใช้ต้นกล้าเพียงต้นเดียวต่อการปักดำหนึ่งจุด แทนที่จะใช้ ๓-๔ ต้นตามระบบปกติ แต่เมื่อต้นมีการเจริญเติบโตก็จะมีการแตกกอครับ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คลินิกเทคโนโลยี

ขอบคุณ ต้นกล้า มากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน ด้วยแนวคิดดี ๆ มีประโยชน์ ต้องส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่ม หรือสนับสนุนต่อยอด และเป็นกำลังใจ ให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆต่อไป ...อย่างที่ ต้นกล้า แนะนำครับ

ขอบพระคุณ พี่ใหญ่ Ico48 มากครับที่แวะมาส่งความสุขในวันตรุษจีน

ขอให้พี่ใหญ่สมปราถนาทุกประการเช่นเดียวกัน และ "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮ่วนไช้" ครับ

เรียนอ.ครับ ขออนุญาตแลกเปลี่ยนครับ

ผมพอศึกษามาบ้างครับ สำหรับ SRI

แต่จะเป็นการจำกัดความแคบเกินไปในทางปฏิบัติหรือไม่ "สำหรับการปลูกต้นเดี่ยว"ในบริบท ของแรงงานที่ขาดเเคลน และหอยเชอรี่ ที่ยังไม่หมดไปจากนา..

         SRI พัฒนามาจากประเทศที่ยังมีแรงงานเกษตรมาก แต่ผลิตอาหารไม่เพียงพอต่อการบริโภค อย่างมาดากัสการ์ การทำอย่างปราณีต จึงทำได้สำหรับ ครัวเรือนที่มีที่นาน้อย และมีแรงงานเหลือ หรือในกลุ่มหมู่บ้าน ยังคงเหลือภาพของการลงแขกทำนาร่วมกัน

หลักมีอยู่ 1.ใช้ต้นกล้าอายุน้อย วิธีปักดำ  เว้นระยะการปลูกให้เหมาะสม เป็นแถวเป็นแนว

ให้ข้าวดึงศักยภาพตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ จากการเเตกลำ ขยายกอ

ที่สำคัญ 2.คือการ จัดระบบน้ำ เปียกสลับเเห้ง เพื่อให้ระบบรากข้าวได้ทำงานอย่างเต็มที่ (เมื่อปล่อยให้เเห้ง หญ้าก็จะขึ้น ) กรณีมีหญ้าขึ้น ก็ใช้ weeder จัดการ ซัก 2-3 รอบ ลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช   

ในทางกลับกันสำหรับเมืองไทย SRI อาจจะเหมาะสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             แต่สำหรับภาคกลาง เหนือล่าง ภาคเหนือ ที่นาจำนวนมาก แรงงานน้อย ชลประทานทั่วถึงกว่ามาก (เคยแนะนำเกษตรกร ปลูกข้าวต้นเดี่ยว เจอสวนมาบอกว่า "ทำได้นะ แต่ดำ แค่ งานเดียว ก็จอดแล้ว แก่แล้วก้มไม่ไหว ลูกก็ไม่เอาด้วย" )  จึงเหมาะสำหรับการใช้ "เครื่องจักร ปักดำ" เข้ามาช่วย โดยใช้จำนวน ต้นต่อกอ น้อย (ญี่ปุ่น และจีน พัฒนามาจากการตีตารางปลูกข้าว ใช้คนปักดำ มาเป็นเครื่องจักรแทน วิ่งเป็นร่อง รองรับแรงงานขาดแคลน และความมั่นคงทางอาหาร)  และจัดระบบชลประทานที่เหมาะสมเข้ามาช่วย (เปียกสลับเเห้ง หรือ AWD ของ IRRI ช่วย ) ครับ

             ซึ่งรูปแบบการส่งเสริมเทคโนโลยีปักดำ ดังกล่าว จะไม่ขัดแย้งทางความคิดของเกษตรกร (ที่จะให้กลับมาใช้แรงงานซึ่งหายาก ทำนาแบบปราณีต สำหรับคนที่มีนา จำนวนมาก)

             และการปักดำ จะเป็น critical mass ได้ง่ายกว่า และทำได้ในวงกว้าง เป็นการเพิ่มพื้นที่ ลดการใช้ปัจจัยการผลิต เมล็ดพันธุ์ สารเคมีในนา ได้มาก ทำให้สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตเกษตรกรในนาระยะสั้น-ยาวดีขึ้น  ครับ

             ส่วนเเหนเเดง กับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ตอนนี้กำลังศึกษาร่วมกับเกษตรกรที่ใช้เทคโนโลยีปักดำ ...คืบหน้าอย่างไร จะเพิ่มในบันทึกต่อไปครับ

ขอบคุณอาจารย์ครับ ...

ต้นกล้า

ขอบคุณ ต้นกล้า มากครับที่นำข้อมูลมาเสริม แล้วจะรอฟังผลต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท