เมื่อเกษตรเล่าเรื่องเก่า ทั้ง ๆ ที่ยังไม่แก่ (จริง ๆ นะ ^^)


สอนให้เขาหาปลา ไม่ใช่หาปลาให้เขากิน

เมื่อเกษตรเล่าเรื่องเก่า ทั้ง ๆ ที่ยังไม่แก่ (จริง ๆ นะ ^^)

เรื่องเก่า ๆ เป็นอะไรที่ผมระวังที่จะกล่าวถึง เพราะจะรู้สึกว่าอายุมาก..(แก่)... 

และการค้นหา (ค้นพบ) เรื่องราวใหม่ ๆมาบอกเล่า ดูเท่กว่าเป็นไหน ๆ  

แต่นานวันเข้า เรื่องนั้นก็เล่าแล้ว เรื่องนี้ก็พูดแล้ว หลายวันมาแล้วไม่เห็นมีเรื่องใหม่ ๆ ให้พูดเลย.. 

รึว่าจะถึงวัย...อิอิ..

        จังหวะเดียวกันก็มีเรื่องที่เข้ามากระทบ แต่ไม่สามารถพูด หรือบอก ตรง ๆ ได้ จึงขอเล่าเรื่องเก่า..เปรียบเปรยกับเรื่องใหม่ ลองดูนะครับ..ว่าจะเล่าเรื่องเก่าได้เหมือน....หรือไม่..

เมื่อสมัยเด็ก ผมตื่นเต้นกับการไปจับปลาในลำห้วยท้ายหมู่บ้านมาก พอหมดหน้านา น้ำในนาเริ่มแห้ง ปลาที่เคยกระจายไปทั่วทุ่งนากลับมารวมกันอยู่ในลำห้วยทั้งหมดแล้ว แต่ต้นไผ่หนามรอบ ๆ ลำห้วย และที่ล้มลงไปในลำห้วย ช่างเป็นที่หลบภัยของปลาและอุปสรรค์ต่อการจับปลายิ่งนัก

 

        การจะจับปลาในลำห้วยได้ ต้องอาศัย “ผู้มีประสบการณ์” ที่มีความเป็น “มืออาชีพ” ในการ “นำกลุ่ม” โดยเขาเหล่านั้นจะมีเครื่องมือ คือ “แห” คนละหลาย ๆ ปาก (ผืน) ทั้งขนาดตาถี่ และตาห่าง มี “ข้องลอย” ใบใหญ่ ๆ และที่สำคัญ คือ “ตาข่ายกัดปลา” (ทำจากแหเก่าที่ตัดเย็บเป็นผืนยาวกว่าลำห้วย และสูงกว่าระดับน้ำป้องกันปลากระโดดข้าม)

        การกัดปลาดังกล่าว มืออาชีพ จะดูว่าปลา “วัง” (บริเวณ) ใด มีเยอะ ตัวโต และต้องเป็นวังที่มีขนาดกว้างพอเหมาะกับจำนวนคนที่จะร่วมวงในการจับปลาในวันนั้นด้วย

        ตอนเช้าในวันที่ผมหยุดเรียน ถ้าเห็นบรรดามืออาชีพเดินตามกันเป็นกลุ่มไปยังลำห้วยท้ายหมู่บ้าน ผมจะต้องรีบคว้าแหผืนเล็กตาถี่ ๆ ของผมวิ่งตามไปด้วย เป็นการเรียนรู้ “วิชาชีพ” การดำรงชีวิต และวัฒนธรรมองค์กร จากผู้มีประสบการณ์ขั้นสูงเลยทีเดียว..

        เมื่อถึงลำห้วยบริเวณที่หมายตา มืออาชีพจะเริ่มวางแผน แล้วเริ่มกาง (ขึง) ตาข่ายกัดปลาผืนแรกกั้นลำห้วยอย่างเงียบ ๆ ไม่ให้น้ำกระเพื่อมแรง เพื่อป้องกันปลาตกใจหนีไปก่อน แล้วใช้โคลนทับชายตาข่ายให้แน่น ป้องกันปลามุดหนีด้านล่าง

        เริ่มขั้นตอนที่ 2 มืออาชีพจะเตรียมตาข่ายกัดปลาอีกผืนไปเตรียมรออีกด้านของ วังปลา คราวนี้ก็ถึงคราวมือสมัครเล่นอย่างผมและคนอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ไปไล่ต้อนปลาจากอีกฟากกับที่กั้นตาข่ายผืนแรกไว้ ให้ปลาวิ่งเข้าหาตาข่าย ทั้งขย่มกิ่งไม้ในน้ำ ตีน้ำ ให้เกิดเสียงดังที่สุด และเมือมาถึงจุดที่มืออาชีพรออยู่ ก็จะช่วยกัน กางตาข่ายผืนที่ 2 ขวางกันลำห้วย กำหนดเป็น “จุดสังหารปลา” ต่อไป

แล้วงานหนักก็เริ่มต้นขึ้น ทุกคนต้องช่วยกันขน เฮอะ หรือ เหยาะ หรือกิ่งไม้ ขอนไม้ที่จมอยู่ในน้ำบริเวณที่จะจับปลาออกให้หมดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สามารถจับปลาได้สะดวกที่สุด ซึ่งบางครั้งต้องรื้อกอไผ่หนามเป็นกอ ๆ  หรือบางวัง ก็มีต้นไม้ขนาดหลายคนโอบล้มขวางการทำงานของเราเลยทีเดียว

พักใหญ่ผ่านไป เกือบเที่ยงแล้ว ถ้าเป็นหน้าร้อนก็สบายหน่อย น้ำก็จะไม่ลึกมาก แต่ถ้าเป็นหน้าหนาว น้ำเย็น ๆ เล่นเอาหลายคนเริ่มสั่น หลายคนได้แผลจากการเหยียบหนามไม้ไผ่ใต้น้ำ การขนกิ่งไม้หนามขึ้นจากน้ำไม่สนุกนักสำหรับเด็กตัวเล็ก ๆ อย่างผม แต่เมื่อทุกคนใน ทีม ทำงาน ผมก็ไม่สามารถนั่งดูเฉย ๆ ได้

แล้วผลงานอันน่าประทับใจก็เริ่มประจักษ์แก่สายตา บริเวณระหว่างตาข่ายกัดปลาทั้งสองเริ่มโล่ง จะมีบ้างก็เป็นตอไม้ หรือต้นไม้ที่ไม่สามารถจะยกออกได้จริง ๆ

น้ำบริเวณนั้นถูกกวนจนเริ่มขุ่น ปลาไม่มีที่หลบซ่อน บางตัวเริ่มว่ายไปชนตาข่ายตึกตัก บ้างก็กระโดดผลุงขึ้นชนตาข่ายด้านบนเรียกเสียงฮือฮาของคนที่เก็บกิ่งไม้ใกล้ ๆ น่าตื่นเต้นนัก บางตัวก็โดนมืออาชีพจับด้วยมือเปล่าไปนอนในข้องลอยเรียบร้อยแล้ว ส่วนมือใหม่อย่างผมได้แต่ลูบผ่านหลังปลาที่วิ่งผ่านไปมา ไม่ไวพอที่จะจับปลาในลำห้วยด้วยมือเปล่าได้ บรรยากาศเริ่มตื่นเต้นพาให้ลืมเหนื่อย อยากขนกิ่งไม้โยนขึ้นฝั่งให้หมดเร็ว ๆ จะได้เริ่มลงมือทอดแหเสียที

แล้วการ ยึดครองพื้นที่ ก็เริ่มขึ้น มืออาชีพแต่ละคนต่างเลือกมุมที่ตัวเองหมายตาไว้ว่าน่าจะมีปลาเยอะที่สุด ส่วนมือสมัครเล่นอย่างผมก็เลือกบริเวณที่ไม่ลึกเกินไป ไม่มีตอไม้ใหญ่ และแน่นอน ไม่ค่อยมีปลาใหญ่ ด้วย 555

ความสนุกสนานเริ่มต้นขึ้นเมื่อแหขนาดต่าง ๆ ถูกเหวี่ยงออกไป แล้วปลาขนาดต่าง ๆ ก็ถูกจับขึ้นมา หลายคนมีแหหลาย ๆ ปาก(ผืน) บางครั้งเหวี่ยงแหออกไปครอบปลาไว้แล้วปล่อยให้ปลาวิ่งวนในแหจนเหนื่อยก่อน ตัวเองเอาแหอีกปากไปหว่าน(ทอด)อีกที่ เป็นการบริหารเวลาที่สุดยอดเลยทีเดียว

 ความตื่นเต้นมีให้เห็นเป็นระยะ เมื่อมีคนมุดลงไปไล่จับปลาในแหของตัวเองอย่างเอาเป็นเอาตาย เห็นเพียงเท้าสองข้างตีน้ำไหว ๆ สักครู่ก็โผล่ขึ้นมาพร้อมกับปลาช่อนตัวเท่าโคนขาบ้าง ปลาดุกตัวเท่าแขนบ้าง ปลากดตัวเขื่อง ๆ หรือปลาเค้าตัวยาวเป็นวาบ้าง นำไปใส่ในข้องลอยที่ผูกไว้ริมห้วยครั้งแล้วครั้งเล่า

 

แหผืนเล็ก ๆ ตาถี่ ๆ ของผมไม่สามารถจับปลาตัวโต ๆ ได้ แต่ภาพที่เห็น ล้วนเป็นแรงบันดาลใจว่า สักวันหนึ่ง ผมจะต้องจับปลาตัวโตแบบนี้ได้บ้าง (ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน) ผมจึงต้องคอยสังเกตว่า เขาเลือกทำเลทอดแหอย่างไร สังเกตการฮุบน้ำของปลาเล็กปลาใหญ่อย่างไร ปลา(วิ่ง)ว่ายไปทางไหน เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง มีมืออาชีพ ทำให้ดู(ไม่ใช่ทำให้) อยู่ให้เห็น และยังพยายาม สอนให้เราทำเป็น ในบางครั้ง (สอนให้จับปลา ไม่ใช่หาปลาให้กิน)

 

เริ่มบ่าย เริ่มหิว เริ่มหนาว กองไฟถูกจุดขึ้นทั้งสองฝั่งลำห้วยตามสะดวก ปลาบางสวนถูกนำมาเผาไฟร้อน ๆ ข้าวเหนียว แจ๋วปลาร้ามืออาชีพเขาเตรียมมาพร้อม ผมเพียงเดินเก็บผักกระโดน ผักไคร้หางนาก แถวริมห้วยมาก็ได้รับสิทธิ์ร่วมวงอาหารเที่ยงตอนบ่าย ๆ ริมห้วยอันโอชะทันที ส่วนน้ำดื่มก็จะมีบ่อที่ขุดไว้ข้าง ๆ ลำห้วยแก้กระหาย

 กินไปมองดูปลาในห้วยไป วิ่งแข่งกันคว้าแหเหวี่ยงไปยังที่ปลาขึ้นฮุบหายใจไปอย่างสนุกสนานตรึงใจนัก

บ่ายคล้อย ตาข่ายกัดปลาทั้งสองข้างถูกรื้อ กิ่งไม้กิ่งไผ่ถูกโยนกลับลงไปในน้ำให้ปลาได้อาศัยเช่นเดิม เราเดินเข้าหมู่บ้านพร้อมกับฝูงวัวควายที่เดินกลับคอก เสียงปลาดิ้นขลุกขลักในข้องลอยใบใหญ่ของหลาย ๆ คน บุญบ้านปีนี้คงทุ่นค่าเนื้อวัวได้โขเพราะปลาชุมนัก  ยิ่งปลาช่อนตัวเขื่องขังไว้ได้หลายวัน ทำน้ำยาขนมจีนอร่อยสุด ๆ ผมชื่นชมผู้คนรอบ ๆ เงียบ ๆ ขณะถือข้องใบเล็ก ๆ ที่มีปลาตัวเล็กตัวน้อยพอประมาณ

>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<< 

ปัจจุบันลำห้วยไร้กอไผ่รอบ ๆ เหมือนเคย ปลาก็เหลือน้อยมาก ๆ ผมไม่ได้ทอดแหมาหลายปี แต่งานบางอย่างที่ทำอยู่บางครั้งก็เป็นการบุกเบิก เหมือนกับการรื้อกิ่งไผ่หนามออกจากน้ำ เพื่อให้สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านได้

แต่หลาย ๆ ครั้งที่เมื่อผมบุกเบิกไว้ในหมู่บ้านใด รู้สึกว่าจะมีกลุ่มคนที่คอยตามเข้าไปแอบจับปลา พร้อมกับวางยาเบื่อปลาไว้ จนผมไม่สามารถจับปลาด้วยแหอย่างถูกต้องได้อีก แทบหมดกำลังใจในการบุกเบิกขวากหนามเลยทีเดียว

ล่าสุด มีคนบอกให้ผมช่วยไปรื้อกิ่งไม้หนามให้เขา เพื่อเขาจะได้จับปลาได้สะดวก ไม่โดนหนามเกี่ยว...

ผมอยากสอนให้เขาหาปลา แต่เขาอยากให้ผมรื้อหนามออกให้อย่างเดียว..โดยไม่ให้สิทธิ์ผมหาปลาในหนองนั้นเลย...????

 

 

หมายเลขบันทึก: 422744เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2011 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

สวัสดี เจ้า

เอ หรือว่า เราจะช่วย จัดการหนามให้เขา แล้วเอาหนามทิ้งลงในน้ำ ดี เนอะ

สวัสดีค่ะ

คลิกดอกไม้ไม่ได้ค่ะ  เอาแค่ถูกใจนะคะ

ความคิด..ที่ขาดการเล็งการณ์ไกลของเขา ขอสบายไว้ก่อน และรอเป็นผู้รับอย่างเดียว หมดแล้วหาใหม่  เห็นสังคมเป็นแบบนี้ค่ะ

ยังไม่ลงมือทำก็กลัวอุปสรรคเสียแล้ว

  • สวัสดีครับท่านเกษตร(อยู่)จังหวัด
  • เขาว่าคนเก่า(แก่)มักจะชอบพูดเรื่องเก่าๆ
  • อิอิ..
  • ในหลวงท่านทรงสอนไว้..
  • ...ปิดทองหลังพระครับ
  • จะได้สบายๆ
  • ไม่ได้เจอกันนาน...สบายดีนะครับท่าน

มาบอกอีกทีว่า เก่า...และไม่แก่ ฟันธง อิอิ

สวัสดีครับครูใหม่

โยนหนามลงน้ำให้ปลาอาศัยต่อครับ..

รอยแผลยังอยู่ที่มือ อิอิ

ยังไม่ลงมือทำก็กลัวอุปสรรคเสียแล้ว

แป๋วววว...

โดนพี่ครูดุเสียแล้วเรา..^^

...แค่บนให้ฟัง(แต่ยังไม่แก่ อิอิ)..

ได้รับปากเขาแล้วก็ต้องไปครับ..รื้อหนามให้เขา..

คราวหน้าจะได้ถามให้ชัดเจนก่อน...

แต่แหม..ผมเรียนรู้มาจากการทำให้ดูทั้งนั้นนี่ครับ

พอมาเจอ..ให้ทำให้ทั้งหมด..ผมไม่ใช่ลูกน้องเขาซักหน่อย..

...ปิดทองหลังพระไม่มีหนามนะครับ...

แต่รื้อหนาม..หนาว..กับหนามเลยครับ..ท่านสิงห์... อิอิ

ถูกใจ สองครั้งค่ะ อิอิ

กดครั้งที่ 1 เป็นถูกใจ..

แต่พอกดครั้งที่ 2 กลายเป็น เลิกชอบ

แบบกดสวิทย์ไฟ..กดเด-ปิด สลับกัน แบบนั้นหรือเปล่า อิอิ

มาบอกอีกทีว่า เก่า...และไม่แก่ ฟันธง อิอิ

อันนี้ชอบ 555

เรียน คุณปรีดา ผมน้องใหม่ เพิ่งนำเสนอแนวคิด ฝากข้อคิดถึงผมด้วย เป็นพระคุณยิ่ง

สวัสดีค่ะ

พี่งเล่าเรื่องการจับปลาตอนเด็กๆให้ลูกชายฟัง เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานี้เอง

ได้มาอ่านที่บันทึกนี้อีกดีจังค่ะ  ขอบคุณมากนะคะ

 

 

แหมคุณยายหาปลาเก่งนะครับ...

ไม่ต้องเปียกน้ำ ไม่โดนหนามตำเลย อิอิ

สวัสดีครับคุณกานดา...

มีเรื่องเก่า ๆ เล่าให้เด็ก ๆ ฟังเหมือนกัน...

แต่ยังไม่แก่เหมือน ๆ กัน..ใช่ไหมครับ ^^

  • เยี่ยมมาก
  • เป็นคนชอบหาปลาเหมือนกัน
  • แต่ตอนนี้เลิกทำบาปแล้ว
  • เข้าใจเอาสองเรื่องมาเปรียบเทียบกันได้
  • ดีจริงๆๆ
  • เข้าใจเอาสองเรื่องมาเปรียบเทียบกันได้
  • ดีจริงๆๆ
  • อิอิ ก็มันอึดอัด..พูดไม่ได้

    เพราะถูกสอนมาให้หาปลาเอง...ภูมิใจในปลาเล็ก ๆ ที่หามาได้ สร้างแรงจูงใจในปลาใหญ่ที่ ครู..จับให้ดู..

    ไม่ใช่จะคอยแอบโขมยปลาคนอื่น คอยเจาะให้ยางแบน..เฮ้อ...

    อ๋อ..คนกาญจน์ฝากถามว่า..เมื่อไหร่ อ.ขจิตจะเป็นฝั่งเป็นฝาซะที...

    เป็นแต่หลังคาอยู่ได้ 555

    • สวัสดีค่ะ
    • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ
    • ขอบคุณค่ะ

                            

    รูปภาพ ดอกกุหลาบ รูปดอกกุหลาบ สื่อรักแทนใจ วันวาเลนไทน์Happy Valentine day na krab...ขอให้ทุกคนมีความสุข สมปรารถนาทุก ๆ เรื่องที่หวังนะครับ

    สวัสดีครับน้องบุษ

    สุขสันต์วันวาเลนไทน์ครับ..

    ดอกไม้กับเปลวเทียน..หวานซะ...คิดย้อนอดีตไปหลายปีเชียว อิอิ

    โอ้โห ท่านเบ

    กุหลาบสีหวานลายสวย..แปลก ๆ สวยมากครับ

    ขอบคุณมากมายเลยครับ..^^

    • สวัสดีค่ะ
    • แวะมาเยี่ยมเยือนหลังจากห่างหายไปนาน แต่ยังระลึกถึงกันเหมือนเดิมค่ะ
    • วันนี้ได้นำหนูน้อยน่ารักมาแนะนำกันค่ะ อย่างไงก็ฝากไว้ในอ้อมอกอ้อมใจอีกคนนะค่ะ 
    • ด้วยความระลึกถึงค่ะ
    • ขอบคุณค่ะ

                                       ภาพขนาดย่อ

    ว๊าว..น้องบุษ..

    บ่าย ๆ มาเปิดดู..หายง่วงเลย..^^

    ขอบใจหลาย ๆ คัก ๆ จ้า..

    (สอนให้จับปลา ไม่ใช่หาปลาให้กิน)

    ชอบคำนี้ มากนะครับ ทำให้ ผมคิดถึงบุคคลท่านหนึ่ง ที่ผมเคยไปขอความรู้ ท่านพูดว่า...สอนให้คนที่ทำมาหากิน แต่ไม่สอนให้กับพวกที่เอาความรู้ที่แกถ่ายทอดไปหากิน

    ..

    ขอบคุณมากนะครับ

    โห..คมมากเลยครับคุณแสง...

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ...

    ชอบมากๆ เลยจร้า... ได้ข้อคิด เยอะนะเนี่ย  (นานๆ จะมีซักครั้ง)  ฮ่า ๆๆๆๆ (ล้อเล่นอะนะ...ม่ายเอา ไม่หน้างอ  ยิ้มก่อนๆ แร้วๆๆๆ)

    ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน ถูกต้อง และจริงมากค่ะน้องปรีดา...

    อ้อ...ตัวหนังสือใหญ่โต ซะใจจริงๆ  

    คิดถึงนะจ๊ะ...

    สวัสดีครับพี่ครู..

    นาน ๆจะเขียน  ก็เลยนาน ๆ มี อิอิ

    อ่านแล้วยิ้มแป้นเลยละ ^^

    ....ดีใจที่พี่สาวยังคิดถึงน้องชาย...

    เพราะน้องชายระลึกถึงพี่สาวใจดี..เสมอ ๆ

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท