แพทุ่นเงินที่นครปฐม :2


ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประโยชน์สังคมโดยรวม

ทุ่นสำหรับทำแพที่ผมประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เองนี้ ทำมาตั้งแต่ปี 2536-37 แรกเริ่ม

เดิมทีก็ยังไม่มีชื่อ เพิ่งจะมามีชื่อเรียกว่า " ทุ่นเงิน " เมื่อปี 2547 เป็นชื่อที่เรียก

ตามเครื่องหมายการค้าที่ผมได้จดทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น ยังไม่เคยทำเป็นการคัา

เลยตั้งแต่ต้น เพราะไม่กล้าทำ กลัวเจ๊ง ( ไม่มีพื้นฐานทางการค้าการขายเลย )

ทุกวันนี้ทำเพียงแค่ปลูกผักปลูกหญ้า ไว้กินไว้ใช้ เหลือก็แบ่งปันกันไป อยู่ที่

อุตรดิตถ์

 

แพทุ่นเงินที่นครปฐมหลังนี้ ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ตั้งแต่ปี 2548 ฝากให้น้าชายช่วย

ดูแลให้บ้างเป็นครั้งคราว สภาพจึงทรุดโทรมลงไปมาก ต่างจากตอนที่ผมยังอยู่ที่

แพอย่างชัดเจน ผมลงมาเห็นแล้วก็อดใจหาย เสียดายบ้านที่เคยอยู่มา บางครั้ง

เคยนึกอยากจะรื้อย้ายไปปลูกเป็นแพทุ่นเงินหลังใหม่ ที่อุตรดิตถ์ เพราะอยู่ริม

แม่น้ำน่าน บรรยากาศก็ดีต่างกันไปอีกแบบ

 

ที่นครปฐมอยู่ในบ่อทราย ( บ่อน้ำที่เกิดจากการดูดทรายขายจนหมดแล้ว กลาย

เป็นบ่อน้ำ เวิ้งว้างคล้ายทะเลสาบแต่เล็กกว่า ) น้ำนิ่ง หากมาปลูกที่อุตรดิตถ์ ใน

แม่น้ำน่าน น้ำไหล ยิ่งหน้าน้ำก็ยิ่งไหลแรง ไหลเชี่ยวมากด้วย ก็จะเป็นการทด

ลองให้เห็นจริงในอีกขั้นหนึ่งว่า ในน้ำไหล " ทุ่นเงิน " ของผมจะใช้เป็นทุ่นแพ

ได้อีกหรือไม่ อย่างไร ความรู้ก็จะได้แตกดอก ออกกอ แทงช่อต่อไป แต่ก็ยัง

ไม่ได้ตัดสินใจ ยังรอความพร้อมอีกบางด้าน

 

ผมเพิ่งจะเล่นคอมพิวเตอร์เป็น เมื่อต้นปี 2553 แทบจะทุกครั้งที่เข้าไปใน

อินเตอร์เน็ตมักจะผ่านตา gotoknow.org เสมอ ๆ บางครั้งก็เข้ามาดูข้อมูล

จากบล็อกต่าง ๆ เช่น เรื่องยางนา ของคุณชัด ชัยนาท  เรื่องทำนาไม่ไถ

ของท่านอาจารย์ ดร.แสวง รวยสูงเนิน และท่านอื่น ๆอีกหลาย ๆ ท่าน ขออภัย

ที่เอ่ยชื่อไม่ได้ทั้งหมด ทำให้ผมได้รับความรู้ในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกมาก

ต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย

 

ประมาณต้นเดือน ม.ค. 2554 ที่ผ่านมา ผมได้มาอ่านเรื่อง การจัดการความรู้

กับบล็อกใน gotoknow.org นี้ พอเข้าใจได้บ้างบางส่วน เกิดความรู้สึกมอง

เห็นคุณค่าของความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่ และคุณประโยชน์ของการแลกเปลี่ยน

เรียนรู้ซึ่งกันและกัน จึงได้ตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกและเปิดบล็อกที่

gotoknow.org นี้ ด้วยหวังว่า ความรู้เล็กน้อยที่ผมมีอยู่เกี่ยวกับ " ทุ่นเงิน "

ทุ่นสำหรับใช้ทำแพโดยเฉพาะ ทุ่นทำแพแบบใหม่สุด ทำด้วยปูนซีเมนต์นี้

จะได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพรัอม ๆ กันกับท่านทั้งหลาย ประโยชน์สุด

ท้ายจะได้ตกอยู่กับสังคมโดยรวมต่อไป

 

ทั้งหมดที่กล่าวมา คือ ความในใจที่ทำให้ยังไม่รื้อย้ายแพทุ่นเงินที่นครปฐม ไป

อุตรดิตถ์ เพื่อให้มีของจริงไว้ให้ท่านทั้งหลายได้ดู เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไป

ด้วยกัน

 

หมายเลขบันทึก: 422666เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2011 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณสำหรับดอกไม้จากอาจารย์ ดร.จันทรวรรณ มาก ๆ ครับ

สวัสดีครับ พี่เชษฐ์ ทุ่นเงินอยากเห็นภาพ

ชอบวาทะนี้ครับท่าน(ทุ่นทำแพแบบใหม่สุด ทำด้วยปูนซีเมนต์นี้

จะได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพรัอม ๆ กันกับท่านทั้งหลาย ประโยชน์สุด

ท้ายจะได้ตกอยู่กับสังคมโดยรวมต่อไป)

สวัสดีครับคุณวอญ่า ขอบคุณครับที่ชอบ ผมตั้งใจที่จะทำเช่นนั้นจริง ๆครับ

คุณวอญ่าเข้ามาร่วมเรียนรู้เรื่อง "ทุ่นเงิน"ไปพร้อมกันกับผม และท่านอื่น ๆ

เข้าใจและเชื่อมั่นดีแล้ว หากมีโอกาสจะใช้ก็นำไปใช้ หรือไม่ก็บอกต่อ

รูปแพทุ่นเงินมีอยู่ที่บันทึกแรก ลองย้อนกลับไปดูซิครับ

สวัสดีค่ะ คุณลุง

ดีใจจังที่ได้มาเรียนรู้เกี่ยวกับทุ่นเงินในบันทึกนี้ ภูมิปัญญาการคิดค้นของคนไทยไม่แพ้ใครเลยนะคะ

หนูมาเป็นกำลังใจให้ค่ะ :)

ขอบคุณครับคุณมะปรางเปรี้ยว ขอบคุณในกำลังที่ให้มา คุณมะปรางเปรี้ยวก็มีส่วนในการตัดสินใจที่จะเปิดบล็อกนี้เช่นกัน

หากมีสิ่งใดจะแนะนำ ผมยินดีครับ

..สวัสดีค่ะคุณเชษฐ์..ขอบคุณเรื่องราวที่นำมาแลกเปลี่ยนเพราะกำลังสนใจเรื่องราวของทุ่นซีเมนต์อยู่..บังเอิญเห็นเรื่องนี้ของคุณเชษฐ์..เลยได้ความรู้และความรู้สึกเติมเต็มได้อีก..มีโอกาศไปนครปฐมได้ในระยะนี้ อยากไปดูแพนี้..จะได้ไหมคะ...ยายธีค่ะ

สวัสดีครับ คุณยายธี

ขอบคุณที่สนใจ ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะถ่ายทอดประสบการณ์เรื่อง แพทุ่นเงินให้กับคุณทุกสิ่งทุกประการ รายละเอียดอยู่ในอีเมลของคุณแล้ว

มาเยี่ยมชมและอ่านเรื่องแพปูนทุ่นเงินครับ

ขอบคุณอาจารย์โสภณครับที่แวะมาเยี่ยม มีอะไรจะแนะนำเชิญได้นะครับ

สวัสดีค่ะ

        มาศึกษาเรื่อง "แพทุ่นเงิน"ค่ะ

        ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ

                    

ขอบคุณคุณ KRUDALA เช่นกันครับ สำหรับภาพสวยๆ ที่นำมาฝาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท