โรงเรียนชาวนาระดับมัธยม (๖)_๒



                  


ภาพที่  28  แถบสีมาตรฐาน

ไนเตรท

ภาพที่  29  แถบสีมาตรฐาน

โพแทสเซียม

ภาพที่  30  แถบสีมาตรฐาน

แอมโมเนียม

 

             หลังจากที่ได้เขย่าๆผงดินกับน้ำยาสกัดให้เข้ากันแล้ว  กรองน้ำยาสกัดก็แล้ว  ใส่น้ำยาเบอร์ต่างๆก็แล้ว  กว่าจะได้น้ำที่มีสีหลากหลายออกมา  ก็ทำให้นักเรียนชาวนาเหงื่อตกเหงื่อไหลกันเป็นแถวๆ  ปนๆกับเสียงอ่านขั้นตอนการทดลอง  ปนๆกับเสียงตะโกนถามกันด้วยความไม่มั่นใจที่จะใส่น้ำยาเบอร์อะไร  จำนวนเท่าใดกันแน่  ...  แต่บรรยากาศกลับสนุกสนาน  เป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้

             อ้าวๆ...  ใครจะเป็นหมอดิน...  ว่ากันอย่างไรดี  สรุปได้หรือยังว่าในดินมีอะไร  ดินเป็นอย่างไร  นักเรียนชาวนาแต่ละคนต่างแสดงผลจากน้ำสีที่อยู่ในหลอดแก้ว  แต่ละคนก็มีสีต่างกันออกไปบ้าง  มีสีที่เหมือนกันบ้าง 

             นักเรียนชาวนาหลายคนเลยทีเดียว  เริ่มวิตกกังวลอย่างหนัก  เพราะว่าสีนั่นเอง  กล่าวคือ  เมื่อผลการตรวจสอบดินของแต่ละคนออกมาแล้ว  ก็ใจหายกันเป็นแถวๆ  บางคนก็บอกว่า  อยู่กับดิน  เป็นชาวนามาตั้งแต่เกิดแล้ว  ก็ยังไม่เคยรู้ว่าดินที่ตนเองดูแลรักษาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี่เป็นอย่างไรกัน  คำตอบที่เกิดขึ้น  เป็นผลทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าในดินแต่ละท้องนาของแต่ละคนเป็นอย่างไร 

             คราวนี้  ลองมาพิจารณาดูผลการตรวจสอบดินจากแปลงนาจำนวน  15  กรณี  ทั่วหมู่บ้าน  มีความ เป็นไปดังต่อไปนี้

กรณีที่

ระดับของปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน  (ดินจากนาข้าว)

ไนเตรท  (NH6)

แอมโมเนีย  (NH+)

โพแตสเซียม  (K)

1

ระดับต่ำ  (L)

ระดับปานกลาง  (M)

ระดับต่ำ  (L)

2

ระดับต่ำ  (L)

ระดับปานกลาง  (M)

ระดับต่ำ  (L)

3

ระดับสูง  (H)

ระดับต่ำ  (L)

ระดับต่ำ  (L)

4

ระดับต่ำ  (L)

ระดับต่ำ  (L)

ระดับปานกลาง  (M)

        5

ระดับต่ำมาก  (M)

ระดับสูงมาก  (VM)

ระดับปานกลาง  (M)

6

ระดับต่ำ  (L)

ระดับต่ำ  (L)

ระดับปานกลาง  (M)

7

ระดับต่ำ  (L)

ระดับต่ำ  (L)

ระดับต่ำ  (L)

8

ระดับต่ำ  (L)

ระดับสูงมาก  (VH)

ระดับสูงมาก  (VH)

9

ระดับต่ำ  (L)

ระดับสูง  (H)

ระดับต่ำ  (L)

10

ระดับต่ำ  (L)

ระดับปานกลาง  (M)

ระดับปานกลาง  (M)

11

ระดับต่ำ  (L)

ระดับต่ำ  (L)

ระดับสูง  (H)

12

ระดับต่ำมาก  (VL)

ระดับสูงมาก  (VH)

ระดับปานกลาง  (M)

13

ระดับต่ำ  (L)

ระดับต่ำ  (L)

ระดับสูง  (H)

14

ระดับต่ำมาก  (VL)

ระดับปานกลาง  (M)

ระดับต่ำ  (L)

15

ระดับต่ำมาก  (VL)

ระดับปานกลาง  (M)

ระดับปานกลาง  (M)

          ธาตุ

ระดับ

ไนเตรท  (NH6)

แอมโมเนีย  (NH+)

โพแตสเซียม  (K)

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

ต่ำมาก  (VL)

4

26.6

0

0

0

0

ต่ำ  (L)

10

66.7

6

40.0

6

40.0

ปานกลาง  (M)

0

0

5

33.3

6

40.0

สูง  (H)

1

6.7

1

6.7

2

13.3

สูงมาก  (VH)

0

0

3

20.0

1

6.7

รวม

15

100.0

15

100.0

15

100.0

             จากการตรวจสอบดินของนักเรียนชาวนา  จำนวน  15  แปลง  พบว่า  ดินในนาของนักเรียนชาวนาส่วนใหญ่  มากกว่าร้อยละ  90  มีไนเตรท  (N)  อยู่ในระดับที่ต่ำ  ร้อยละ  66.7  และรองลงมาอยู่ในระดับต่ำมาก  ร้อยละ  26.6     ส่วนแอมโมเนีย  ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ  ร้อยละ  40.0  รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง  ร้อยละ  33.3     และในส่วนของโพแตสเซียม  (K)  ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปานกลาง  ร้อยละ  40.0  และอยู่ในระดับที่ต่ำ  ร้อยละ  40.0

             หลังจากที่นักเรียนชาวนาทราบแล้วว่าในดินมีธาตุอาหารอะไร  อยู่ในระดับไหนกันแล้ว  จึงทำให้นักเรียนชาวนาบางคนใจคอไม่ค่อยดีไปตามๆกัน  เพราะผลการตรวจสอบดินในนาของตน  มีธาตุอาหารบางอย่างอยู่ในระดับต่ำหรือต่ำมาก  จึงเป็นเหตุให้แต่ละคนคิดมากไปตามๆกัน  เป็นเหตุให้ตุณอำนวยต้องทำการชี้แจงแถลงไขให้กับนักเรียนชาวนากันยกใหญ่ว่า  ไม่ต้องไปวิตกกังวลอะไรทั้งนั้น  ให้ทุกคนดำเนินการปลูกข้าวปลูกผักอะไรกันต่อไป  ในขณะเดียวกันก็ค่อยๆเรียนรู้วิธีการบำรุงดินกันไปด้วย ให้รู้และเข้าใจว่า  ลักษณะดินที่ธาตุอาหารอย่างนั้นอย่างนี้  มากน้อยในระดับนั้นระดับนี้  ควรจะต้องทำอะไรกันอย่างไร  แล้วสุดท้ายก็จะสามารถปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้นได้เป็นลำดับๆไป  ...  นักเรียนชาวนาจึงโล่งอกโล่งใจ  และมุ่งมั่นเพื่อจะทำให้ดินดี  แล้วจึงจะได้ข้าวดี 

ข้อมูลเพิ่มเติม

ธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช

ธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช  (ต่อ)

ธาตุอาหาร

ประโยชน์ของธาตุอาหาร

ลักษณะอาการเมื่อขาดธาตุอาหาร

ไนโตรเจน

·      ส่วนประกอบของสารคลอโรฟิลสีเขียว
·      การพัฒนาเซลล์ต่าง ๆ  ของพืช
·      เร่งการเจริญเติบโตทางต้นและใบ

 

·      ใบแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวซีด หรือขาวปนเหลือง ใบร่วง
·      ต้นแคระแกร็น  การเจริญเติบโตหยุดชะหงัก
·      ส่วนยอดและรากหยุดการเจริญเติบโต
·      การอออกดอกลดลง
·      ถ้ามีมากเกินไปใบจะเป็นสีเขียวเข้ม  เฝือใบรากไม่เจริญเติบโต  และต้นล้ม

ฟอสฟอรัส

·      ส่วนประกอบสำคัญของเชลล์ /

      การแบ่งเชลล์
·      กระตุ้นการพัฒนาของราก
·      เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาดอก  ผล  และเมล็ด

·      ลำต้นใบแก่ล่างมีสีแดงอมม่วง
·      ลำต้นแคระแกร็น
·      รากสั้นไม่พัฒนา
·      ออกดอกและติดผลช้า

โพแตส-

เซียม

·      การสังเคราะห์แสง  การหายใจ

      การสังเคราะห์โปรตีน
·      การเคลื่อนย้ายสารที่สังเคราะห์ได้จากใบ
·      ทำให้เมล็ดใหญ่และมีคุณถาพดี

·      ปลายใบแก่และขอบใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  จากนั้นก็จะเริ่มแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้  แล้วลุกลามเข้าสู่กลางใบ
·      ต้นโตช้าและแคระแกร็น
·      ลำต้นไม่แข็งแรง
·      รากไม่เจริญเติบโต  รากเน่า ต้นล้ม

ธาตุอาหาร

ประโยชน์ของธาตุอาหาร

ลักษณะอาการเมื่อขาดธาตุอาหาร

แคลเซียม

·      เป็นองค์ประกอบของผนังเชลล์
·      สำคัญต่อการแบ่งเซลล์
·      ทำหน้าที่เป็นตัวล้างพิษให้กับพืช

·      ใบอ่อนจะโค้งงอ  ริมขอบใบหงิกงอ  ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  อาจมีจุดสีน้ำตาล
·      ยอดหงิก
·      การเจริญเติบโตของตาและปลายรากหยุดชะงัก
·      ถ้ามีมากจะเป็นพิษกับพืช

แมกนี-เชียม

·      สำคัญต่อการสังเคราะห์แสง
·      ช่วยให้น้ำตาลในพืชเคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่างๆ ของต้นพืช

·      ใบล่างเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  แต่เส้นใบยังเป็นสีเขียว

กำมะถัน

·      องค์ประกอบของโปรตีน
·      องค์ประกอบของวิตามิน

·      ใบอ่อนและยอดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนหรือเหลือง

แมงกานีส

·      ช่วยในการหายใจของพืช

·      ใบอ่อนจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  แต่เส้นใบยังเป็นสีเขียว
·      ก้านใบอ่อนเปลี่ยนเป็นสีเทา  แล้วกลายเป็นสีเหลือง  หรือเหลืองอมส้ม

สังกะสี

·      ทำให้พืชใช้ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น

·      ใบแก่ด้านบน  (ใบที่  2  และ  3  จากยอด)  จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  แต่เส้นใบยังเป็นสีเขียว
·      เนื้อเยื่อตาย  เส้นใบหนาขึ้น
·      ในข้าวโพดมีเส้นหรือแถบสีขาวเหลือง

เหล็ก

·      การสังเคราะห์อาหาร
·      ปฏิกิริยาที่ต้องการออกซิเจน
·      องค์ประกอบของเอนไซม์และโปรตีน

·      ใบเป็นสีเหลือง  แต่เส้นใบยังเป็นสีเขียว  (เหมือนขาดธาตุแม็กนีเซียม) แต่เกิดกับใบอ่อนก่อน
·      ต้นเตี้ยและผอม

ธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช  (ต่อ)

ธาตุอาหาร

ประโยชน์ของธาตุอาหาร

ลักษณะอาการเมื่อขาดธาตุอาหาร

โบรอน

·      การสังเคราะห์โปรตีน
·      การขนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืช
·      การพัฒนาราก
·      การพัฒนาเมล็ดและผล
·      การดูดน้ำ

·     รากและยอดเจริญเติบโตไม่ดี
·     ยอดใบแห้งตาย
·     การออกดอกหยุดชะงัก
·     การตึงไนโตรเจนไม่ดี

โมลิบดีนัม

·      สำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน

 

·     ใบเหลืองเหมือนกับขาดไนโตรเจน  แต่ใบอ่อนจะม้วนหงิกงอ
·     การตรึงไนโตรเจนไม่ดี

ทองแดง

·      เป็นการกระตุ้นการสังเคราะห์เอนไซม์  และคลอโรฟิล
·      การหายใจ
·      การย่อยแป้งและโปรตีน

·     ใบเหลืองและยืดยาว
·     ใบพืชบิดงอ  แล้วแห้งตาย

คลอรีน

·      สำคัญในการทำงานของเชลล์  และการยืดตัวของเชลล์

·     ต้นเหี่ยว  ใบเป็นสีเหลือง  แห้งตาย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4226เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2005 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท