ในวันที่ฉันเปลี่ยนไป


ทำงานกับสสส.นี้ดีเหลือหลาย เราได้ empower ทั้งกลุ่มเป้าหมายของ MLH ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละประเด็น ทั้งเครือข่ายร่วมทำงานกับเรา และที่สำคัญคือ "ตัวเอง" ค่ะ

เรียนคุณหมอคะ..

สงสัยว่าหนูเอ๋คงต้องเรียกตัวเองใหม่เป็นเลดี้สโลว์แทนแล้วค่ะ เพราะว่าเล่นเน็ตที่บ้านช้ามากกกๆๆ ตอบเมล์คุณหมอหลายครั้งแล้วไม่สำเร็จซักที บอกข่าวคราวเรื่องสุขภาพค่ะ ว่าตอนนี้ก็ยังฟิตเดินอยู่เป็นระยะๆ (โดยเฉพาะระยะที่นึกขึ้นมาได้ค่ะ) เครื่องนับก้าวที่คุณหมอให้มาก็ยังดีอยู่แถมเป็นตัวให้กำลังใจพิเศษอีกด้วย เวลาตัวเลขขึ้นก็มีแต่ความสุขใจไม่เหมือนตอนราคาน้ำมันขึ้นเลยค่ะ

เขียนมาวันนี้ เพราะนึกขึ้นมาได้จากที่ได้คุยกับอาจารย์กาญในวันประชุมทีม C4H ที่ผ่านมาค่ะ ว่าทำงานกับสสส.นี้ดีเหลือหลาย เราได้ empower ทั้งกลุ่มเป้าหมายของ MLH ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละประเด็น ทั้งเครือข่ายร่วมทำงานกับเรา และที่สำคัญคือ "ตัวเอง" ค่ะ

ต้องบอกก่อนนะคะ ว่า.. "ไม่ได้โม้นะ..."

ประเด็นที่ได้คุยกับอาจารย์กาญที่สะกิดใจเอ๋ขึ้นมาก็คือ

ประการแรก เอ๋เป็นครูมาแม้จะไม่กี่ปี ได้สอนหนังสือกับนักศึกษา ก็เด็กโตแล้ว หรือมีสอนภาคพิเศษที่เป็นผู้ใหญ่มากๆแก่กว่าเอ๋เป็นสิบหรือยี่สิบปีก็มี  แต่ก็จะมีช่วงวัยและกลุ่มแค่นี้ค่ะ แต่มาทำกิจกรรมให้ MLH คราวนี้ผู้ฟังมีหลากหลายมาก ตั้งแต่เด็ก รุ่นลูกรุ่นหลานรุ่นน้อง หรือผู้ใหญ่ก็มีตั้งแต่รุ่นคุณพี่คุณป้าคุณน้าคุณลุงคุณยาย ได้ฝึกหัดกลยุทธ์มากมายเลยค่ะ ไปทำกิจกรรมวิทยุชุมชนเพื่อติดตั้งแนวคิดเรื่องการออกแบบสารและวิธีการนำเสนอให้เหมาะและสอดคล้องกับกลุ่มผู้ฟัง ก็ต้องเอาแนวคิดอันนี้มาติดตั้งตัวเองด้วยเวลาไปพูดหรือทำกิจกรรมแต่ละครั้ง อืมม..ยากไม่ใช่เล่นเลยนะเนี่ย โยนมุขไปบางครั้งแป้กกันเห็นๆ (แหมไม่เห็นเหมือนตอนซ้อมที่บ้าน สงสัยสามีอยากให้กำลังใจ หัวเราะขำซะ..) บางครั้งออกแบบกิจกรรมแล้ว พอมาลองทำดู เอ..ไม่เห็นเหมือนที่คิดเลย แล้วจะโยงยังไงให้เข้ากับเนื้อหาหละเนี่ย

ตัวอย่างจากกิจกรรมที่ชลบุรีค่ะ (น้องๆเข้ามาเล่าเสริมได้นะคะ พี่ไม่อาย พี่ชอบเป็นบทเรียนค่ะ) ให้เล่นเกมเพื่อจะโยงเข้ากับเรื่องรู้เท่าทันตนเอง ให้เด็กๆเล่นเกมจำคำแล้วทำตามนั้น เช่น ฮอนด้าให้ถอยหลัง โตโยต้าให้ไปทางซ้าย.. แล้วเราก็จะพูดเร็วๆกะว่า เด็กๆต้องสับสน ก็จะได้โยนเข้าเรื่องสติกำกับตัวเวลารับสาร ปรากฏว่าเด็กๆของเราทำตามได้มิมีผิดเพิ้ยน พลิกมุขแทบไม่ทัน..

ประการที่สอง เวลาเป็นครู พูดอะไร สั่งอะไร นักเรียนนักศึกษาก็ต้องฟังใช่ไหมคะ ไม่ฟังเหรอ.. ออกข้อสอบนะ ตัดคะแนนนะ สารพัดจะใช้วาทกรรมความเป็นครู การสื่อสารแบบ top-down สุดฤทธิ์ แต่เวลามาเป็นวิทยากรเหรอ.. ไม่ให้เกียรติบัตรนะ ทำไม่ได้ พูดไม่ได้..

เป็นวิทยากรของโครงการนี้ไม่มีพาวเวอร์เหนือคนฟัง เป็นวิทยากรของโครงการนี้ ต้องมีหลายบทบาทค่ะ เป็นครูบ้าง เป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง บางทีก็เป็นป้า เป็นตัวสงสัย เป็นตัวอยากรู้ เป็นคนซักถามข้อมูล หรือเป็นนางเงา (ไปยืนเฉยๆในกลุ่มเพื่อฟัง สังเกต และเก็บข้อมูล) การสื่อสารออกมาหลายรูปแบบเลยค่ะ ทั้งบนลงล่าง ทั้งล่างขึ้นบน ทั้งระนาบเดียวกัน

บางทีเราก็มีอีโก้ของความเป็นครูติดตัวมานะคะ ทำไมไม่ฟังนะ.. แต่เวลาอีโก้ขึ้น โรคทางสติและปัญญาก็จะตามมา.. แต่กิจกรรมนี้ดีค่ะ concept ด้านการสื่อสารที่เรายึดถือแบบต้องมีส่วนร่วมและแบบต้อง share meaning สามารถเป็นเครื่องมือช่วยกำกับตัวเราได้ด้วย ตอนแรกแบบทางอ้อมก่อน หลังๆก็เริ่มตรงได้มากขึ้น ตามอารมณ์ตามใจตัวเองได้ทันเยอะขึ้นค่ะ และก็ย้อนกลับไปข้อแรกด้วยว่า กิจกรรมเป็นตัวสร้างฝีมือในการค้นคิดกลยุทธ์ที่หลากหลายให้เรา เวลาสื่อสารกับคนหลายกลุ่ม

วันนี้มี 2 ประการก่อนนะคะ วันหน้ามาเล่าต่อค่ะ โดยเฉพาะเรื่องของความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพ และเรื่องของคำว่า "รู้เท่าทัน" ค่ะ

หนูเอ๋ เลดี้โมโนโทน.. (เดี๋ยวนี้เค้าพัฒนาแล้ว)

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4218เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2005 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำต่อไปครับน้องเอ๋

มีแรงเดินก็ต้องมีแรงทำ

ผมอ่าน blog ที่น้องๆ โพสต์ไว้นี้ อ่านไปปลื้มไป น่าจะรวมรวมสำหรับพ็อตเกตบุ๊ค MLH นะครับ สื่อพื้นบ้านสื่อสารสุขเขาออกมาแล้วเล่มหนึ่ง เราก็ตามบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท