พบอธิบดีกรมอาเซียน


อาเซียนเสรี+HR ปัญญา จริยธรรม ยั่งยืน

สวัสดีครับชาว Blog

เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมาผมเเละทีมงานได้มีโอกาสเข้าพบ คุณอิทธิ ดิษบรรจง อธิบดีกรมอาเซียน และได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับอาเซียนหลายเรื่อง ซึ่งตอนนี้ภาครัฐมีนโยบายเรื่อง "ตระหนักรู้" ในความเป็นชาติสมาชิกอาเซียนให้คนไทยเข้าใจ เเละสามารถต่อยอดได้ครับ

เเละในโอกาสต่อไปผมเเละทีมงานหวังจะมีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่กรมอาเซียนครับ

                                                      จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 422478เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2011 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ทำงานด้านทูตประชาชนใน GMS มาตลอดเป็นที่ไว้ใจของประเทศ GMS การเปิดประชาคมอาเซียนเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยและคนไทย แต่เนื่องจาก ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยที่เป็น SMEs ยังขาดการบริหารงานแบบมืออาชีพ จึงทำให้เกิดความกลัวว่าเมื่อเปิดเสรีการค้าจะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยแข่งขันไม่ได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs ไทยต้องปรับแผนการบริหารจัดการให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อม และภาครัฐเองก็ต้องให้การสนับสนุนกับผู้ประกอบการไทยที่ดี และสกัดกั้นผู้ประกอบการที่ไม่ดี แต่การที่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับทุนต่างชาติที่เหนือกว่า ผู้ประกอบการ SMEs ไทยและผู้ประกอบการประเทศในกลุ่มอาเซียนต้องร่วมมือกันสร้างเครื่อข่าย หรือหุ้นส่วนธุรกิจ รวมตัวกันต่อสู้กับบริษัทต่างชาติที่ไม่ใช่อาเซียน การจะทำได้ตามที่กล่าวมาต้องเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศอาเซียน ในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน แบบบูรณาการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเป็นประชาชนเศรษฐกิจอาเซียน

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมีความเข้าใจและมีผลงานประประสบการณ์ ตลอดจนมีความพร้อมในทุกด้าน ถ้ากรมอาเซียนมอบหมายให้มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเป็นผู้ทำโครงการนี้ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเป็นประชาชนอาเซียน อย่างเต็มที่สามารถแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ SMEs และสร้างความเข้มแข็งในด้านการทูตภาคประชาชนระหว่างประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน

สรุปประเด็น อ.จีระ พบ อธิบดีกรมอาเซียน

อ.จีระ     สื่อทางออกไปของอาเซียนต้องมีนักวิชาการเข้าร่วมเพราะว่าภาพลักษณ์ดี งานที่มูลนิธิที่ทำอยู่คือเรื่องโลกาภิวัตน์กับ HR ที่มีทั้งโอกาสและการคุกคาม แต่เรื่องอาเซียนเป็นโอกาสมหาศาลของคนภาคอีสาน เรื่องอาเซียนเสรีที่ทำกันอยู่ไม่มีใครโยงไปที่ Human Capital ที่ประกอบด้วยทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความยั่งยืน คิดเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์

อธิบดี    ภารกิจหลักของกระทรวงคือจะต้องสร้างความ”ตระหนักรู้” ให้กับประชาชนให้มากที่สุด ในแง่ที่ว่าเขาจะได้ประโยชน์อย่างไร หรือต้องระวังอะไรจากการรวมตัวครั้งนี้ ทั้งเสาสังคม เสาการเมืองและความมั่นคง  เสาเศรษฐกิจ เรื่องเศรษฐกิจจะมีผลกระทบมากที่สุด ที่ทำอยู่ตอนนี้นอกจากบรรยายให้ความรู้ ทหาร ตำรวจ ธนาคาร  ที่เราทำมากที่สุดคือทำกับโรงเรียน ทำกับ สพฐ. คือเขามีแผนปฏิบัติการ 5 ปีที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคม จะมีการตั้งโรงเรียนที่เรียกว่า Grad of ASEAN อาเซียน 54 โรงเรียนทั่วประเทศ ตอนนี้จะเพิ่มอีกร้อยกว่าโรงเรียนและสร้างกลุ่มโรงเรียนในเครืออีกโรงเรียนละ 9 โรง  และที่เราทำหลักคืออาเซียนสัญจร 5-6 ครั้งต่อปี ราชภัฎก็สนใจ โดยมากที่เข้ามาฟังจะเป็นครู ผมเลยไปจัดกิจกรรมข้างเคียงเกี่ยวกับครู เมื่อก่อนเราต้องเน้นเด็ก แต่เดี๋ยวนี้เราต้องเน้นครูเพราะจะได้ไปสอนเด็ก อีกส่วนคือ อบต. อบจ.และนักโทษหญิง และกำลังทำศูนย์ข้อมูลอาเซียนจัดเอาหนังสือต่างๆที่มีอยู่แล้วและในส่วนที่เราจะทำเพิ่มเติม และส่งนักเขียนอย่าคุณประภัสสร เสรีกุล ส่งไปตามประเทศในอาเซียนเพื่อเขียน นวนิยายความสัมพันธ์ไทยกับประเทศนั้นๆ ตอนนี้มี 6 เรื่องแล้ว แล้วจะจัดทำเป็น Pocket Book เพราะสิ่งที่เรามีปัญหาคือเพื่อนบ้านรู้จักเราแต่เราไม่รู้จักเพื่อนบ้าน คิดว่ารู้เขาเป็นเรื่องสำคัญ นโยบายกระทรวงศึกษาจึงผลักดันให้มีหลักสูตรภาษา 3 ภาษา ไทย อังกฤษ และภาษาอาเซียน เช่นเวียดนาม มาเลเซีย ให้นักเรียนได้เรียนด้วย

ที่น่าสนใจคือตอนนี้ธรรมศาสตร์กำลังทำหลักสูตรอาเซียนเป็นภาค Interเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยในอาเซียนอื่นๆ โดยที่จะจัดหลักสูตรร่วมกัน เขียนตำราร่วมกัน พึ่งจัด workshop เสร็จไป จุฬาได้รับมอบหมายจาก  สกอ. ให้เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งชาติ

อ.จีระ     แต่สิ่งที่เราทำอยู่สังคมไทยยังไม่ Aware ยังไม่พอ

อธิบดี   เรื่อง Aware เราอยู่ทีอันดับ 7 จาก 10 เราต้องทำมากขึ้น ผมก็ดีใจที่ตอนนี้ มีคนเข้ามาหลายกลุ่มต้องการที่จะมีบทบาทสนับสนุนกิจการของอาเซียน อย่าง ก,พ, ก็สนใจอาเซียนมาก เอาเป็น theme ในการจัดอบรบบุคลากร ผมจึงขอท่านเรื่องหนึ่งคือ ในส่วนราชการมีกลไกเกี่ยวกับอาเซียนน้อยมาก ในหน่วยงานราชการมีอยู่กรมเดียวที่เกี่ยวกับต่างประเทศคือวิเทศสัมพันธ์ ทำทั่วโลกรวมทั้ง ASEAN ผมก็เลยผลักดันว่าทุกกระทรวงต้องมี หน่วยงานที่เรียกวา ASEAN เป็น Symbolic เป็นกลุ่มงาน หรือหน่วยงานก็ได้ อำนาจเรามีที่เราขาดคือเรื่องคน และในส่วนของการประชาสัมพันธ์ก็มีรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์จะทำงานร่วมกัน เช่นการจัดประชุมโดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานมาชี้แจงว่าใครทำอะไรไปบ้าง กระทรวงพานิชทำเยอะแต่ไม่มีใครรู้ อย่างนี้เราต้องเอาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันแล้วให้ทางกรมประชาสัมพันธ์เป็นส่วนกระจายข่าวสารออกไปให้ประชาชนได้รับทราบ ผมขอที่ ทางช่อง 11 ว่าช่วยให้ข่าวท่านช่วงหนึ่งเรียกว่าข่าวอาเซียน เช่นอะไรจะเกิดในอินโด มาเลย์ เราจะได้รู้ ตอนนี้ช่อง9 ทำแล้วใช้ชื่อว่า อาเซียนเป็นหนึ่ง อย่างนี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะอยากคนไทยเสพอาเซียน เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน

อ.จีระ     เดี๋ยวนี้มีวิธีการสื่อสารที่เป็น Formal กับ Informal มี Social Media และทุกคนก็คือ Media ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวไปสู่อีกคนได้ ต้องทำงานที่ทำอยู่แล้วให้เกิด Value Added มี Follow up และทำให้ตรงประเด็น กับทบตัวเขา กระทบความรู้สึก อย่างหนึ่งเป็น opportunity อีกอย่าง เป็น threat ถ้ามนุษย์เราค้นหาตัวเองได้ มีแรงบันดาลใจได้ ก็จะพัฒนาได้ อย่างในอีสานพอมุกดาหารเปิด หนองคายเปิด นครพนมเปิด เป็นประตูของเขาอย่างเรื่อง โลจิสติก ให้ดูเรื่อง SMEs ถ้าเขาสามารถ link ได้กับยูนาน กับกวางสี ก็จะมีผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่สามารถ Generate in come ได้จาก Service Sector และ Grovement Sector อย่าง อบต. อบจ. ในอีสาน ต้องเป็น Impact ต่อ ASEAN Free Trade กับ Human Capital โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องทัศนคติของนักธุรกิจไทย ตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านเขาสอนให้คนคิด แต่คนไทย อยากทำโน่น ทำนี่แต่ไม่ทำ

สุภวัส                    ตอนนี้คนไทยยังมี Awareness ที่ต่ำในเรื่องอาเซียน เราจึงอยากสร้างแรงบันดาลใจในลักษณะ P 2 P เพื่อให้เข้าใกล้ประชาชนมาขึ้น การสร้างแรงบันดาลใจที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเช่นเรื่องการเรียนภาษาเพื่อให้ติดต่อธุรกิจได้ไม่ถูกเอาเปรียบ ไม่เน้น G2P เพราะถ้าเขารับฟังอย่างเดียว ถ้าสิ่งไหนไม่เกี่ยวกับเขาก็จะไม่ใส่ใจแค่รับฟังนโยบายไป แต่ถ้าอะไรที่เกี่ยวข้องกับเขา เขาน่าจะเข้าใจง่าย

อ.จีระ     เราต้องมี key ในการคิดวางยุทธศาสตร์ เพื่อนำเสนอแนวคิดไปสู่ประชาชน

อธิบดี    จุดหนึ่งที่เป็นเรื่อง ASEAN Connectivity ซึ่งจะ master plan ได้ทำแล้ว ผมกำลังจะแบบเป็นภาษาไทย จะเข้ากับประชาชนที่อยู่ชายแดน จะเป็น ลักษณะ Bird Eye View ว่ามันจะมี Connectivity อะไรบ้าง อันไหนจะเป็น meeting link นอกจาก Constructional เราต้องดูที่ Institutional ตัวเสริมอย่างเรื่อง ศุลกากร นอกจากนั้นก็คือเรื่อง People

อ.จีระ     ข้าราชการชายแดน Attitude ไม่เปลี่ยน ต้องมีผู้นำไปสร้าง Chang Management ตอนนี้ก็ยังมี Corruption

อธิบดี     สิ่งที่มาทางชายแดนคือความเสี่ยงต่างๆ เสี่ยงเรื่องสภาพแวดล้อม โรคระบาด อาชญากรรม แต่เราก็ผลักดันให้อยู่ในแผน ที่ต้องดูแลด้วย ท่านนายกเคยบอกว้าว่านอกจากมี Infrastructure link แล้ว ต้องมี Economic Structure นึกถึงลาว ตอนนี้ลาวกลายเป็นทางผ่านอย่างเดียวนะอย่าง Savan Say No ก็ยังไม่ work เลย แต่ที่เวียดนามมีนิคมอุตสาหกรรมดีมากคนก็ไปลงทุนกัน ท่านนายกบอกว่าไม่ใช่มีแต่เส้นทางแต่ต้องมี Infrastructure ที่รองรับไม่อย่างนั้นจะไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร เป็นแค่ทางผ่าน อย่างหนองคายวันนี้เขาบอกว่ามีอุดรเป็นจุดเริ่มต้นแล้วก็ผ่านหนองคาปลายทางอยู่เวียงจันทร์ เพราะความเจริญไปจุกตัวอยู่ที่อุดร หรืออย่างเมืองกาญจน์ที่เป็นจุด link ไปที่ทวายประเทศพม่า เป็นโครงการที่มีมูลค่ามหาศาลถ้ามันเกิด เป็นการทำท่าเรือที่ทวาย ถ้าจะไปจีนไม่ต้องอ้อมมะละกาเลย แต่สิงค์โปรก้ไม่ค่อย happy เท่าไหร่ แต่มันไปง่าย ไปจีน ไปลาวได้ คนที่สนใจมากคืออินเดียอยากมาลงทุนทำท่าเรือน้ำลึกในพม่า แต่สิ่งที่อาเซียนอยากแก้ไขคือเราไม่อยากให้อาเซียนเป็นจำเลยเพราะพม่า เราได้มีมติการประชุมออกมาว่า เราต้องให้พม่าเป็นที่ยอมรับ ถ้าอาเซียนจะโตได้ต้องขจัดปัญหาพม่าให้ได้ ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศทุกประเทศในอาเซียนต้องช่วยกันประคับประคองให้ผ่านปัญหาวิกฤตอาเซียนไปได้ ถ้าเรามองแบบ Realistic พม่าก็ไม่ได้เลวร้ายกว่าประเทศหลายประเทศในโลกนี้ เมืองไทยเมืองก่อนก็เป็นแบบนี้ เวียดนามก็สังคมนิยม ลาวก็สังคมนิยม สิงค์โปรก็ปิดกัน ตอนนี้อินโอดีขึ้น ผมว่าส่วนหนึ่งมาจาก Lobby ของพม่าที่ต่อต้านรัฐบาล และอีกปัญหาที่เป็นปัญหาใหญ่คือทำอย่างไร อาเซียนจะเลิกระแวงกัน อย่างลาวไทย เขมรไทย สิงค์โปรมาเลย์ มาเลย์กับอินโด ฯพณฯ กษิต ท่านมองถึงว่าจะทำอย่างไรให้มาปรองดองกันได้ ท่านมองถึงกระทั่งมาชำระประวัติศาสตร์ร่วมกัน แต่ถ้าเปิดประเด็นขึ้นมาบางอย่างอาจะตีกันตายก็ได้ ท่านเคยผู้ในการประชุมอาเวียนเลยว่าเป็นไปได้หรือไม่ตำราประวัติศาสตร์จะเปลี่ยนใหม่เลิกสอน เช่นพม่าเผาไทย นักเรียนก็เรียนทุกวันแล้วเด็กจะไปรักพม่าได้อย่างไร หรือลาวเองก็มีวัดพระแก้วที่บอกว่าไทยเอามา เขมรก็จะมีปัญหากับไทยตลอด ทำอย่างจะไม่เอาเรื่องเหล่านี้เข้ามาในเรื่องความร่วมมือ

สุภวัส    สิ่งหนึ่งที่ร่วมกันก็คือเรื่องวัฒนธรรมข้าวซึ่งเป็นเรื่องที่ผูกพันกันเหมือนโลโก ของอาเซียนที่เป็นรวงข้าวมามัดรวมกัน จึงอยากให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนกับวัฒนธรรมข้าวที่มีเหมือนกัน

อธิบดี    อาเซียนได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เปอร์เซีย จีน เข้ามาจะมีอะไรที่คล้ายกันอยู่ในนี้ หรืออย่างลาวกระทบไม้มีเหมือนกันหมดทุกประเทศ หรือว่าวัฒนธรรมอาหาร

ตอนนี้อาเซียนก็ได้ตั้ง ASEAN committee on connectivity ประเทศไทยแต่งในการติดต่อกับประเทศอื่นๆ เช่นเรื่องการสร้าง Real Link จากจีนลงมา ต้องมีหน่วยงานประสานงานตอนนี้ท่านประดาบ พิบูลสงครามก็เป็น Mr. Connection อยู่

                                                .................................

การเปลี่ยนประวัติศาสตร์ไม่ใช่คำตอบ แถมเป็นการบิดเบือน ต้องใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวนำจะทำให้เกิดการร่วมมือและจะทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความไม่ไว้วางใจจะค่อยๆหมดไป ยินดีที่จะให้รายละเอียด ถ้าสนใจอย่างจริงจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท