Thailand Cyber University…….e-learning (2)


ทำไมทาง TCU จึงไม่พิจารณาต่อยอด สิ่งที่มีการใช้มากที่สุดอยู่แล้ว คือ LMS Open Source Moodle ? ทำไมไม่พัฒนา TCU-LMS เป็น Open Source เพื่อเปิดให้มีการพัฒนาต่อยอดได้อย่างเสรี ? อยากจะเสนอว่า น่าจะพิจารณาเรียนรู้จาก Gotoknow ที่พัฒนาเรื่อง Blog มาก่อนแล้วขยายส่วนอื่น ๆ เพิ่ม
  • จากการรับฟังรายงานความคืบหน้าของโครงการ การพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอน e-learning แห่งชาติ หรือ ที่เรียกย่อว่า TCU-LMS โดย รศ. ดร. ถนอมพร เลาหจรัสแสง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ร่วมกับ ผศ. สุพรรณี สมบุญธรรม ผู้อำนวยการโครงการ TCU แล้วมีข้อคิดเห็นและคำถามที่อยากจะถามหลายประเด็น  แต่เนื่องจากในช่วงการสัมมนา บรรยากาศไม่เอื้ออำนวยให้เสนอข้อคิดเห็น หรือ สอบถาม เนื่องจากเลยเวลา 16.30 น. ผู้เข้าร่วมสัมมนาที่ยังอยู่ถึงช่วงนี้เหลือไม่ถึง 10% ของเมื่อเปิดสัมมนาในช่วงเช้า  เริ่มทะยอยลุกออกจากห้องสัมมนาไปเรื่อย ๆ ขณะที่มีผู้ถามท่านหนึ่ง  ถามติดต่อกันหลายคำถามพร้อมข้อคิดเห็นของตนเอง จึงขอนำมาถามไว้ในที่นี้  เผื่อจะมีผู้เกี่ยวข้อง หรือ ผู้รู้เข้ามา แลกเปลี่ยนให้ความเห็นบ้าง
  • ประเด็นที่ 1 ที่อยากจะทราบคำตอบคือ  จากการทำวิจัยของคณะผู้วิจัยพบว่า ระบบการจัดการเรียนการสอน e-learning ที่มีใช้กันอยู่ในขณะนี้ในประเทศไทย  ที่ใช้มากที่สุดคือ LMS ที่เป็น Open Source และ ที่ใช้มากที่สุดในกลุ่ม Open Source คือ LMS Moodle รองลงมาคือ Atutor    ระบบ LMS ที่ใช้มากเป็นอันดับที่สองคือระบบที่จัดซื้อจากของต่างประเทศ เช่น WebCT หรือ Blackboard  ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นส่วนน้อยเป็นระบบที่แต่ละสถาบันพัฒนาขึ้นใช้เอง  เมื่อผลการวิจัยพบอย่างนี้ ทำไมทาง TCU จึงไม่พิจารณาต่อยอด สิ่งที่มีการใช้มากที่สุดอยู่แล้ว คือ LMS Open Source Moodle แต่กลับมาพัฒนาระบบของตนเองขึ้นมาใหม่ ?  และหวังว่าจะให้เป็นระบบแห่งชาติ  นอกจากนั้น จากที่เคยสอบถามอาจารย์โรงเรียนมัธยมหลายแห่งก็ทราบว่า ทางกระทรวงศึกษาธิการ แนะนำให้ใช้ LMS Open Source Moodle  ในการทำ e-learning ของโรงเรียน
  • ประเด็นที่ 2 การพัฒนา TCU-LMS ทางทีมผู้วิจัยเสนอให้ใช้ ภาษา Java และ .Net โดยเห็นว่ามีศักยภาพดีกว่า  ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ  ระบบที่พัฒนาหลังสุดย่อมมีศักภาพดีกว่าระบบเก่าแน่นอน   ทำไมไม่พัฒนา TCU-LMS เป็น Open Source เพื่อเปิดให้มีการพัฒนาต่อยอดได้อย่างเสรี ? 
  • ประเด็นที่ 3   การอบรมการพัฒนาการสร้างสื่อต่าง ๆ ก็ผูกอยู่กับการใช้ Software ของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เรารู้จักกันดี   ทำไมไม่เลือกใช้ Freeware ?
  • ประเด็นที่ 4 ทีมผู้พัฒนายังบอกว่ากำลังจะเสริมส่วนที่เป็น Blog เข้าไปใน TCU-LMS ในเร็ว ๆ นี้  อยากจะเสนอว่า น่าจะพิจารณาเรียนรู้จาก Gotoknow ที่พัฒนาเรื่อง Blog มาก่อนแล้วขยายส่วนอื่น ๆ เพิ่ม  ในขณะที่ LMS พัฒนาส่วนอื่นก่อน แล้วขยายใส่  Blog เพิ่ม 
คำสำคัญ (Tags): #tcu#e-learning#moodle#open-source#2549#blog
หมายเลขบันทึก: 42218เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2006 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมก็คิดว่าน่าจะต่อยอดทุนที่เรามีอยู่นะครับ เพราะระบบแบบนี้พัฒนา วิจัยมาได้ระยะหนึ่งแล้ว พอทราบว่าต้องพัฒนาต่ออย่างไร

ประหยัด และมีประสิทธิภาพด้วย

ไม่เห็นด้วยกับการผูกติดกับ Software ของบริษัทยักษ์ใหญ่ครับ จริงๆเราก็มีศักยภาพในการผลิต Sofeware ได้ ในอนาคตกจะ็เกิดเรื่องของธุรกิจกันไปหมด

ยินดี ดีใจกับระบบการศึกษา  ที่ก้าวหน้าไปอีกขั้นครับ

  เรียนท่านพี่ Panda

 ประเด็นที่ ๔ การเสริม Blog ไม่ทราบว่าใช้ GotoKnow หรือสร้างวงใหม่ ครับ





เรียนอาจารย์ Panda

    จริง ๆ แล้วนิวก็เห็นด้วยกับอาจารย์ Panda ในหลาย ๆ ประเด็น   ถ้าอย่างไร...อาจารย์ที่ปรึกษาของนิวท่านก็อยู่ใน TCU เช่นกัน (ผศ.ดร.อนุชัย  ธีระเรืองไชยศรี)  ซึ่งวันเสาร์นี้นิวเข้าไปพบท่านเพื่อปรึกษางานวิจัย และนิวจะกราบเรียนถามท่านให้ตามข้อคำถามของอาจารย์คะ  ขอบพระคุณคะ  หรืออาจให้อาจารย์ท่านเข้ามาตอบคำถามใน Blog นี้คะ ขอบพระคุณคะ

 

ผมตอบไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/wichitchawaha/42310

หรือ ตามด้านล่างนี้ก็ได้ครับ 

เห็นประเด็นนี้แล้ว

ผมนึกถึงตอนที่ไปงาน wunca15 ที่ ม.ศิลปากร เป็นเจ้าภาพ บังเอิญผมมีโอกาสร่วมทำวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับ e-learning ของสถาบันอุดมศึกษาไทย แล้วได้เข้า focus gruop งานวิจัยชิ้นนี้ในวันนั้นด้วย ผมตอบตามคำถามด้านบน ดังนี้ครับ

ก่อนอื่น ต้องมองเรื่องใหม่ ด้วยใจที่เป็นกลางก่อนครับ

อ.panda

ประเด็นที่ 1 : ลองมองที่ประเด็นการมีส่วนร่วม หรือความเป็นเจ้าของร่วมกันครับ เพราะอย่าลืมว่า นี้เป็น Software LMS แห่งชาติ สาเหตุหนึ่งจากโครงการวิจัยนี้ ก็เป็นบทเรียนมาจาก LMS : TCU ซึ่งตัวนี้เป็นตัวอย่างเรื่องนี้ได้ดีครับ

ประเด็นที่ 2  : ผลวิจัยเรื่องนี้ยังไม่ออกมา คงตัดสินใจไม่ได้ครับว่า จะเลือกเทคโนโลยีไหน

ประเด็นที่ 3 : คำตอบ อยู่ที่ประสบการณ์จาก v.1 ครับ

ประเด็นที่ 4 : ที่จริง Blog เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งเพื่อประกอบให้ผู้ใช้(เรียน) คือ มีช่องทางการเรียนรู้จากประสบการณ์มากขึ้นเท่านั้นครับ

อ.jj

Blog สร้างใหม่แน่นอนครับ ผมตอบไปแล้วจากประเด็นที่ 4 ของ อ.panda ด้านบน

อ.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ประเด็นนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะยึดติดกับเทคโนโลยีใดครับ เพียงแต่ trend มาทางนี้ครับ และ ถ้าจะมองกันเรื่อง opensource ผมว่า java ก็ไม่น่าเกลียดที่จะใช้ครับ อีกทั้ง ประสิทธิภาพ ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องนำมาคิดไม่แพ้เรื่องอื่นๆ ด้วยครับ

ยินดี ลป.รร. ครับ 

วิชิต

  • ขอบคุณ อ. จตุพร ที่ช่วยเสริมข้อคิดเห็นครับ
  • ขอบคุณ น้องนิว จะรอคำตอบต่อไปครับ
  • ขอบคุณ คุณวิชิต ที่ร่วม ลปรร.
  • เรียนท่าน JJ  ผมเสนอให้นำ แนวคิดและเทคโนโลยีที่พัฒนาโดยท่านสอง ดร.คู่แฝดของเราไปต่อยอดนะครับ  เริ่มต้น คงเป็นคนละวง แต่ในที่สุดก็คงรวม (อาจจะโดย Google....5555)
  • สนใจเรื่อง visual library ติดตามหาอ่านได้ไหนครับ
  • เห็น มมส ทำอยู่น่าสนใจ ที่ มทส สนใจครับ
  • ตามมาตอบ
  • Moodle ที่เป็นภาษาอังกฤษใช้สื่อสารได้กว้างกว่า gotoknow ครับอาจารย์
  • แต่ถ้ารัฐบาลพัฒนา gotoknow มากกว่าเดิมคาดว่าจะดีมากครับ
  • ในส่วนระบบใช้ได้ไม่ต่างกันนักแต่ Moodle มีระบบการประมวลผลมากกว่า gotoknow ครับผม

มีสื่อการเรียนการสอนไหมค่ะ อยากได่จังเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท