พบฝรั่งเป็นโรคกลัวหมอฟัน-กลัวน้ำ [EN]


สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Fear of dentists and needles need sympathetic ear' = "ความกลัวทันตแพทย์(หมอฟัน)และเข็มต้องการหูที่เห็นอกเห็นใจ(คนรับฟัง)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ BBC ]
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า หมอฟันส่วนใหญ่มักจะเป็นคนใจดี ใจเย็น ทว่า... น่ากลัวที่สุด
.
โรคกลัวหมอฟันแบบโฟเบีย (dentophobia; dento- = ฟัน ทันต-; phobia = กลัว) เป็นโรคที่พบบ่อย, คนอเมริกัน 12% เป็นโรคนี้แบบรุนแรง
.
สมาคมทันตแพทย์สหราชอาณาจักร (อังกฤษ - UK) รายงานว่า คนอังกฤษ (UK) มีอาการวิตกก่อนไปหาหมอฟันมากถึง 25% เช่น เมื่อนึกถึงเสียงกรอฟัน (drill) หรือเข็มคุณหมอ (needle) ก็กลัวขึ้นมาแล้ว
.
อ.ดร.เจนนิเฟอร์ พินเดอร์ จากลอนดอน ผู้มีประสบการณ์ในการรักษาโรคโฟเบีย (กลัวหมอฟัน) มานานกว่า 30 ปีกล่าวว่า
.
โรคกลัวหมอฟันทำให้คนจำนวนมากไม่กล้าไปหาหมอ รอๆๆๆ จนฟันแตก (disintegrated tooth) หรือมีกลิ่นปากรุนแรง ถึงจะยอมไปหาหมอ
.
ข่าวดี คือ คนส่วนใหญ่ไม่ได้กลัวหมอฟัน แต่กลัวเข็ม กลัวเครื่องมือของหมอฟัน เช่น เครื่องกรอ ฯลฯ ทำให้มีการพัฒนาเครื่องลด หรือกลบเสียงกรอฟันให้เบาลง
.
การนำเครื่องเสียงพกพาไปฟังตอนทำฟัน หรือขอให้คุณหมอช่วยเปิดเพลงมีส่วนช่วยได้มาก และคนไข้อังกฤษหลายคนก็ต้องใช้วิธีบำบัดแบบสะกดจิต หรือจิตบำบัดก่อนรักษา
.
อ.พินเดอร์กล่าวว่า คนอังกฤษ (UK) มีสุขภาพช่องปากแย่กว่า อนามัยช่องปากแย่กว่า และใช้ไหมขัดฟัน (flossing) น้อยกว่าคนอเมริกัน
.
อ.ดร.พอล เบลนคิรอน จิตแพทย์ แนะนำให้ใช้วิธี "เผชิญหน้าแบบช้าๆ หรือค่อยเป็นค่อยไป (face their fear in a gradual way)" และใช้วิธี "บำบัดพฤติกรรมแบบหยั่งรู้ (cognitive behaviour therapy / CBT)"
.
หลักการ คือ ให้เปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมทีละน้อยๆ เช่น ให้ถือเข็มที่ใส่ปลอกเรียบร้อยไว้ในมือ... ถ้าทำได้, ค่อยๆ วางเข็มที่มีปลอกไว้บนแขน หายใจลึกๆ ช้าๆ จนกว่าความกลัวจะลดลง ฯลฯ
.
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า โรคกลัวรุนแรงหรือที่เรียกว่า 'โฟเบีย' ในคนอังกฤษ (UK) ที่พบบ่อยได้แก่
  • ablutophobia = fear of washing = กลัวการอาบน้ำ-ล้างมือ พวกนี้ตัวจะเหม็นง่าย
  • zoophobia = fear of animals = กลัวสัตว์ (zoo = สวนสัตว์)
  • blood phobia = กลัวเลือด เห็นเลือดแล้วมักจะเป็นลม
.
ฟันผุเรื้อรังเพิ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อ เช่น ขากรรไกรอักเสบ เชื้อกระจายไปตามกระแสเลือด ทำให้ลิ้นหัวใจติดเชื้อ ฯลฯ
.
การมีเหงือกอักเสบหรือปริทนต์อักเสบ (เนื้อเยื่อรอบโคนฟัน) อาจทำให้สารก่อการอักเสบซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดเสื่อม-ตีบตันเร็ว
.
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การดูแลช่องปากดีๆ โดยเฉพาะการแปรงฟันด้วยแปรงขนอ่อนให้ถูกวิธี แปรงเบาๆ ให้ถี่ถ้วนและทั่วถึงด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้งหรือหลังอาหาร (ควรเว้นช่วง 30-60 นาที ถ้ากินผลไม้-น้ำผลไม้-หรือของรสฝาดเปรี้ยว) ใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง ฯลฯ ช่วยให้มีโอกาอายุยืนเพิ่มขึ้นถึง 3 ปี
.
การไปหาหมอฟัน ตรวจฟันเป็นประจำทุก 6-12 เดือน ตั้งแต่ก่อนปวดฟันดูจะน่ากลัวน้อยกว่าไปหาหลังปวดฟันมากมาย
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
. 

 > [ Twitter ]

ที่ มา                               

  • Thank [ BBC ]
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 20 มกราคม 2554.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 421839เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2011 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท