การบริหารจัดการภาครัฐ


การบริหารจัดการภาครัฐ

                             เรื่อง  การบริหารจัดการภาครัฐ    

           (Public  Sector  Management  Quality  Award: PMQA)

 

     PMQA  เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่ภาครัฐใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ  และมีคุณภาพ

 

     องค์ประกอบหลักของการจัดการบริหารภาครัฐแนวใหม่ 

  1. การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน
  2. การลดการควบคุมจากส่วนกลางและเพิ่มอิสระใกนารบริหารให้แก่หน่วยงาน
  3. การกำหนด  วัด  และให้รางวัลแก่ผลการดำเนินงานทั้งในระดับองค์กรและในระดับบุคคล
  4. การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านบุคลากร
  5. การเปิดกว้างต่อแนวคิดการแข่งขัน

 

     ระบบราชการตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ในปัจจุบันจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. เป็นระบบราชการที่มีความหลากหลาย แต่ยึดหลักค่านิยมหลักเดียวกัน
  2. นิยามความหมายของระบบคุณธรรมใหม่ หมายถึง  ระบบคุณธรรมที่เน้นให้ข้าราชการความสามารถที่ไม่เท่าเทียมกัน
  3. มุ่งเน้นสัมฤทธิผลของการปฏิบัติงาน  โดยมีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
  4. การจ้าง  การถนอมรักษา  ตลอดจนการส่งเสริมความก้าวหน้าของข้าราชการเน้นที่การแสวงหาผู้มีขีดความสามารถสูงและส่งเสริมให้มีความก้าวหน้า  โดยเปิดโอกาสให้ได้ทำงานที่มีความท้าทาย
  5. มีมุมมองต่อข้าราชการที่มีขีดความสามารถว่า  เป็นสินทรัพย์  หรือเป็นทุนมนุษย์ที่มีค่าขององค์กร
  6. การจ้างงานมีหลากหลายรูปแบบ
  7. ลักษณะการจ้างงานไม่เน้นที่ความมั่นคงในการจ้างงาน แต่เน้นที่ผลการปฏิบัติงาน
  8. การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการมีส่วนต่อความสำเร็จของเป้าหมายขององค์กร
  9. ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับฝ่ายบริหารอยู่บนพื้นฐานความร่วมมือระหว่างกันในการผลักดันให้องค์การบรรลุเป้าหมาย

 10. องค์การกลางบริหารงานบุคคลกระจายอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ  มีอำนาจและหน้าที่บริหารงานบุคคลได้อย่างเต็มที่

 

       การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ประกอบด้วย  2  ส่วนหลักๆ  คือ

  1. ลักษณะสำคัญขององค์กร   

       เป็นการอธิบายถึววิธีการทำงานขอวองค์กร  สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติภารกิจ  ความสัมพันธ์กับหน่วยงานอืนในการปฏิบัติราชการ ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์  และระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน  ประกอบด้วย  2  หัวข้อ  คือ  ลักษณะองค์กร  และความท้าทายต่อองค์กร

  2.  เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์  7  หมวด  ได้แก่

       หมวดที่  1  การนำองค์กร

       หมวดที่  2  การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

       หมวดที่  3  การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

       หมวดที่  4  การวัด  การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

       หมวดที่  5  การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

       หมวดที่  6  การจัดกระบวนการ

       หมวดที่  7  ผลลัพธ์การดำเนินการ

 

       หมวด 1,2,3 เน้นให้เห็นความสำคัญว่า ในการนำองค์กร ผู้บริหารต้องกำหนดทิศทางของส่วนราชการโดยมุ่งเน้นที่ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ และการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

       หมวด 5,6 กลุ่มนี้แสดงให้เห็นว่าทั้งบุคลากรและกระบวนการมีบทบาททำให้การดำเนินงานสำเร็จและนำไปสู่ผลลัพธ์การดำเนินการของส่วนราชการกลุ่มพื้นฐานของระบบ

       ทั้งหมวด 1,2,3, 5,6 ส่งผลให้ส่วนราชการมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีการปรับปรุงผลการดำเนินการ โดยใช้ข้อมูลจริงและองค์ความรู้เป็นแรงผลักดันส่วนที่เป็นผลลัพธ์ได้แก่  หมวด 7 เป็นการตรวจประเมินใน 4  มิติ

  

       การนำความรู้จากการศึกษาใบความรู้เรื่อง  การบริหารจัดการภาครัฐ PMQA  ไปประยุกต์ใช้  ในโรงเรียนบ้านควนทอง (ประชาอุทิศ)  ดังนี้

 

ภาระงานที่ได้กระทำไปแล้ว  ดังนี้

  1. การวางแผนยุทธศาสตร์  โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม  เป้าหมาย  พันธกิจ  ยุทธศาตร์  แผนงาน  โครงการกิจกรรม  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละยุทธศาสตร์
  2. มีการดำเนินงานแผนกลยุทธ์
  3. มีการติดตามผลการดำเนินงาน
  4. มีการให้ความสำคัญและคุณภาพของการให้บริการ

 

ภาระงานที่จะกระทำในโอกาสต่อไป

  1. วางแผนกำหนดทำวิสัยทัศน์ร่วมพัฒนาองค์กรใหม่
  2. วางตัวบุคคลในการรับผิดชอบใหม่
  3. พัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานใหม่เพื่อเสริมประสิทธิผลและประสิทธิภาพของงาน

  4.  สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับครูและบุคลากรในการพัฒนารูปแบบใหม่

ปัญหาอุปสรรค

  1. ขาดอัตรากำลังบุคลากร
  2. บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและขาดความตระหนักในเรื่อง  การทำงานที่มุ่งผลความเป็นเลิศของงาน
  3. ขาดงบประมาณมาดำเนินการที่เพียงพอ

                              ................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 419722เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2011 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท