อังกฤษจากข่าว-คำสาปน้ำมันซูดาน [EN]


.

.

สำนักข่าว al Jazeera ตีพิมพ์เรื่อง South Sudan's 'oil curse' = "คำสาปน้ำมัน(ของ)ซูดานใต้" [ al Jazeera ]

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2554 เป็นวันที่ชาวซูดานใต้จะมีโอกาสลงประชามติว่า จะแยกประเทศออกจากซูดานเหนือหรือไม่

.

คนซูดานทางเหนือส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม อยู่ติดทะเล เป็นเมืองท่า บ้านเมืองมีความเจริญค่อนข้างมาก ไม่ค่อยมีทรัพยากร อาศัยสูบน้ำมันจากซูดานใต้มากลั่นขายเป็นรายได้ใหญ่

คนซูดานทางใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์ ไม่ติดทะเล ไม่เป็นเมืองท่า มีน้ำมันใต้ดิน บ้านเมืองไม่มีความเจริญ(ทางวัตถุ) เนื่องจากรัฐบาลที่ตั้งอยู่ทางเหนือไม่ช่วยอะไรทางใต้ แถมยังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อีกต่างหาก

.

มีสำนวนหนึ่งที่ว่า ประเทศ(ด้อยพัฒนา)ที่มีทรัพยากรมาก แต่มีคนที่พัฒนา(มีการศึกษา)แล้วน้อย มักจะมีปัญหาความขัดแย้งในประเทศสูง ทำให้คนในประเทศได้รับประโยชน์จากทรัพยากรน้อย

สำนวนนี้เรียกว่า 'treasure curse' = "คำสาป(จากการมี)ทรัพยากร", สำนักข่าวก็ได้นำสำนวนนี้มาเขียนเป็น 'oil curse' = คำสาปน้ำมัน

ตอนนี้สปอนเซอร์ที่มองไม่เห็น... ได้มอบอาวุธรวมทั้งรถถัง พร้อมทั้งฝึกการใช้อาวุธให้ซูดานใต้แล้ว เพื่อป้องกันการโจมตีจากซูดานเหนือหลังการลงประชามติ 

นางแบบชาวซูดานท่านหนึ่งเล่าว่า ตอนหนีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในซูดานออกไปนั้น... บนฟ้ามีเฮลิคอปเตอร์ไล่ยิง ลงไปในน้ำมีจระเข้รออยู่ข้างล่าง รอดมาได้ก็บุญมากเหลือเกินแล้ว 

ถ้ามีสันติภาพในซูดานใต้ได้... ซูดานใต้คงจะส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น และทำให้ภาวะการขาดแคลนน้ำมันทั่วโลกบรรเทาเบาบางลง

ปีใหม่ 2554 นี้... ขอเชียร์ให้ชาวซูดานทั้งเหนือและใต้ มีความสุข ความเจริญ และได้รับประโยชน์จากสันติภาพใหม่ให้ได้

.

กล่าวกันว่า สิ่งที่จะทำให้คำสาป (curse) หมดฤทธิ์หมดเดชได้มากที่สุด คือ การส่งเสริมการศึกษาให้คนในชาติมีการศึกษา

วิธีดูว่า รัฐบาลไหนจริงใจหรือจิงโจ้(ไม่จริงใจ)กับประชาชน... ให้ดูว่า รัฐบาลนั้นๆ ส่งเสริมการศึกษาจริงจังหรือไม่

.

ถ้ารัฐบาลไทยจริงใจกับประชาชน... ควรส่งเสริมให้คนไทยมีโอกาสทางการศึกษา โดยส่งเสริมสาขาที่ช่วยในการสร้างชาติมากเป็นพิเศษ (วิศวกร-ช่าง-ครู-หมอ)

รัฐบาลที่ดีควรส่งเสริมให้คนเรียนสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ โดยเพิ่มการผลิต และลดการผลิตสาขาที่จบมาแล้วไม่มีงานทำ

.

ตัวอย่างเช่น อาชีวะ นักบิน หมอฟัน พยาบาล หมอ ฯลฯ น่าจะผลิตเพิ่มให้มากพอที่จะรองรับการเป็นฮับ(ศูนย์กลาง)ด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และเมดิคัลฮับให้ได้

ประเทศที่ทำการศึกษาดี มีคนต่างชาติเข้าไปเรียนต่อมากๆ จะมีรายได้จากการศึกษามากมาย เช่น ออสเตรเลีย ฯลฯ

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

หมายเลขบันทึก: 419104เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2011 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"...[ oil ] > [ อ้อย ] หรือ [ อ้อย - เอิ่ว ]..."

perhaps we should read "oil" as "ออย ลื" (long and low ออย and short soft ลื -- but not as short and strong as อ้อย - เอิ่ว).

We have problems reading 'L' at end of syllable: for example 'ball' (บอวลื -- not บอน), 'filter' (ฟิวลื เทอะรื -- not ฟินเตอ), call (คอวลื -- not คอน).

Thank you for another lesson in life ;-)

ขอขอบพระคุณอาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านครับ.... // ระบบการออกเสียงภาษาอังกฤษในไทยแบบที่เรียกว่า 'Phonetic' จริงๆ แล้ว ยังไม่มีครับ --- ที่ผมเทียบเสียงเป็น "อ้อย" เป็นแบบอังกฤษ และ "อ้อย - เอิ่ว" เป็นแบบอเมริกัน -- ลองฟังที่ลิ้งค์ดูน่าจะดี // ภาษาไทยมีตัวสะกดที่ออกเสียงเต็ม 100% ต่างจากตัวสะกดในบางภาษา เช่น พม่า มีตัวสะกดที่ออกเสียง 0%, 40%, 100% หรือภาษาอังกฤษที่ตัว 'L' ออกเสียงประมาณ 20% คล้ายๆ กับตัว "ว" แล้วพ่นลม // วิธีที่ดี คือ ขอให้เทียบตัวออกเสียง 'Phonetic' นี้กับ link เสียงเจ้าของภาษา // ขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆ -- ทว่า... ตอนนี้ยังหาวิธีเทียบเสียง phonetic ที่ดีกว่านี้ไม่ได้ครับ... // ต่อไปเสียง 'L' คงจะใช้วงเล็บแทน เพื่อแสดงว่า เป็นเสียงสั้นมากๆ (staccato) //

ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ครับ... // ผมลองออกเสียงตามที่อาจารย์แนะนำดู >>> เสียง "อ้อย-หลึ" ใกล้เคียงเสียงต้นฉบับมากๆ ทว่า... ยังน้อยกว่า "อ้อย - เอิ่ว" // ลองออกเสียงเร็วๆ ดู -- ขอขอบพระคุณคำแนะนำมากๆ // ขอเรียนว่า ระบบออกเสียง - phonetic - ภาคภาษาไทยยังไม่ลงตัว -- น่าจะใช้เวลาพัฒนาต่อไปประมาณ 3-6 เดือนครับ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท