วิธีป้องกันกระดูกโปร่งบาง(พรุน)+อัมพฤกษ์อัมพาต [EN]


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Broken hip tied to increased risk of stroke' = "ตะโพก (กระดูกขาท่อนบนส่วนต้น ซึ่งมีส่วนหัวอยู่ในข้อสะโพก) หัก (ส่วนใหญ่หมายถึงหักจากอุบัติเหตุเบาๆ เช่น หกล้ม ฯลฯ ในคนที่มีกระดูกโปร่งบางหรือพรุน) เพิ่มเสี่ยงสโตรค", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Reuters ]
.
การศึกษาจากไต้หวันพบว่า คนไข้ที่สะโพกหรือกระดูกต้นขาท่อนบนหัก เพิ่มเสี่ยงสโตรค 50% ภายในปีแรก (หลังหัก) เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีกระดูกหัก (no fractures)
  • [ fracture ] > [ แฟร็ค - เฉ่อ ] แบบอเมริกัน; [ แฟร็ค - เจ่อ ] แบบอังกฤษ > http://www.thefreedictionary.com/fracture > noun = broken bone(s) = การแตก หัก ร้าว

.

 

คนอเมริกัน 311.85 หรือประมาณ 312 ล้านคนกระดูกสะโพกหักมากกว่า 320,000 ราย/ปี

อ.เจียน-ฮอง คัง (Jiunn-Horng Kang) จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ไทเป และคณะ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนไข้ อายุเฉลี่ย 64 ปี 8,400 รายพบว่า คนที่กระดูกสะโพกหัก เพิ่มเสี่ยงสโตรค 50% ในปีแรก

. 

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า โรคหัวใจ-ระบบการไหลเวียนเลือด (เช่น หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ฯลฯ) ทำให้ความหนาแน่นกระดูกลดลง

และในทางตรงกันข้าม, ถ้าความหนาแน่นกระดูกลดลงจนเป็นโรคกระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุนจะเพิ่มเสี่ยงสโตรค (โรคหลอดเลือดสมอง)

.

อ.คัมมิงส์แนะนำว่า วิธีป้องกันสโตรคที่สำคัญหลังกระดูกสะโพก(ต้นขา)หักได้แก่

(1). กินแอสไพรินขนาดต่ำ (baby aspirin) วันละ 1 เม็ดทุกวัน (ข้อนี้จำเป็นต้องปรึกษาหมอใกล้บ้าน หรือหมอที่ดูแลท่านก่อน)

(2). ตรวจเช็คความดันเลือดเป็นประจำ และรักษาให้ต่อเนื่องถ้าพบโรคความดันเลือดสูง
.
(3). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
.
การออกแรง-ออกกำลังที่ช่วยป้องกันกระดูกสะโพกหักได้ด้วย คือ การออกกำลังแบบแอโรบิคหรือคาร์ดิโอ (ป้องกันโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือด) เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก ขึ้นลงบันได ฯลฯ, ออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ออกกำลังกล้ามเนื้อโครงสร้างให้แข็งแรง ฯลฯ, และการออกกำลังเสริมการทรงตัว (balance exercise) เช่น ไทชิ(ชี่กง) เต้นรำ มวยจีน โยคะ ฯลฯ
.
วิธีออกกำลังที่ควรทำเป็นพื้นฐาน (ถ้าทำได้) คือ เดินให้เร็วขึ้น และสะสมเวลาเดินรวมกันให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที ซึ่งจะเดินเป็นช่วงๆ นำเวลามารวมกันก็ได้ และจะดีมากถ้าเดินให้ติดต่อกัน 10 นาทีขึ้นไปในแต่ละช่วง, ร่วมกับการขึ้นลงบันไดตามโอกาสให้บ่อย (ดีที่สุด คือ สะสมเวลาขึ้นลงบันไดให้ได้ 4 นาที/วัน)
.
(4). ไม่ดื่ม(แอลกอฮอล์)หนัก เนื่องจากอาจทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นเร็วจนหลอดเลือดสมองแตกได้ในระยะสั้น และเพิ่มความดันเลือดในระยะยาว
.
(5). ลดอาหาร-เครื่องดื่มประเภท "หวาน-มัน-เค็ม" เช่น อาหารทอด เนื้อสำเร็จรูป (เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ไส้กรอก หมูแผ่น หมูหยอง ฯลฯ) ฯลฯ
.
วิธีป้องกันกระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกหักง่าย (และเสี่ยงตายเร็ว) ได้แก่ [ mayoclinic ]; [ NHS ][ nutritiondata ]; [ whfoods ].
.
(1). กินแคลเซียมให้พอ โดยเฉพาะก่อนอายุ 30 ปีจะสะสมแคลเซียมไว้ในธนาคารกระดูกได้ดีที่สุด อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นมจืดไขมันต่ำ (ชนิดดีที่สุด คือ เสริมวิตามิน D ด้วย) หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม (ควรมีแคลเซียม 25-30% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วันขึ้นไป ดูได้จากฉลากอาหารข้างกล่อง), ปลากระป๋อง ถั่วพู เต้าหู้ ผักใบเขียว
.
(2). รับแสงแดดอ่อนตอนเช้า (ก่อน 9.00 น.) หรือเย็น (หลัง 16.00 น.) วันละ 10-15 นาที เพื่อให้ผิวหนังส่วนที่โดนแดด (และไม่ทายากันแดด) สังเคราะห์วิตามิน D (ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง)
.
(3). กินวิตามิน D ให้มากพอ เช่น ปลาทะเล กุ้ง ตับ(มีวิตามิน D สูง แต่ไม่ควรกินตับหรือน้ำมันตับปลาจำนวนมากหรือกินบ่อย เนื่องจากเสี่ยงต่อการได้รับพิษจากวิตามิน A มากเกินไป), ไข่แดง ฯลฯ, การกินวิตามินรวมที่ไม่แพงและมีวิตามิน D พร้อมอาหารไขมันต่ำวันละ 1 เม็ดเป็นทางเลือกที่น่าจะดีเช่นกัน
.
(4). ไม่สูบบุหรี่ > บุหรี่ลดการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ร่างกายเสียแคลเซียมไปทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น และทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเสื่อมเร็ว
.
(5). ไม่ดื่ม(แอลกอฮอล์)หนัก > แอลกอฮอล์ทำให้เซลล์สร้างกระดูกอ่อนแอ สร้างกระดูกใหม่ได้น้อยลง และลดการดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหาร
.
(6). กินอาหารให้ครบทุกหมู่ กินอาหารหลายชนิดหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไป เพื่อให้ได้รับโปรตีน สารอาหารรอง เช่น แมกนีเซียม ฯลฯ ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ (กล้ามเนื้อที่แข็งแรงช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง และหักยากขึ้น และหกล้มยากขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านหน้า)
. 
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

ที่ มา                 &n

หมายเลขบันทึก: 419033เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2011 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ

ดิฉันชอบดื่มนมค่ะ

แต่ทำไมมีท่านผู้รู้คนหนึ่งบอกว่า การดื่มนมวัวมากๆ เป็นสารก่อมะเร็งเต้านมค่ะ

ท่านบอกให้ดื่มนมภั่วเหลืองแทน แล้วจะมีท๊อกชินเยอะไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ... // การศึกษาที่ผ่านมาไม่พบว่า นมวัวเพิ่มเสี่ยงมะเร็งครับ --- อย่างไรก็ตาม, คนที่เป็นสิวมากๆ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มนม -- ถ้าเป็นสิวปานกลางหรือน้อย ไม่ควรดื่มนมเกิน 430 มิลลิลิตร/วัน หรือลดนมวัวลง ดื่มนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมแทน // สารก่อมะเร็งในอาหารจากสัตว์มีสูตรมาตรฐาน คือ ส่งต่อมาทางน้ำมันหรือไขมัน // วิธีลดเสี่ยงท็อกซินสะสมจากสัตว์ คือ กินนมไขมันต่ำ หรือถ้ากลัวมาก... ให้กินนมไร้ไขมัน -- และเลือกชนิดเสริมวิตามิน D หรือกินวิตามินรวมที่มีวิตามิน D พร้อมอาหารไขมันต่ำ วันละ 1 เม็ด -- รับแสงแดดอ่อน 15-20 นาที/วัน -- ดีที่สุด คือ เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน กระโดดเชือก หรือออกกำลัง-เล่นกีฬากลางแจ้ง //

มีแนวโน้มว่า การมีระดับวิตามิน D ต่ำ ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำลง ร่างกายอ่อนแอลงด้วย // การมีระดับวิตามิน D ในร่างกายต่ำ ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง -- ตรงนี้แสงแดดอ่อนช่วยได้ ปลาทะเล (มีวิตามิน D) ช่วยได้ -- วิตามินรวม กินพร้อมอาหารไขมันต่ำ วันละ 1 เม็ด (มีแบบขายเป็นร้อย หรือเป็นพันเม็ด -- ไม่แพง) ช่วยได้ครับ.........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท