AnthroCat-Thailand
นาย ปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล

เกาะกระแสโรงงานพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย


ถามถึง "พลังงานทางเลือกที่สะอาดบริสุทธิ์" ที่แท้จริง นั้น กระผมก็ยังคงต้องขอเสนอ แหล่งพลังงานที่มีอยู่โดยไม่จำเป็นต้องไปรบกวนธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (๑) พลังงานลม (๒) พลังงานแสงอาทิตย์ (๓) พลังงาานน้ำ ซึ่งคิดว่า การลงทุนเพื่อหาและผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงาน ๓ แห่งข้างต้นนี้ ก็คงใช้ ทุนในการสร้างที่ใกล้เคียงกัน เผลอ ๆ อาจจะถูกกว่าด้วยซ้ำไป ที่สำคัญ แหล่งพลังงานทั้่ง ๓ แหล่ง ก็ไม่ทิ้ง "กากมลพิษ" ไว้แน่นอน และ "ใช้ไม่หมด" ด้วย ดังนั้น จึงคิด กระทรวงพลังงาน และ/หรือ สถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน น่าจะลงทุนค้นคว้าวิจัยเพื่อแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์จากพลังงานเหล่านี้มากยิ่งขึ้น (ด้วยความเคารพ) และล่าสุด ประเทศเยอรมันนี ก็มีการรวมตัวประท้วงของกลุ่มประชาชนที่แสดงจุดยืนและความต้องการที่ว่า "ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์" อีกต่อ ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว (ใยประเทศไทยยังจะอ้างว่า ประเทศที่เจริญล้วนแต่ "ยอมรับ" และ "อาศัย" พลังงานที่ได้จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แทบทั้่งนั้น (วานบอก)

     ท่ามกลางข่าวสารที่พรั่งพรูและฮิตติดกระแสพลังงานทางเลือกของประเทศไทยในขณะนี้ คงหนีไม่พ้น "การสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์" และเรามักจะได้ดูได้เห็นสื่อโฆษณาเชิงสารคดีที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงานผ่านหน้าจอโทรทัศน์อยู่เสมอ ที่คอยนำเสนอถึง "หนทางเลือกที่จำเป็น" "ความปลอดภัย" และ "คุณูประการของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์" ว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตของผู้บริโภคในประเทศไทย (แน่นอนว่า ต้องเน้นไปที่ "กลุ่มนายทุนอุตสาหกรรมหนัก" ทั้งหลายเป็นเบื้องต้น เพราะขนาดรัฐบาลมีนโยบายไฟฟ้าฟรีสำหรับประชาชนทั่วประเทศ ยังไม่มีทีท่าว่าจะไม่เพียงพอใช้ ดังนั้น สำหรับประชาชนแล้ว "พลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน" เพียงพอแน่นอน (ฟันธง)!!!

     คำถามคือ แล้วทำไมต้องสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็เพราะ เชื่อกันว่า "เป็นพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่บรรยากาศโลก (เขาว่าอย่างนั้น) อ่ะ..แล้วสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยสายตาละ เช่น กัมตภาพรังสี หรือ กากปฏิกูลที่เหลือจากการผลิตล่ะ จะจัดการอย่างไร (น่าขบคิดไม่น้อย ใช่ไหมครับ)

     อีกทั้ง สิ่งที่คิดง่าย ๆ ก็คือ จะใช้พื้นที่ส่วนไหนในประเทศไทยเป็น ฐานผลิต (Plant) เพราะเท่าที่นึก ๆ ดู ทุกที่ล้วนแต่มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชนคนไทยแทบทั้งนั้น หรือว่าจะไปก่อสร้างที่ "บนดอย" รึ? ก็เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ ซึ่งไม่ควรไปทำลายหรือรบกวน หรือว่าจะเป็นที่ราบลุ่มต่าง ๆ ก็ เป็นที่นาที่ดินทำกิน ทั้งนั้น - -- ท่านเอ๋ย โปรดช่วยกันคิดหน่อยสิว่าจะเอาพื้นที่ไหนสร้างกันดี (ตรงนี้ก็ช่วยรัฐบาลท่านหน่อย) 

     ถามถึง "พลังงานทางเลือกที่สะอาดบริสุทธิ์" ที่แท้จริง นั้น กระผมก็ยังคงต้องขอเสนอ แหล่งพลังงานที่มีอยู่โดยไม่จำเป็นต้องไปรบกวนธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (๑) พลังงานลม  (๒) พลังงานแสงอาทิตย์  (๓) พลังงานน้ำ ซึ่งคิดว่า การลงทุนเพื่อหาและผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงาน ๓ แห่งข้างต้นนี้ ก็คงใช้ ทุนในการสร้างที่ใกล้เคียงกัน เผลอ ๆ อาจจะถูกกว่าด้วยซ้ำไป ที่สำคัญ แหล่งพลังงานทั้่ง ๓ แหล่ง ก็ไม่ทิ้ง "กากมลพิษ" ไว้แน่นอน และ "ใช้ไม่หมด" ด้วย

     ดังนั้น จึงคิดว่า กระทรวงพลังงาน และ/หรือ สถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน น่าจะลงทุนค้นคว้าวิจัยเพื่อแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์จากพลังงานเหล่านี้มากยิ่งขึ้น (ด้วยความเคารพ)

     ล่าสุด ที่ประเทศเยอรมันนีก็มีการรวมตัวประท้วงของกลุ่มประชาชนที่แสดงจุดยืนและความต้องการที่ว่า "ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์" อีกต่อไป ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว (ใยประเทศไทยยังจะอ้างว่า ประเทศที่เจริญล้วนแต่ "ยอมรับ" และ "อาศัย" พลังงานที่ได้จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แทบทั้่งนั้น (วานบอก) 

     สุดท้าย ก็คงได้แต่ภาวนาว่า ประเทศไทยจะได้แหล่งพลังงานที่ปลอดภัย สะอาด อย่างแท้จริงในอนาคนอันใกล้ ที่มีการลงทุนโดยดไม่คิดถึง "ส่วนต่าง" จากการประมูลโครงการก่อสร้างกับภาครัฐภายใต้แนวคิดที่ว่า "ธุรกิจการเมืองโดยนักการเมืองธุรกิจ" นะขอรับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 418316เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2011 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

(๑) พลังงานลม (๒) พลังงานแสงอาทิตย์ (๓) พลังงานน้ำ .. เพียงพอรึป่าวครับ มองความเป้นไปได้ จะสร้างเขื่อนพลังงานน้ำก็ต่อต้านกัน แล้วรอบๆ ประเทศเราตอนนี้ก็ทยอยสร้างกันแล้ว ไม่ต้องกลัวไม่ปลอดภัยหรอกครับ รอบๆ เมืองไทย ถ้าโรงไหนระเบิดซักโรง ก็มีผลไม่ต่างกัน

จริงๆ ควรจะมาดูว่าตั้งอย่างไร ให้ปลอดภัยสูงสุดดีกว่า ทุกวันนี้ไทยซื้อพลังงานจากเพื่อนบ้านมากมาย หากขัดแย้งที ลาวหรือ พม่า ตัดไฟ ก็จบครับ ความมั่นคงทางพลังงานไม่มีเลย พลังงานทดแทนที่คุณเอ่ยถึงก็จำเป้นต้องพัฒนาในฐานะพลังงานสะอาด ซึ่งก็ต้องคู่กันไป

แต่พลังงานหลักผมมองว่าจำเป้นครับ ประเด็นส่วนต่างของนักการเมือง ไม่ต้องห่วงครับ แม้แต่สร้างป้ายหน้าวัดยังมีค่าหัวคิว หนีไม่พ้นครับ

ขอบคุณครับ

สิ่งที่คิดต่อก็คือ "เพียงพอ" (enough) ก็น่าคิดตรอง

แต่ สิ่งที่ได้ดูได้เห็นจาก รายการสารคดีเชิงพลังงานต่าง ๆ ผ่านจอโทรทัศน์ของประเทศไทย โดยมาก ผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก ก็เป็น นักวิชาการจากหน่วยงานของรัฐทั้่งนั้น ทุกคนพูดในทำนองเดียวกัน คือ "3 พลังงานทางเลือกข้างต้น" มี "เพียงพอ" ต่อการพัฒนาระบบและสร้างฐานการผลิต (ถ้าไม่จริง ก็แสดงว่า รัฐโกหกประชาชน ใช่ไหมครับ)

ยกตัวอย่าง โครงการชั่งหัวมัน ที่ประชาชนรายล้อมใช้พลังงานไฟฟ้าจาก กังหันลม และ อีกหลาย ๆ โครงการ (บนดอยสูง พลังงานจากแสงอาทิตย์) ก็ใช้กันได้สบาย (แต่ขาดการบำรุง)

จริงๆ แล้วประเทศไทย ส่วนหัวของประเทศและรอบข้าง ก็ มีแต่ ระเบิดเวลาทั้งนั้น เราเห็นว่า มี "ระเบิด" ถูกวางรอบบ้าน แล้ว ใยเราจะเพิ่มและนำระเบิดมาไว้ในบ้านอีกละครับ

สวัสดีค่ะ

สุดท้าย ก็คงได้แต่ภาวนาว่า ประเทศไทยจะได้แหล่งพลังงานที่ปลอดภัย สะอาด อย่างแท้จริงในอนาคนอันใกล้

เห็นด้วย และมาช่วยภาวนาค่ะ

ล่าสุด ที่ประเทศเยอรมันนีก็มีการรวมตัวประท้วงของกลุ่มประชาชนที่แสดงจุดยืนและความต้องการที่ว่า "ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์" อีกต่อไป ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว

ก็หวังว่าเมื่อถึงเวลานั้น นักวิชาการ (แท้จริง) นักสิ่งแวดล้อม (ตัวจริง) และประชาชนคนไทย (จริงๆ) จะออกมาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อลูกหลานในอนาคต และสมช.ร่วมโลก

Ico48 mee_pole

ขอบคุณที่ให้ดอกไม้ และ ที่เข้ามา ลปรร ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท