เรื่องเล่า : การใช้สารสกัดชีวภาพ(น้ำหมัก)ลดต้นทุนในสวนส้มเขียวหวานรายใหญ่ได้จริง


สรุปว่าหากใช้สารเคมีอย่างเดียวพ่นครั้งหนึ่งจะหมดค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาทต่อครั้ง หากมีการใช้สารสกัดชีวภาพไปด้วย จะลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 30% หรือมีค่าใช้จ่ายเพียง 1,200 บาทต่อครั้ง สำหรับการใช้สารสกัดชีวภาพ

เรื่องเล่าเร้าพลัง

คุณสมบูรณ์ เณรตาก้อง

          คุณสมบูรณ์ เณรตาก้อง  เจ้าของสวนส้มก้องเจริญ หมู่ที่ 9 บ้านมาบไผ่ ตำบลเทพนิมิตร กิ่ง อ.บึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร     ได้เล่าให้ที่ประชุมสัมมนานักส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ (ลิงค์อ่าน) ในวันที่ 20 มิถุนายน 2549  ว่า อาชีพเดิมตนและครอบครัวได้ประกอบอาชีพทำไร่อ้อยเพื่อส่งโรงงาน จากเดิมทำการปลูกอ้อย จำนวน 900 ไร่ เพื่อทำการปลูกอ้อยไประยะหนึ่ง ก็ประสบปัญหาด้านราคาและภาวะด้านการตลาดของอ้อยไม่ดีเท่าที่ควร จึงได้ตัดสินใจแบ่งที่ดินขายไปจำนวนหนึ่ง (400 ไร่) พร้อมขายทรัพย์สินส่วนหนึ่ง เช่น รถยนต์สิบล้อที่เคยใช้ในการบรรทุกอ้อยส่งโรงงาน เป็นต้น ได้เงินทุนมาจำนวนหนึ่งประมาณ 22 ล้านบาท

          ในขณะเดียวกันในช่วงปี พ.ศ. 2544 กระแสของการปลูกส้มเขียวหวานที่มีการอพยพ จากเขตจังหวัดปทุมธานี มาปลูกในเขตกิ่งอำเภอบึงสามัคคี โดยมีการปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ทำนาแล้วยกร่องมาปลูกส้มเขียวหวานแทนนาข้าว จึงอยากจะปลูกส้มเขียวหวานเพื่อทดแทนการปลูกส้ม ซึ่งได้คาดการณ์แนวโน้มว่าส้มเขียวหวานน่าจะมีลู่ทางการตลาดที่ดีกว่าอ้อย “จึงได้ตัดสินใจว่าจะปลูกส้มเขียวหวาน จำนวน 450 ไร่” 

          ห้วงระยะเวลาเดียวกันก็มีทางสมาชิก อปท. (ในเขตพื้นที่ได้หาเกษตรกรไปเข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตร การผลิตสารสกัดชีวภาพในทางการเกษตร” ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ โดยมีอาจารย์วิวัฒน์ ที่ปรึกษาโครงการตามแนวพระราชดำริของในหลวง เป็นวิทยากร (สถานที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี) “คุณสมบูรณ์ เณรตาก้อง ยังได้เล่าต่อว่าเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อการที่จะทำการปลูกส้มเขียวหวานที่ตนเองและครอบครัวตัดสินใจว่าจะปลูก จึงได้ส่งบุตรไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ จำนวน 6 คน เพื่อที่จะได้กลับมาบริหารจัดการสวนส้มร่วมกันทั้ง 450 ไร่ เมื่อเดือนกันยายน 2549 ระยะเวลา 7 วัน

 

 คุณสุบิน เณรตาก้อง

          จากนั้น “คุณสุบิน เณรตาก้อง” ซึ่งเป็นบุตรของคุณสมบูรณ์ เณรตาก้อง และเป็นผู้หนึ่งที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวและยังเป็นผู้จัดการสวนส้มก้องเจริญอีกด้วย ได้เล่าต่อจากคุณสมบูรณ์ เณรตาก้อง โดยได้เริ่มต้นเล่าว่าหลังจากที่ตนเองพร้อมพี่น้องรวมกันทั้ง 6 คน ได้เข้ารับการฝึกอบรมที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติฯ จังหวัดชลบุรี เมื่อเดือนกันยายน 2544 ได้กลับมาทำน้ำหมักจากสารสกัดชีวภาพ

          เริ่มแรกใช้สมุนไพรท้องถิ่น หาง่ายได้แก่ ตะไคร้หอม , บอระเพ็ด , หนอนตายหยาก , กลอย และยังมีการทดลองทำน้ำหมักจากเศษอาหาร ในการหมักได้มีการกำหนดอัตราส่วน 3:1:1:10 (เศษอาหารหรือสมุนไพร 3 ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน : หัวเชื้อ 1 ส่วน : น้ำ 10 ส่วน) มีการทดลองนำไปใช้กับพืชผักก่อน โดยใช้อัตราส่วน 200 ซีซี : น้ำ 20 ลิตร เห็นว่าได้ผลก็จึงนำไปทดลองใช้ในส้มเขียวหวาน อัตรา 30 ซีซี : น้ำ 20 ลิตร เพื่อขับไล่แมลง นอกจากนั้นมีการทดลองนำสารสกัดชีวภาพ โดยให้ทางดิน ในอัตรา 500 ซีซีต่อต้น

490622213

          ทั้งนี้ไม่ได้ใช้สารกำจัดวัชพืชในไร่ส้มเลย แต่ใช้วิธีการตัดหญ้าแทนจากการสังเกตพบว่า เกิดจุลินทรีย์ในดินทำให้ดินร่วนซุย มีความชื้นในดินดี ส้มเจริญเติบโตงามสารสกัดชีวภาพ (น้ำหมัก) มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ สำหรับการใช้สารเคมีในไร่ส้มนั้น คุณสุบิน เณรตาก้อง ยังได้เล่าต่อไปว่า ในช่วงระยะที่ส้มแตกใบอ่อน ยังมีการใช้สารเคมีแต่จะใช้เท่าที่มีความจำเป็น โดยจะใช้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำ แต่หลังจากแตกใบอ่อนแล้ว จะเริ่มใช้สารสกัดชีวภาพ เมื่อใบส้มแก่มีอายุประมาณ 30 วันขึ้นไป ผลจากการได้ปฏิบัติจริงพบว่า - หนอนแก้วส้ม ใช้หนอนตายหยาก - เพลี้ยอ่อน ใช้กลอย ผสมกับหนอนตายหยาก - หนอนอื่น ๆ ใช้บอระเพ็ด/หนอนตายหยาก/สาบเสือ/สะเดา

          สุดท้ายคุณสุบิน เณรตาก้อง ยังได้สรุปผลว่าจากการที่ทำสวนส้มเขียวหวาน มาตั้งแต่ปี 2545 ถึงปัจจุบันมีข้อสรุปว่าหากใช้สารเคมีอย่างเดียวพ่นครั้งหนึ่งจะหมดค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาทต่อครั้ง หากมีการใช้สารสกัดชีวภาพไปด้วย จะลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 30% หรือมีค่าใช้จ่ายเพียง 1,200 บาทต่อครั้ง สำหรับการใช้สารสกัดชีวภาพ

          บันทึกเรื่องเล่าโดยคุณสายัณห์  ปิกวงค์  ในการสรุปการสัมมนา ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ในการเป็นบทเรียนสำหรับเกษตรกรที่ต้องการลดต้นทุนการใช้สารเคมีลง โดยมีตัวอย่างของสวนรายใหญ่ ที่หันมาใช้สารสกัดชีวภาพควบคู่กันไป  ซึ่งปกติจะหาเกษตรรายใหญ่ที่ใช้สารสกัดชีวภาพทดแทนสารเคมีค่อยข้างหายากพอสมควร หากสนใจรายละเอียด หรือต้องการศึกษาดูงาน เจ้าของสวนยินดีที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกรรายอื่นๆ ที่สนใจครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 41737เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2006 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจังเลยครับ

ไม่ทราบว่าพี่วีรยุทธนำไปเผยแพร่แถว ๆ คลองลานบ้างหรือเปล่าครับ เพราะแถวบ้านผมเขาปลูกส้มเขียวหวานกันเยอะเลย

เรียน อาจารย์ปภังกร

  • นักส่งเสริมของอำเภอคลองลานก็ได้ฟังเรื่องเล่านี้ทุกคนครับ (เพราะอยู่สายเดียวกัน)  น่าจะได้มีการนำแนวทางนี้ไปเผยแพร่ต่อครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท