การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก


การบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก

                                             บทคัดย่อ

หัวข้อวิทยานิพนธ์         การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริม    

                                 คุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก   

ผู้วิจัย                        นายเพชร  แก้วดวงดี

ปริญญา                     ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา                   การบริหารการศึกษา

ประธานกรรมการที่ปรึกษา       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนอ  ภิรมจิตรผ่อง

กรรมการที่ปรึกษา                  รองศาสตราจารย์ ดร.อุทัย  บุญประเสริฐ

ปี พ.ศ.                                  2553

 

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์   เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ที่ส่งเสริมต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และ โดยการทดลองใช้จริงที่บริบทโรงเรียน

                      ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนขนาดเล็กดีเด่นที่ผ่านการประเมินระดับดี และดีมาก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 6 คน  และครู จำนวน 35  คน สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยเจาะจง จำนวน 100 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน โรงเรียนขนาดเล็ก 2 โรงเรียน ครูและผู้บริหาร 9 คน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                      ผลการวิจัยพบว่า

                      1.   การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก  ด้านวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาคุณภาพ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ และมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น 2) เพื่อพัฒนาโรงเรียน  ผู้บริหาร ครู และนักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานตามเกณฑ์ที่หน่วยงานประเมินกำหนด  และ 3) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล คณะกรรมการ ชุมชน องค์กรทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ คือ 1) การบริหารต้องเน้นที่คุณภาพและมาตรฐานที่เกิดกับโรงเรียน ครู และผู้เรียน 2) การบริหารจัดการต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมจาก ครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาชุมชนและองค์กรต่างๆ และ    3) การมุ่งมั่นทุ่มเท  สร้างศรัทธา สร้างทีมงานให้เป็นมืออาชีพของผู้บริหารเพื่อ ให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการ  ส่วนที่เป็นระบบและกลไกของรูปแบบ คือ 1) การมีสื่อ เทคโนโลยี  ที่เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม รวมทั้งใช้ระบบการนิเทศ พัฒนาครู กำกับ ติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอด้วยสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2) ครูมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เชื่อถือ ศรัทธาในระบบกลไกการบริหาร    มีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ มีความรับผิดชอบมุ่งความก้าวหน้าในวิชาชีพ  มีขวัญกำลังใจ ทำงานเป็นทีม ที่เป็นระบบ มีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่เน้นคุณภาพผู้เรียน และ 3) ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำเชิงบารมี มุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่เป็นแบบอย่างและสร้างศรัทธาให้ครูและชุมชนมีความเชื่อมั่นในแนวทางการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพ ส่วนยุทศาสตร์  ที่สำคัญของรูปแบบ คือ 1) พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนของครูให้เป็นทีมงานยกระดับคุณภาพโรงเรียน  2) สร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน และ 3) ส่งเสริมการใช้สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสมอย่างหลากหลายในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน  และด้านการประเมินรูปแบบ คือ 1) ตรวจสอบจากผลสัมฤทธิ์ผลการเรียน จากแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือจาก การทดสอบโดยองค์กรภายนอก 2) ใช้เครื่องมือและตัวชี้วัดของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และ 3) ใช้การประเมินแบบผสมผสาน ทั้งมีรูปแบบ ไม่มีรูปแบบ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

                      2.   ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริมต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่เกิดจากการสังเคราะห์เอกสาร การศึกษาเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และจากการประเมินความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ  พบว่า  รูปแบบดังกล่าว มีค่าเฉลี่ยรวมทุกองค์ประกอบในระดับ ความเหมาะสมอย่างยิ่ง

                      3.   ผลการทดลองรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยนำรูปแบบไปทดลองใช้ 2 โรงเรียน ใน 1 ภาคเรียน พบว่า ผลการประเมินหลังจากนำรูปแบบบริหารจัดการที่ส่งเสริมต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ไปทดลองใช้  ทั้ง 2 โรงเรียน มีผลการประเมินโดยรวมทุกมาตรฐานเพิ่มขึ้น จากระดับ พอใช้ เป็นระดับดี ทั้ง 2 โรงเรียน และผลการสอบถาม สัมภาษณ์ผู้บริหาร และคณะครู ที่โรงเรียนขนาดเล็ก ทั้ง 2 โรงเรียน ขณะทดลองใช้รูปแบบ และหลังการทดลองรูปแบบ  มีความเห็นต่อรูปแบบ ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง

 

                                             ABSTRACT

 

The Title            The Development of Educational Administration Enhancing

                          Educational Quality Model  in Small-Sized Schools

The Author         Mr. Pet Kaewduangdee

Degree                Doctor of Educational

Program                    Educational Administration

Chairman, Dissertation Adviser     Assoc. Uthai  Boonprasert, Ph.D.

Dissertation Adviser                      Asst. Saner  Piromjitpong, Ph.D.

Years                                            2010

 

                      The objectives of this study were to develop an enhancing educational quality model for small-sized schools under the jurisdiction of the National Basic Education Commission and to evaluate the developed model by means of the educational experts and an actual experiment in the schools.

                      The population of the study included six small-sized schools obtaining the good and very good levels of education standards and quality assessment rewards from the National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA). Six small-sized schools including six school administrators and 35 teachers were employed for assessing the effectiveness of the developed model. The sample group of the study, purposively selected, consisted of 100 participants, 17 educational experts, two small-sized schools, nine teachers and school administrators. The statistics used in data analysis included percentage, mean, and standard deviation.  

                      The research findings were as follows:

                            1.   In terms of the development of educational administration enhancing educational quality model of small-sized schools, five components of the model were constructed. 1) Objectives, three objectives were gained: (1) to develop qualities of student’s learning achievement, (2) to develop schools, administrators, teachers, and students to be qualified as required by the authorized organization’s criteria set up, and (3)  to promote and support school personnel community committee and involved bodies to participate in educational administration. 2) Model conceptualization, the following were derived: (1) school administration concentrating on quality and standards of schools, teachers, and students, (2) school administration enhancing participation of teachers, student’s parents, school educational committee, and other organizations, (3) school administration focusing on devotion, construction of faith and professional teamwork of administrators. 3) System and mechanics of the model, three aspects were obtained: (1) sufficient provision of effective technology such as the Internet, computer, distant media, including supervision system, teacher development, regular follow-up and monitoring through media, innovation, and technological tools, (2) teachers devoting to work, being responsible for duties with good morale and professional-oriented advancement, believing in teamwork and administrative system, planning, and student quality goal-oriented teaching, (3) the administrators having leadership, responsibility, devotion to work, and credibility, and living life as example to teachers and community. 4) Model strategies, three strategies were developed: (1) to develop teaching and learning system by promoting the teachers to work as a team, (2) to build readiness of  and strengthen schools, and (3) to promote the use of media, technology and appropriate innovations in school administration and teaching and learning. 5) Model evaluation, the following aspects were derived: (1) assessment of learning achievement of the student by means of the National Basic School Committee’s testing and that of other external organizations, (2) using instruments and indicators of the National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA), and (3) using the multievaluation testings both formal and informal ones.

                            2.   For the evaluation of the educational administration model developed through the examination of documents, qualitative and quantitative studies, as well as from the evaluation of the experts, it was found that all of the aspects of model constructed gained the mean score at  a very appropriate level.

                            3.   With regard to the experiment of the model developed conducted in two small-sized schools in one semester, the finding of the schools’ effectiveness in all aspects of the model indicated the effectiveness at a good level in both schools. The result of the interviews of school administrators and teachers in both schools while in the experimental process and after the experiment showed their agreement with the model aspects being asked at a higher level of agreement.

หมายเลขบันทึก: 417031เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2010 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โรงเรียนขนาดเล้กมีมาก ได้รับการใส่ใจส่งเสริมไม่จริงจังต่อเนื่อง หวังว่าวิจัยชิ้นนี้จะมีส่วนช่วยให้ดีขึ้นนะครับ

ขอขอบพระคุณท่าน ครูหยุยที่ให้ความเห็นต่อผลวิจัยและวิทยานิพนธ์นี้

ดร.เพชร แก้วดวงดี

วีระศักดิ์ เอกศรี

เป็นงานวิจัยที่มีคุณค่ามาก ผมจะนำไปใช้ในโรงเรียนต่อไปครับ

สวัสดีคะ Dr.

สนใจงานวิจัยท่านค่ะ เพราะตอนนี้ก็กำลังทำโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นรุ่นน้องท่านค่ะ (รุ่นสอง)

ชื่อเรื่องที่กำลังทำ.."รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จขนาดเล็ก กรณีศึกษาโรงเรียน.......และโรงเรียน......"

แต่ยังหาโรงเรียนไม่ได้คะ ท่านช่วยแนะนำบ้าง ขอบพระคุณอย่างสูง

ขอบคุณครับคุณส่งศรี

ถ้าจะศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบผลสำเร็จ ควรเลือกโรงเรียนที่ดีเด่นและเป็นเลิศในด้านวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา อาจไม่ใช่โรงเรียนขนาดเล้กที่ ผ่านในระดับดีมาก 14 มาตรฐานเหมือนผมนะอยากให้ศึกษาโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นระดับประเทศ ซึ่งขณะนี้มีมากอยู่แล้ว เพราะจากที่ผมไปศึกษา มีบางโรงเรียนน่าทึ่ง และสุดประทับใจ แต่มีบางมาตรฐานที่ ได้เพียงระดับ"ดี" จาก สมศ. และอยากเสนอแนะว่า ควรเป็นโรงเรียนที่เป็นผลมาจากการบริหารจัดการ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพราะสองสิ่งนี้ ทุกโรงเรียนจะต้องมีอยู่แล้ว เพื่อจะได้เป็นประโยชน์และเผนแพร่ ต่อโรงเรียนอื่นต่อไป (กรุญาอย่าเลือกปัจจัยอื่น เช่น ผู้บริหารที่เป็น ดร.มีความรำรวย หรือโรงเรียนที่อยู่ในอุปถัมภ์ของมูลนิธิ สมาคม ชมรม หรือโรงเรียนที่มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรที่หลากหลาย ) ที่ส่งผล เพราะจะไม่สามารถนำไปใช้ได้ และไม่มีประโยชน์

หากมีสิ่งใดจะให้ผมช่วย ก็ยินดีนะครับ

ดร.เพชร แก้วดวงดี

ผศ.ดร.พิมพ์อร สดเอี่ยม

น่าสนใจมาก มีนักศึกษาหลายคนที่สนใจประเด็นนี้ ได้แนวคิดที่ดี

ฐิตินันท์ นันทะศรี

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมากครับ ท่าน ดร.เพชร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท