การเปิดเสรีทางการเงินกับข้อจำกัดที่ไทยสร้างขึ้นเพื่อต่อเวลา


การสกัดกั้นกระแสเงินทุนเสรีโดยการสร้างข้อจำกัดในด้านการบริการ และการลงุทนจะสามารถต่อเวลาให้แก่ผู้ประกอบการไทยได้ยาวนานเพียงใด

                

             การให้บริการทางการเงิน ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง GATS ซึ่งมีการวางหลักการไว้โดยสรุปดังนี้               

             บริการด้านการเงินทุกประเภทอยู่ภายใต้บังคับของ GATS เว้นแต่ที่ใช้โดยรัฐ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางการเงินที่มิใช่เพื่อการพาณิชย์ของธนาคารชาติหรือธนาคารกลางหรือระบบสวัสดิการสังคมหรือกิจกรรมของหน่วยงานของรัฐทีได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ดังนั้นในทางปฎิบัติก็เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกบการธนาคาร การประกันภัย                

             ในการเจรจาพหุภาคีได้มีการเปิดเสรีในเรื่องการออกใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบการต่างชาติ การเข้าควบคุมธนาคารและวิสาหกิจด้านประกันภัยท้องถิ่นโดยต่างชาติ และการเข้าร่วมของวิสาหกิจต่างชาติในการแรรูปองค์กรให้เป็นภาคเอกชน (Privatisation) อย่างไรก็ตามมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐอเมริกา ปฏิเสธการเข้าร่วมในการเจรจาเนื่องจากเห็นว่าขัดกับหลักชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์อย่างยิ่ง และมีบางประเทศที่เข้ารวมการเจรจาแต่ไม่เปิดหรือจำกัดการเข้าสู่ตลาดของตนจนเกินไป อันทำให้จำกัดช่องทางในการเจรจาเพื่อเปิดเสรีทางด้านการบริการต่อไป ต่อมาได้มีการเจรจาจนบรรลุข้อตกลงและมีผลให้มีการแข่งขันสำหรับตลาดบริการด้านการธนาคารและการประกันภัยถึง 95% ของโลก ประเทศสมาชิกมีหน้าที่ในการเปิดเสรีเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินบนดินแดนของตน จึงเป็นที่มาของการยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับสัญชาติ และการจัดตั้งสาขาของบริษัท

                 ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการ การให้บริการในด้านการเงินมีการยกเว้นจากข้อผูกพันเฉพาะ ในลักษณะที่รัฐสมาชิกมีหน้าที่คงข้อจำกัดในกฎหมายไว้อย่างไม่เพิ่มเติมขึ้นอีก และใช้วิธีการทำรายการมาตรการเปิดเสรีในเรื่องกรเข้าสู่ตลาดและการปฏิบัติอย่างคนชาติซึ่งรัฐไม่ต้องเข้าผูกพัน โดยข้อผูกพันเฉพาะหรือพิเศษของรัฐสมาชิกปรากฏอยู่ในรายการหรือตารางของการให้บริการซึ่งต้องมีการระบุข้อจำกัดที่ใช้กับการค้าบริการในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการให้บริการ เมื่อการเจรจาพหุภาคีสิ้นสุดรัฐสมาชิกต้องไม่สร้างข้อจำกัดเพิ่มขึ้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดในภาคการบริการ รัฐสมาชิกจะต้องแจ้งข้อจำกัดสำหรับการให้บริการ และในการเปิดตลาดเสรีด้านบริการโดยอาศัยวิธีการข้ามแดน จะต้องมีการอนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวเงินทุนได้อย่างเสรี ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในภาคการบริการโดยเฉพาะด้านการเงิน ส่วนการปฎิบัติเยี่ยงคนชาติ เป็นพนธกรณีขั้นพื้นฐานให้รัฐสมาชิกปฎิบัติกับคนต่างชาติเช่นเดียวกับคนชาติของตน สำหรับการให้บริการที่คล้ายคลึงกัน แต่ครอบคลุมเฉพาะภาคบริการที่มีข้อผูกพันและตามข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในรายการ และรัฐสมาชิกสามารถที่จะเจรจาในเรื่องที่มิได้อยู่ในขอบเขตของความตกลงโดยเฉพาะในเรื่องมาตรฐาน คุณสมบัติ การขออนุญาตประกอบกิจการ และข้อผูกพันที่เกิดขึ้นนั้นจะตกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายทั่วไป โดยไม่อาจเพิ่มข้อผูกพันได้อีก โดยกฎหมายที่มีลักษณะของข้อจำกัดดังกล่าวคือ พ.ร.บ ว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งมีการสร้างขอจำกัดเกี่ยวกับการเข้ามาตั้งบริษัทหรือประกอบกิจการในประเทศไทย โดยธุรกิจที่มีข้อจำกัดนั้นรวมถึงธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการทางการเงินด้วย                               

 การเงินระหว่างประเทศ = International finance / กรรณิการ์ ลิปตพลลภ.

รวมบทความวิเคราะห์ข้อตกลง GATT ผลกระทบและการปรับขีดความสามารถของไทย / จัดทำโดย ส่วนวิเคราะห์เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ฝ่ายวิชาการ ธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน).
หมายเลขบันทึก: 41686เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2006 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 05:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะที่ได้รับเนติบัณฑิต น้องติ๊กเก่งมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท