ชีวิตจิตอาสา(๓) สร้างคน บ่มเพาะจิตวิญญาณ(๑)


ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าตัวเองเป็นผลผลิตจากกระบวนการสร้างคน บ่มเพาะจิตวิญญาณเพื่อการทำงานเชิงอุดมคติ บัณฑิตอาสาสมัคร ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรของบัณฑิตอาสาที่เน้นทักษะการถ่ายทอดขยายผลความรู้และทักษะการปฏิบัติทางด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของการเฝ้าระวังเอชไอวี/เอดส์ และเพศศึกษา ในยุคแรกเริ่ม ..

บัณฑิตอาสา ทั้งหมด ๓๕ คนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักกิจกรรม จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามา จะได้รับการฝึกฝนจากอาจารย์สหสาขา ทั้งทางด้านสังคมมานุษยวิทยา สุขศึกษาชุมชน จิตวิทยา การวิจัย การจัดการและการใช้เครื่องมือเพื่อการเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ประนึงเมื่อผ่านหลักสูตรนี้แล้วจะสามารถปฏิบัติภารกิจของการเป็นนักวิจัยชุมชนได้เป็นอย่างดี ..

วิชาหนึ่งที่น่าสนใจ คือ วิชา volunteer สอนโดยอาจารย์สมหมาย วันสอน จากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) นายแพทย์ ดร.สมอาจ วงษ์ขมทอง รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ในสมัยนั้น .. อาจารย์สมหมาย ซึ่งวิธีสอนของอาจารย์ออกแนวลูกทุ่งๆ แต่อาจารย์สามารถให้ความหมายของคำว่า volunteer ได้ดีเพราะอาจารย์เป็นนักสังคมแนวมานุษยวิทยา ส่วนอาจารย์หมอสมอาจ ท่านเป็นนายแพทย์หนุ่มไฟแรง ที่มีแนวคิดสะท้อนการทำงานเชิงพื้นที่ และความเป็นผู้นำแบบนักสาธารณสุข .. และอาจารย์ทำให้ได้รู้จักกับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์ คุณหมอแมกไซไซ ผู้อำนวยการท่านแรกของสถาบันฯ อาเซียน วิถีปฏิบัติของอาจารย์ทำให้เราซาบซึ้งใจกับคำว่า ผู้นำ ที่ให้คุณค่ากับผู้อื่นตลอดเวลา (Add value to people) ..

ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.พันธุทิพย์ รามสูตร และคณะของท่าน สอนให้พวกเรารู้จักเครื่องมือในการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAR) ซึ่งในทุกวันนี้ทุกเครื่องมือที่ใช้ต้นกำเนิดมาจากกระบวนการทำงานทางการวิจัยที่มาจากท่านและคณะ ..

Large_entry-community
ขอบคุณภาพการ์ตูนประกอบโดย : ผศ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

การปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาจะไปแบบเดี่ยวๆ คงเป็นไปไม่ได้ ทักษะการทำงานเป็นทีม ที่ได้รองศาสตราจารย์ ดร.นวรัตน์ สุวรรณผ่อง ปัจจุบันท่านอยู่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศรา ชูชาติ ปัจจุบันท่านอยู่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ปัจจุบันท่านอยู่ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้ง ๓ ท่านจะเป็นผู้ดูแลพวกเรา ทั้งสอน ทั้งฝึกฝน ทั้งเป็นพี่เลี้ยงในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ..

กระบวนการต่างๆ ที่ทุกๆ ท่านช่วยกันออกแบบอย่างพิถีพิถันนั้นก็เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับพวกเรานั้นเป็นไปอย่างมีความหมายทุกขั้นตอน แต่นั้นหมายถึงเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งที่จะทำให้เราได้เข้าใจชีวิตด้วย ซึ่งทำให้พวกเราบัณฑิตอาสาเข้าถึงวิถีปฏิบัติของนักวิจัยชุมชน มีภาวะผู้นำ มีทักษะการสื่อสารที่ดี มีจิตที่เป็นสาธารณะ ..

------------------------------------------------
บันทึกที่เกี่ยวข้อง
ชีวิตจิตอาสา (๑) http://gotoknow.org/blog/speakout/354634
ชีวิตจิตอาสา (๒) : ความไว้วางใจ http://gotoknow.org/blog/speakout/387043

 

หมายเลขบันทึก: 414959เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2010 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

ค่ายจิตอาสา เป็นกิจกรรมหนึ่งที่บ่มเพาะเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้เกิดขึ้นกับนักกิจกรรม  อยากเห็นคนในสังคมมีจิตสาธารณะกันมาก ๆค่ะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณ✿อุ้มบุญ✿

  • ตื่นเช้ามา อากาศกำลังดี เตรียมพร้อมที่จะไปช่วยเพื่อนนักวิจัยทำเวทีถอดบทเรียนคนทำงานสุขภาพปฐมภูมิ แต่ขอเปิดเช็คเมล์ และเข้าโกทูโนแป๊บบนึง ก็ต้องยิ้มเลยหล่ะค่ะ และก็ถึงบางอ้อว่า อ้อ เข้าใกล้ช่วงเทศกาลแห่งความสุขเข้ามาทุกทีแล้วสินะนี่ ..
  • ขอบพระคุณคุณอุ้มบุญนะค่ะที่แวะมาส่งความสุขให้ สวัสดีปีใหม่แด่คุณอุ้มบุญ และขอให้คุณอุ้มบุญและครอบครัวมีความสุขสมหวัง ตลอดปี และตลอดไปค่ะ =)

สวัสดีค่ะ

ชื่นชมจิตอาสาของทุกท่าน

มาสวัสดีปีใหม่ด้วยค่ะ

สวัสดีครับ คุณณัฐพัชร์

อ่านบันทึกนี้แล้วเข้าใจ จิตอาสาในมุมมองที่กว้างขึ้นเรื่อย ๆ

คุณณัฐพัชร์ เชื่อมโยงจิตอาสาไว้หลายบันทึกเลยนะครับ...มีเวลาว่างจะตามไปที่ link

อ่อนที่สุด...เริ่มจากการฟัง ไล่ไปเรื่อย ๆ จนเป็นภาวะผู้นำ ดังตัวอย่างบุคคลที่คุณณัฐพัชร์กล่าวถึงใช่มั้ย ครับ

ขอบคุณบทความ ดีดี ที่ได้อ่านเช้า ครับ

สวัสดีค่ะ พี่ครูคิม

  • ความเป็นคนมีจิตสำนึก สำหรับบางคนอาจมีมาก่อนการทำค่ายจิตอาสาด้วยซ้ำไปนะค่ะ พื้นฐานของครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ .. แต่คิดว่าใช่ค่ะสำหรับค่ายจิตอาสาจะช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะเข้าไปอีก อย่างตัวเองไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมสมัยเรียนหนังสือ ไม่ค่อยลุกขึ้นอาสาทำอะไร (เป็นเด็กขี้อายสุดๆ) แต่มักจะโดนครอบครัวและญาติพี่น้องหนุนให้ทำโน่น ทำนี่เสมอๆ เพราะเป็นโรงเรียนของเราเอง ฮ่าา ฮ่าา และไม่เคยเข้าค่ายที่ไหน อ้อ! เคยเข้าค่ายยุวกาชาด สมัยเด็กน้อยค่ะ ^^"
  • สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับโอกาสที่ผู้ใหญ่จะเปิดให้กับเยาวชน โดยเฉพาะกับเด็กด้อยโอกาสมากๆ และนั่นคือสิ่งที่พี่ครูคิมและเพื่อนกำลังทำอยู่นั่นแหละค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้พี่ครูคิมและเพื่อนๆ นะค่ะ ..

สวัสดีค่ะ พี่ณัฐรดา

  • ขอบคุณค่ะ สำหรับดอกไม้สวยๆ
  • สวัสดีปีใหม่ ๒๕๔๕ ความสุขสมหวังขอมีแก่พี่ณัฐรดา และครอบครัว ม๊าก มากนะค่ะ =)

สวัสดีค่ะ คุณแสงฯ

  • ขออนุญาต cut ตรงจุดที่คุณแสงฯ ให้ความสนใจยกไปคุยในอีกบันทึกนึงนะค่ะ เพราะจะขอขยายความเพิ่มเติมหน่ะค่ะ ..
  • ตอนนี้รับรู้ความรู้สึกตัวเองอย่างหนึ่งได้ว่า ในสภาวการณ์ปัจจุบันทำให้เกิดล้าจนระดับอุดมการณ์ในตัวเองอ่อนแรงจนน่าใจหาย เลยขอเขียนบันทึกชุดนี้ขึ้นเพื่อเร่งระดับให้กับมันลุกโชนขึ้นมาอีกครั้งค่ะ ;o)
  • ขอบพระคุณคุณแสงฯ มากๆ เช่นกันค่ะที่ติดตาม =)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท