- ด้วยพี่จุดมีโอกาสอ่านรายงานเรื่อง Drug Conference ครั้งที่ 1 ของ ICU ซึ่งเป็นการ ลปรร กันในกลุ่ม สหวิชาชีพ ประกอบด้วย อาจารย์แพทย์ พยาบาล เภสัชกร พี่จุดคิดว่ามีประโยชน์และน่าจะนำมาถ่ายทอดเพื่อ ลปรร กันใน บล็อก จึงได้ขออนุญาต คุณจารุวรรณ บุญรัตน์ หัวหน้า ICU 2 ( อายุรกรรม ) นำรายงานดังกล่าวมาเผยแพร่ ซึ่งคุณจารุวรรณ ยินดี และ เต็มใจ อย่างยิ่ง พี่จุดขอเป็นตัวแทนของผู้อ่านขอบคุณ คุณจารุวรรณ มากๆด้วยนะคะ
1. RI…. เก็บใน อุณหภูมิห้องได้นาน 6 weeks แต่เนื่องจากการ continuous drip ใน ward มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อสูง ในการผสมแต่ละครั้ง ควร drip ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง จึงควร drip ด้วย syringe pump เพราะต้นทุนประหยัดกว่าใช้ Infusion pump
2. Streptokinase ให้ได้ใน ST elevate MI โดยให้เร็วที่สุดหลังจากวินิจฉัย 30 นาทีเป็นต้นไป drip ให้หมด ภายใน 1 ชั่วโมง ให้ที่ไหนก็ได้ แต่ต้อง monitor อาจมี arrhythmia , anaphylaxis ( BP drop , laryngeal edema ) ถ้ามี anaphylaxis รุนแรงให้หยุดยาทันที แต่ถ้ามีความดันโลหิตต่ำเล็กน้อยให้ IV แล้วดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องหยุดยา หลังให้ยา 2 ชม. ไปแล้วสามารถทำ Intervention ได้ เพราะอาจเกิดแค่ local bleeding สามารถ control ได้ ยกเว้น deep surgical (แต่ส่วนใหญ่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบอยู่แล้ว) สามารถให้ยาซ้ำได้หลังให้ครบ 2 ปี ประเด็น การ monitor EKG ต้อง monitor ระหว่างให้ยาและหลัง drip แล้วอย่างน้อย 2 ชม. ก่อนให้ยาต้องทำ EKG 12 leeds ทำซ้ำหลังให้แล้ว 90 นาที
3. Clexane ใช้รักษา STEMI , unstable angina, เป็นยากลุ่ม Low molecular weight heparine (LMWH) ก่อนทำ Intervention ต้องหยุดยาก่อน 4 - 6 hr เนื่องจากกลัวภาวะ bleeding แก้ไขโดยการให้ FFP การ monitor ฤทธิ์ clexane ต้องเจาะ Antifactor 10 A (ซึ่งทาง รพ. มอ. ไม่สามารถทำได้) - antidose ของ clexane คือ Protamine SO4 ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้แค่ 60%
4. Heparin อ.รังสรรค์ นิยมใช้ heparine เนื่องจาก หลังหยุด heparin 2 hr สามารถนำผู้ป่วยไปทำ Intervention ได้ และสามารถ monitor ฤทธิ์ ของ heparin จาก lab PTT - antidose ของ heparin คือ Protamine SO4 ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้ 100%
5. Ampho +,- lipid -Ampho มีฤทธิ์ทำให้เกิด renal toxicity ถ้าอยู่ใน lipid form toxicity < nonlipid ในกรณีที่มี renal failure แล้วให้ ampho ได้ทั้ง 2 from ไม่แตกต่างกัน ควรเลือกให้ ampho in lipid ในรายที่มี renal insuficieancy สำหรับ ampho non lipid ให้ IV 500 ml ก่อนให้ ampho เพื่อลด renal vasoconstriction - ampho ตกตะกอนใน saline ห้ามให้กับยาที่มีส่วนประกอบของเกลือโซเดียม ใช้ภายใน 24 hr
6. Adenosine เป็นยาที่มี half life สั้น ควรฉีดในสายที่มี IV หล่อ อยู่ ขณะฉีด ควรไล่ IV ทันทีเร็วๆ เมื่อถึง AV node ยาจะออกฤทธิ์ทันที โดยจะยับยั้ง sinus + AV node ทำเกิด AV block , sinus arrest ได้ ต้อง monitor EKG ฉีดได้สูงสุด 24 mg ( 1 amp มี 6 mg ) เริ่มฉีดที่ 6 mg ถ้าไม่ break ให้ต่ออีก 12 mg ถ้าไม่มีผลให้หยุดยา - ออกฤทธิ์ ประมาณ 10-15 sec ไม่ได้ผลในรายที่ได้ ß - blocker และ theophylline เป็นต้น
7. Viagra ให้ใน 1st pulmonary hypertension เนื่องจากเป็น vasodilator on set เร็ว ลด pulmonary artery pressure ระวังอย่าให้ร่วมกับ nitrate
8. NTG drip เป็น vasodilator ลด BP , ลด preload , ลด coronary artery spasm half life สั้น มีผลในการ ลด pain ได้ด้วย titrate ได้ทุก 3 – 5 นาที ระวัง BP drop ต้อง monitor ตลอดเวลา ต้องมี A-line เพื่อดู BP ตลอดเวลา Max dose 60 cc as protocol ( 100 mg up to 250 cc) ถ้าไม่ได้ผลให้ใช้ยาตัวอื่น ส่วนใหญ่ให้ oral form ควบคู่กันไปด้วย ไม่ควร drip เกิน 3 วัน เนื่องจากมี toxicity การลดควร titrate
9. Adalat ห้ามแช่น้ำร้อน เนื่องจากยาจะเสื่อม ไม่นิยมให้ทางใต้ลิ้น เนื่องจากควบคุมความดันโลหิตยาก