จิตปัญญาศึกษา กับมิติของการศึกษากระแสหลัก


นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้กล่าวถึง
กระบวนการจิตปัญญาศึกษา ว่า

“จิตตปัญญาศึกษา คือ การศึกษาที่ทำให้เข้าใจด้านในของตนเอง รู้ตัว เข้าถึงความจริง ทำให้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่น เกิดความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความรักอันไพศาล ต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเน้นการศึกษาจากการปฏิบัติ เช่น การทำงานศิลปะ โยคะ ความเป็นชุมชน การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม สุนทรียสนทนา การเรียนรู้จากธรรมชาติ และจิตตภาวนาเป็นต้น”

 

ผมไม่ทราบว่าตั้งแต่มีการเขียนบทความทางจิตปัญญาศึกษา
ครั้งแรกที่ อาจารย์จุมพล ได้นำเสนอให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษารอบต่อไป
จะมีใครรับหลักการทางการศึกษาแบบนี้หรือไม่ เพราะส่วนหนึ่งนักวิชาการแบบกลไก
ที่มีบทบาทครอบงำและชี้นำศาสตร์ของศึกษาศาสตร์ในปัจจุบัน มีมีแนวคิดกลไก
เชิงระบบ มีกระบวนการวัดและประเมินผลแบบวิทยาศาสตร์เป็นตัวเลขออกมา
จะมีพื้นที่ยืนให้ก้บ จิตปัญญาศึกษา หรือกระบวนทัศน์การพัฒนาแนวอื่น ๆ อย่างไรบ้าง 
การครอบงำของแนวพฤติกรรมศาสตร์ สะท้อนยุคสมัยของทุนนิยมวิทยาศาสตร์
ที่เน้นให้คนทำงานสนองกระบวนการอุตสาหกรรม ทำอะไรแบบแยกส่วนและ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่วนกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เป็นกระบวนการสำคัญ
ที่เน้นเข้าใจตนเอง รู้ตัวเอง ผ่านการปฏิบัติ เช่นศิลปะ ขบวนการจิตอาสา หรือ
จิตภาวนา สิ่งเหล่านี้มีการตอบโจทย์ของพวกอุตสาหกรรมหรือไม่ เช่นพวกนี้มัก
จะถามว่า จิตภาวนานี่วัดได้ไหม การเข้าใจตนเองก่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างไร
และกิจกรรมอาสาสมัครทั้งหลายก่อประโยชน์แก่ธุรกิจตนเองอย่างไรบ้าง และ
สำคัญที่สุดที่มักจะถามว่า มีตัวชี้วัดอะไรไหม

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของกระบวนการจิตปัญญาศึกษาอยู่ที่ความเท่าเทียมกัน
จึงจะเปลี่ยนถึงระดับจิตสำนึกต่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งแตกต่างจากระบบทุนนิยม
ที่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจคือ ความสัมพันธ์ระหว่างความสมผลประโยชน์กัน
โดยคนที่มีทุนมากก็มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจสูงกว่าผู้ที่ด้อยทุนกว่า พอด้อยกว่า
ก็ต้องอาศัยคนที่มีทุนมาก โดยลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลง ดังนั้นกระบวนการ
ทางจิตปัญญาศึกษาจึงไปไม่ได้กับวิชาการแบบกลไกทุนนิยมผลประโยชน์ทาง
วัตถุเป็นอย่างยิ่ง  เพราะความสุข สมาธิจิต ปัญญา ล้วนแต่วัดไม่ได้ และทำการ
ซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยผลประโยชน์กันไม่ได้ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 414303เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้ "ความรัก ความจริง ความดี ความงาม" จากกระบวนการจิตปัญญาศึกษา

ขอขอบพระคุณค่ะ

  • เรียนท่าน ผอ.ค่ะ
  • ถ้าครูปูเข้าใจไม่ผิด ณ เวลานี้ตอนนี้จิตปัญญาศึกษาเริ่มแพร่หลายในแวดวงอุตสาหกรรมและวงจรทางธุรกิจแล้วนะคะ 
  • เห็นแต่ละองค์กรมีนโยบายทำ CSR (Corporate Social Responsibility)  หรือที่แปลว่า  "ความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม " กันทั้งนั้น  พบว่าผลพลอยได้จะส่งผลถึงการตลาดและภาพลักษณ์(ที่ดีขึ้น)ของแต่ละองค์กร
  • ผอ.ว่าใช่แบบนี้มั้ยคะ

 

คิดเห็นในทิศทางเดียวกันกับคุณครูปู เลยค่ะ ท่านผอ. ตรงกับหลักการใหม่แนวทางการศึกษา ๒๑ ขอบพระคุณภาพ น้องฟ้ากะนายเมฆ จากเมืองในฝัน ขอบพระคุณค่ะ :)

ขอบคุณคุณพี่คิม

ขอบคุณครูปู สำหรับ CSR ครับ

ขอบคุณคุณ poo ครับ

มันคงเป็นเรื่องยากที่ผู้มีอำนาจ(ที่แท้จริง)ในกระบวนการปฏิรูปการศึกษาจะยอมรับได้ เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถหาตัวชี้วัดอันเป็นที่ยอมรับของกลไกเชิงระบบแบบตายตัวแบบนี้ได้

หากความสัมพันธ์เชิงอำนาจของจิตตปัญญาศึกษาอยู่ที่ความเท่าเทียมกัน การดำเนินไปของทุกกระบวนการก็ต้องมีความยืดหยุ่น(Flexible / ภาษาทหารเรียกอ่อนตัว)สูง ซึ่งแน่นอนว่าการใช้ตัวชี้วัดแบบ digital (1/0, เปิด/ปิด, ถูก/ผิด, ใช่/ไม่ใช่, มี/ไม่มี) อย่างที่ใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานของการประเมินในปัจจุบันไม่สามารถทำได้ หรือทำได้ก็ยากเกินกว่าที่จะปฏิบัติได้จริง

แม้ว่าผลลัพท์จะออกมาตอบสนองจิตตปํญญาศึกษาอย่างที่เราต้องการ แต่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การรู้ตัวเข้าถึงความจริง ความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา ความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่งไม่ใช่สิ่งที่เป็นความต้องการหลักของผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษา

เพราะเมื่อมันไม่สามารถกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จที่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้เสียแล้ว มันก็ไม่สามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการพิจารณาความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของตนเมื่อต้องต้องนำไปเปรียบเทียบกับผลงานของคู่แข่งคนอื่นๆได้

สำหรับเรื่องของ CSR ยังมีข้อถกเถียงกันมากว่า มันเป็นไปเพื่อสังคมจริงๆ หรือเพื่อสร้าง image ให้องค์กรกันแน่ เพราะเราจะดูแค่ after process เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ จะต้องดูที่ in process ด้วย กลัวว่าจะเป็นกระแสแบบ ISO ที่ถูกมองว่าเริ่มต้นจากการกีดกันทางการค้ามากกว่าเรื่องของคุณภาพ

ขอบคุณ คุณ The Outsider สำหรับข้อคิดดี ๆ ทุกครั้งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท