ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

UKM19 เรื่องราวดีๆ เล่าสู่กันฟัง: อาจารย์ตัวอย่างจาก ม.มหิดล


โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระราชบิดา และสมเด็จย่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต ที่คำนึงถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ทำให้ตนเองอยากสอนลูกศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ

เก็บเกี่ยวเรื่องราวดีๆ เล่าสู่กันฟัง

ในการเสวนาการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัย จำนวน 7 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มอ.(เจ้าภาพ) มน.(ม.นเรศวร) มข. (ม.ขอนแก่น) มวล. (ม.วลัยลักษณ์) ม.มหิดล ม.ราชภัฎมหาสารคาม ม.มหาสารคาม ซึ่งครั้งนี้ จัดเป็นครั้งที่ 19 กำหนดหัวข้อแลกเปลี่ยน "จริยธรรมสร้างได้ (จริงหรือ)" ซึ่งจัดแล้วในวันที่ 8-10 ธันวาคม 2553 และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ได้รับเกียรติใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมครั้งนี้

 และในเวทีการเสวนา "จริยธรรมสร้างได้" โดยอาจารย์ตัวอย่าง 7 สถาบัน ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ พญ.สายบัว ชี้เจริญ นั้นมีเรื่องราวดีๆ ที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟังคะ

 ศ.พญ.ธันยรัตน์  ธันยาพรเลิศรักษ์  ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยมหิดล  ได้ร่วมเสวนาโดยแสดงความคิดเห็นว่า 

  • หน้าที่หลักที่พึงปฏิบัติของอาจารย์  คือ  การสอน  แต่หากให้นักศึกษาเรียนอย่างเดียว  จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้ยาก 
  • ดังนั้น  จริยธรรมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการเรียน   โดยอาจารย์ได้แสดงทัศนะว่า  “เก่งวิชา  งดงามด้วยคุณธรรมจริยธรรม” 
  • และมองว่าพื้นฐานของลูกศิษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน  อาจารย์จึงได้นำคำสอนของสมเด็จย่าที่ว่า  “การดูแลต้นไม้ที่ไม่สมบูรณ์  ให้เด็ดใบไม้ที่เสียออก  หมั่นรดน้ำ  พรวนดิน  ต้นไม้ก็จะงดงาม  ทั้งนี้ต้องใส่ใจลงไปด้วย” 
  • การสร้างและปลูกฝังจริยธรรมให้ลูกศิษย์อาจมีความเหนื่อยล้า  แต่ต้องคอยย้ำตัวเองว่า  “ลองอีกที  เรามีความอดทนน้อยไปหรือเปล่า  วิเคราะห์ลูกศิษย์ผิดไปหรือไม่  มีเวลาให้น้อยไปหรือเปล่า  ทุกอย่างไม่สายเกินแก้”  แต่หากไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ให้ยึดหลักอุเบกขา  คือ  การปล่อยวางแต่มิใช่การปล่อยปะละเลย
  • ศ.พญ.ธันยรัตน์  ธันยาพรเลิศรักษ์  กล่าวเพิ่มเติมว่าการให้ความเมตตากรุณาต่อลูกศิษย์  และผู้อื่น  เป็นพื้นฐานมาจากครอบครัวที่อบอุ่น  และแบบอย่างที่ดีจากครู  อาจารย์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระราชบิดา  และสมเด็จย่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต  ที่คำนึงถึงผู้อื่นอยู่เสมอ  ทำให้ตนเองอยากสอนลูกศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ

ดิฉันได้ฟังการเสวนาแล้ว รู้สึกหัวใจพองโต และตื้นตันกับท่านอาจารย์มาก รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และละเอียดอ่อนที่เกิดขึ้นในใจของผู้ทำหน้าที่อาจารย์ ที่อยากบ่มเพาะลูกศิษย์ ให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี

ทำให้ดิฉันรู้สึกว่า เราก็สามารถทำเช่นอาจารย์ได้ ในบทบาทหน้าที่ที่เรารับผิดชอบและเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดสังคมที่ดีและมีความสุขต่อไปคะ

 Mayny

คำสำคัญ (Tags): #psu trang#ukm19
หมายเลขบันทึก: 413833เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2010 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท