อยู่กับปัจจุบัน (เมื่อนิสิตเภสัชฝึกงาน)


การฝึกงานสามารถประเมินความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ภายหลังจบการศึกษาของนิสิต ได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว

      นิสิตส่วนหนึ่งเวลาออกฝึกงาน ก็มักจะเป็นกังวลไปกับเรื่องต่างๆ นานา ไม่มีสมาธิ สติ ที่จะจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเท่าที่ควรจะเป็น ทำให้เสียเวลา เสียโอกาส เสียอารมณ์ ไปโดยไม่เกิดประโยชน์ ผลลัพธ์จากการฝึกงานไม่เป็นไปอย่างสุดความสามารถ เพราะไม่สามารถใส่ใจต่อการฝึกงานอย่างสุดๆ ได้

     นิสิตบางคนถึงกับรู้สึกว่า "การฝึกงานคือ การได้พักสมองจากการเรียนในมหาวิทยาลัย" ที่หนักหนาสาหัส ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดจากวัตถุประสงค์ของ "การฝึกงาน" ไปอย่างไม่เป็นท่าเลย

     เพราะ การฝึกงาน  จะช่วยให้นิสิตเริ่มตั้งคำถามกับตัวเอง เกี่ยวกับอนาคต ทั้งด้านการเลือกอาชีพ การเลือกสังคม  ช่วยให้เกิดการวางแผนที่ชีวิต  การฝึกงานสามารถประเมินความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ภายหลังจบการศึกษาของนิสิต ได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว  เพราะสิ่งที่นิสิตได้เห็น ได้สัมผัส ประสบการณ์จากการฝึกงาน  เป็นสิ่งทีวัดความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะตัวของนิสิตได้เป็นอย่างดี

     จึงขอแนะนำว่า นิสิตไม่ควรเสียเวลาไปกับผลการเรียน (เกรด) ของอดีตภาคเรียนที่ผ่านมา  และอย่ากังวลและคาดการณ์ล่วงหน้า กับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง  " อยู่กับปัจจุบัน "

     เวลานี้นิสิตกำลังอยู่ในช่วงเวลาการฝึกงาน  ซึ่งควรตั้งใจทำให้เต็มที่ เมื่อมีเวลาก็ทบทวนสิ่งที่เรียนมาทั้งหมด แล้วเมื่อถึงเวลาสอบ นิสิตก็จะมีต้นทุนทางปัญญาที่สะสมไว้แล้ว นำออกมาทดสอบ ว่าไอ้ที่เรารู้หน่ะ รู้จริง รู้ถูกต้อง ตรง หรือเปล่า ผลก็ออกมาจากคะแนนสอบนั่นแหล่ะ  

ความรู้  จะต้องทบทวน บ่อยๆ แต่หากอยากทำ  ความรู้ ให้กลายเป็นปัญญา

ก็ต้องมีทั้ง  ความรู้  ความเข้าใจ  และมีทักษะ สามารถปฏิบัติได้ ก็จะกลายเป็นปัญญา

ปีที่ผ่านมา นิสิตส่วนใหญ่ จะไม่รู้จักแบ่งเวลา

เมื่อฝึกงาน     ก็ทุ่มเทฝึกจนเครียด 

เมื่อมีเวลาพัก  ก็เลยพักจนลืมสะสมทุนทางปัญญา ปล่อยเวลา ปล่อยตัว ปล่อยใจ ไปกับความสนุกเพลิดเพลิน กับการพักผ่อน

เมื่อใกล้สอบ   ก็ค่อยมาทุรนทุรายอ่านหนังสือ  และเบียดบังเวลาฝึกงาน ทำให้แหล่งฝึกเข้าใจว่านิสิตให้ความสำคัญกับการฝึกงานน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

รู้สึกดีที่น้องๆ รู้จักหาข้อมูล เพื่อวางแผนล่วงหน้า  แต่จะดีใจมาก  ถ้าน้องมีข้อมูล แล้วจะสามารถเตรียมตัว ให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผน อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกๆ ขั้นตอน  เพราะทุกอย่าง ไม่ว่า  การฝึกงาน  การพักผ่อน  และการสอบใบประกอบฯ ก็มีความสำคัญ ไม่ต่างกัน  หากให้น้ำหนักสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากไป ก็ขาดความสมดุล  นิสิตก็จะต้องรับผลแห่งความไม่สมดุลนั้นเอง
 
ด้วยความปรารถนาดี
และหวังว่าทุกคนคงสนุกกับการรับประสบการณ์ใหม่ จากการฝึกงาน

คำสำคัญ (Tags): #การฝึกงาน
หมายเลขบันทึก: 41374เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณมากครับแหม่มที่ยังเกาะติด KM อยู่ ขอแนะนำหน่อยได้ไหม บันทึกนี้ดีมากเลย น่าจะมีประโยชน์กับนิสิตที่กำลังจะฝึกงาน ระหว่างฝึกงาน และหลังฝึกงานมาก อยากแนะนำให้แหม่มหาโอกาสแนะนำนิสิตในกลุ่มเป้าหมายข้างต้นได้รู้จักและเข้ามาอ่าน blog และเข้ามาโต้ตอบเพื่อเป็นการส่งข่าวกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผมว่าน่าจะมีประโยชน์มากเลยกับทุก ๆ ฝ่าย เรื่องง่าย ๆ แค่นี้แหม่มทำได้สบายมากอยู่แล้ว เพราะเรื่องยาก ๆ กว่านี้ผมก็เคยเห็นแหม่มทำสำเร็จมาแล้วมากมาย
  • ขอบพระคุณ อ.รุจโรจน์ และ อ.วิบูลย์ ที่คอยให้กำลังใจเสมอนะคะ
  • ที่ผ่านมา "หน่วยประสานการฝึกงานฯ" ได้นำเสนอข้อความลักษณะนี้ผ่านเวบบอร์ดของนิสิตคณะฯรุ่นที่กำลังฝึกงาน เป็นประจำ
  • แต่สำหรับข้อเสนอที่ให้แนะนำ blog ให้นิสิตได้เข้ามาอ่านก็ดีค่ะ จะได้ดูเป็นที่เป็นทาง และนิสิตแต่ละรุ่นก็เข้ามาอ่านได้ ไม่เฉพาะรุ่นที่กำลังฝึกงาน  ก็ขอน้อมรับและจะดำเนินการต่อโดยเร็วตามที่กรุณาแนะนำนะคะ
  • ชอบที่คุณแหม่นเขียนนะครับ ผมว่าการฝึกงานมันได้ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานจริงมากกว่าเรียนในห้องเรียนเป็นปีๆ แต่ยอมรับครับว่าเหนื่อยจริงๆ ผมเคยฝึกงานที่ Bank ปกติต้องเลิก 5 โมงเย็น แต่เห็นพี่ๆ เค้าทำงานกันหนักเราจะกลับบ้านก็น่าเกลียดครับ อยู่ช่วยถึง 4 ทุ่มแนะ แต่ก็ได้พี่ๆ เลี้ยงข้าวอิ่มท้องก่อนกลับบ้านครับ ว่าแต่เภสัชไปฝึกงานได้เบี้ยเลี้ยงด้วยไหมครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท