การเลี้ยงโคแบบพอเพียง


ทำอย่างไรให้ชุมชนท้องถิ่นได้ใช้งานวิจัยของมหาวิทยาลัย
วันนี้ได้เข้าฟังบรรยายในการประชุมวิชาการ ม.อบ.วิจัยครั้งที่ 1 ในหัวข้อ ทำอย่างไรให้ชุมชนท้องถิ่นได้ใช้งานวิจัยของมหาวิทยาลัย  โดย         1.  ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์  กรรมการสภามหาวิทยาลัย 2.  ดร. นงลักษณ์  ปานเกิดดี  ผู้ว่าสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย        (วว.)3.  ดร.สินธ์  สโรบล  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)                 กล่าวว่า การที่ชุมชนท้องถิ่นจะได้ใช้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยนั้น  จะต้องสร้างให้ชุมชนหรือชาวบ้านเป็นผู้วิจัยเองและมหาวิทยาลัยเป็นพันธมิตรทางวิชาการคอยให้ข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการที่ชาวบ้านไม่รู้ไม่ถนัด ทั้งนี้ในชีวิตของชาวบ้านก็มีการทำวิจัยลองผิดลองถูกตลอดเวลาอยู่แล้วจนได้คำตอบที่เหมาะสมกับตัวเอง นั่นก็คือเกิด ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพียงแต่งานวิจัยของชาวบ้านนั้นเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปากท้องและความอยู่รอดของชีวิตที่ไม่ใช่งานวิจัยในเชิงวิชาการ ไม่มีการเขียนเป็นระบบสากลและไม่ได้เอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย หรือจดสิทธิบัตร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่จะต้องไปเป็นพันธมิตรให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ชาวบ้าน และสร้างชาวบ้านให้เป็นนักวิจัย และมหาวิทยาลัยจะต้องทำวิจัยที่เกี่ยววิถีชีวิตของชาวบ้านจริง ๆ ชุมชนจึงจะได้ประโยชน์                นอกจากนี้ยังพบแนวคิดของนักวิจัยในสถาบันวิจัยหลักๆ ในเมืองไทยอีกประเด็นที่น่าวิพากษ์ คือ การมองการวิจัยของชุมชนแค่เรื่องของ OTOP ที่เน้นการนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าที่มุ่งตอบสนองบริโภคนิยมหรือทุนนิยม ซึ่ง OTOP นั้นไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน โดยเฉพาะปัญหาความยากจนที่เกิดจากการตามกระแสทุนนิยมและการบริโภควัตถุ  เพราะ OTOP เน้นในเรื่องการค้าขายผลกำไรและความสามารถในการเข้าถึง OTOP  ของชาวบ้านก็แตกต่างกันด้วย  คนส่วนใหญ่ที่ในวงการ OTOP นั้นจะเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคงและมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรมากกว่าซึ่งไม่ใช่คนยากจนในชุมชน ทำไมนักวิจัยไม่มองไปที่จะทำวิจัยอย่างไรที่จะทำให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากความทุกข์ ทุกข์จากการขาดปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต (ปัจจัยสี่)                หรือมีทุกข์น้อยลง  วิจัยให้ชาวบ้านพออยู่พอกิน มีชีวิตที่พอเพียง ให้ชาวบ้านมีความรู้พอใช้ เมื่อไหร่ที่ชาวบ้านมีทุกข์น้อยลง มีพอกินพอใช้ และเมื่อมีเหลือใช้แล้วค่อยพัฒนาเป็นการค้า โดยการค้าก็พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน จากค้าขายในชุมชนหมู่บ้าน ไปต่างอำเภอ ต่างจังหวัด และพัฒนาคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับมีมาตรฐานค่อยมาคิดถึงการส่งออกต่างประเทศ  ไม่ใช่ วิจัยพัฒนา OTOP แบบก้าวกระโดดที่เน้นเรื่องการค้าขายอย่างที่เห็นในปัจจุบัน                 เช่นเดียวกันกับการจะทำวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงโคของชาวบ้านที่จะทำอยู่ในขณะนี้  ควรเป็นการวิจัยที่ทำให้ชาวบ้านที่เลี้ยงโคมีความทุกข์น้อยลง  พออยู่พอกิน หรือเลี้ยงโคแบบพอเพียง หลายท่านอาจสงสัยว่าจะเลี้ยงแบบพอเพียงอย่างไร                การเลี้ยงโคแบบพอเพียงก็คือการเลี้ยงที่อิงอยู่กับทางสายกลาง ที่ประกอบด้วยการเลี้ยงพอประมาณ  คือ เลี้ยงในจุดที่เหมาะสมหรือที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เหมาะสมกับทรัพยกร และต้นทุนที่ตนเองมีการเลี้ยงอย่างมีเหตุผล  คือ ด้วยเหตุปัจจัยและผล  ที่เป็นปจจัยแวดล้อมหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้การเลี้ยงโคประสบความสำเร็จ รวมทั้งผู้เลี้ยงต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่อัดเราเอาเปรียบตนเองหรือคนอื่น รู้จักแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ต่อตนเองและต่อสังคมเลี้ยงอย่างไม่ประมาท  คือ ไม่เสี่ยงเลี้ยงโค ถ้ายังไม่มีความพร้อมด้วยประการทั้งปวง เช่น ความพร้อมด้านทรัพยากร ด้านต้นทุน และความรู้ เพราะการเสี่ยงเลี้ยงโคเพื่อหวังให้ได้รับผลตอบแทนมาก ๆ ไม่มีความจำเป็น และคนเลี้ยงโคต้องสร้างขีดความสามารถในการพึ่งตนเองให้มากที่สุด เมื่อนั้นคนเลี้ยงโคจึงจะอยู่อย่างพอเพียงหรือมีความสุขเพราะความทุกข์ลดน้อยลง
หมายเลขบันทึก: 41372เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
      มีโคพันธุ์หนึ่งที่น่า เลี้ยงมาก และจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ของเกษตรกรยุกต์ปัจจุบันนี้ อย่างลงตัวที่สุด  เพราะสามารถลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเด็ดขาด.โคพันธุ์นั้นคือ โคพันธุ์ขี้..ครับเจ้านาย......

การเลี้ยงโคที่อันตรายคือการพนันกับวัวหูยาว กับการเลี้ยงแบบจัดการแรงงานไม่ดี ไม่พอ ไม่ต่อเนื่อง เป็นสาเหตุของความล้มเหลว เดี๋ยวทำไปก็รู่เองแหละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท