สรุปประชุม ลปรร.PCA NODEสิชล ครั้งที่ 3 ที่อำเภอหลังสวน ตอนที่1


วันที่ 29- 30 พฤศจิกายน 2553 ณ ร้านอาหารชายหาดซีฟูด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCA NODE) ครั้งที่ 3 ปี 2553

เครือข่าย NODEสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 29- 30 พฤศจิกายน 2553  ณ  ห้องประชุมชายหาด

ร้านอาหารชายหาดซีฟูด  อำเภอหลังสวน  จังหวัดชุมพร

ประเด็นแรก   “ที่มาและบทบาทของ NODE สิชล” โดย CUPสิชล

“NODE เป็นการรวมตัวของ เครือข่ายบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่าย  NODE สิชล  มีเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสิชลเป็นแม่โหนด  ประกอบด้วยลูกโหนด 5 ลูก คือ  ฉวาง , กาญจนดิษฐ์ , อ่าวลึก , ท้ายเหมือง  และหลังสวน  โดยกระบวนการของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะใช้กระบวนการ  BAR (การตั้งความคาดหวัง) เพื่อสร้างความคาดหวังและแรงจูงใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้ง”

จากการดำเนินงานของ NODE สิชล  เราจัดเวทีมาแล้ว 3 ครั้ง  การมาแต่ละครั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ตามความหลากหลายของพื้นที่  ผลของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง 3 ครั้งสรุปพอสังเขปได้ดังนี้

ครั้งที่ 1  จัดเวทีที่สิชล  เป็นการเปิดตัว NODE และเครือข่าย ประเด็นแลกเปลี่ยน คือ Good practice

ครั้งที่ 2 จัดเวทีที่อ่าวลึก  เน้นกระบวนการKM ด้วยเรื่องเล่าที่ประสบความสำเร็จ (Success story telling)

ครั้งที่ 3 จัดเวทีที่หลังสวน เน้นกระบวนการการจัดการความรู้ ( KM )  โดยมีบุคคลหลัก 5 คนที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนกระบวนการ KM  ได้แก่  คุณอำนวย  คุณกิจ  คุณประสาน  คุณเอื้อ และคุณลิขิต  เป้าหมายในครั้งนี้ต้องการให้เกิดการพัฒนาความก้าวหน้าของงาน ทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ( CQI ) และการใช้เครือข่าย  NODE ในการพัฒนา PCA

 

ประเด็นที่สอง “ทบทวน Primary  Care  Concept” โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จากCUPสิชล

Primary  Care  Concept

“เป็นการบริการระดับแรก ที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด   ดูแลสุขภาพประชาชน  ทั้งในระดับ บุคคล  ครอบครัว และชุมชน อย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ก่อนป่วย  ไปจนถึงการดูแลเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วยและหลังเจ็บป่วย  ทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  สังคม และจิตวิญญาณ  เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งต่อไป”

บทบาทของระบบบริการปฐมภูมิ

“บริการรักษา ส่งเสริม  ป้องกัน  ฟื้นฟู  เสริมการพึ่งตนเองอย่างสมดุลประชาชนมีส่วนร่วมเน้นการร่วมสร้างเสริมสุขภาพดี  คุณลักษณะคุณภาพของบริการปฐมภูมิ  ต้องเข้าถึงง่าย  ผสมผสาน  องค์รวม ต่อเนื่อง  ตอบสนองปัญหาสุขภาพในพื้นที่  ผสมผสานกับชุมชนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  ตลอดจนการปรับวิธีการทำงานตามหลักการให้เหมาะสมกับบุคคลและบริบทในแต่ละพื้นที่”

หมายเลขบันทึก: 412681เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2010 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท