ปารินุช
นางสาว ปารินุช บริสุทธิ์ศรี

ลิขสิทธิ์กับการคุ้มครองระบบดิจิตอล


จะทำอย่างไร กับการคุ้มครองระบบดิจิตอล ในปัจจุบัน***

            สิขสิทธิ์กับการคุ้มครองระบบดิจิตอล      โลกดิจิตอลในวันนี้ กล่าวกันว่าเกิดขึ้นมาเพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเติบโตขึ้นเพราะอินเตอร์เนตโลกดิจิตอลเกี่ยวข้องกับการสร้างข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล  (creating)  การแบ่งปันข้อมูลดิจิตอล (sharing) และการใช้ข้อมูลดิจิตอล (using)  ดังนั้น ข้อมูลดิจิตอล จึงเป็นข้อมูลที่ได้รับการขึ้นรูปสร้าง จัดวาง ดัดแปลง เก็บ สร้างเครือข่าย รวมทั้งมีการลงทุนและแม้แต่การนำข้อมูลดิจิตอลนั้นออกขายเพื่อแสวงหาประโยชน์ในที่สุด     การเติบโตของสื่อจัดเก็บดิจิตอล (digital storage media) ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลดิจิตอลก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบดิจิตอลขยายตัวอย่างรวดเร็ว สื่อจัดเก็บ  หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ ผลิตภัณฑ์ซีดีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น แผ่นซีดี แผ่นวีซีดีหรือแผ่นดีวีดี รวมทั้งการ์ดความจำหรือเมมโมรี่การ์ด   และนอกจากนี้ กรรมวิธีในการจัดเก็บข้อมูลโดยการบีบอัด โดยการทำให้ข้อมูลดิจิตอลเล็กลงแต่คุณภาพยังคงเท่าเดิม เช่น MP

                  สำหรับเทคโนโลยีและหลายๆ คนแล้ว การเติบโตขอลระบบดิจิตอลน่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการพัฒนาการสื่อสาร เพราะทำให้ข้อมูลขยายตัวไปสู่ผู้คนได้อย่างรวดเร็วคราวละมากๆ แต่สำหรับคนบางกลุ่มโดยเฉพาะเจ้าของผลงาน และเจ้าของข้อมูลแล้ว เทคโนโลยีดูจะเป็ยภัยร้ายแรงที่คุกคามเป็ยอย่างยิ่ง นั่นเป็นเพราะว่า เจ้าของผลงานหรือเจ้าของข้อมูลซึ่งได้รับคุ้มครองโดยกฎหมายลิขสิทธ์ให้โดยเด็ดขาดแต่ผู้เดียว (exclusive right)  ในการการทำอย่างใดกับงานของตนเองไม่ว่าจะเป็นการทำซ้ำ ดัดแปลง นำงานของตนออกเผยแพร่ต่อสารณชน หรือให้เช่าอย่างภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด  กำลังจะสูญเสียอำนาจในการควบคุมสิทธิของตนไป                  

             การคุ้มครองข้อมูลระบบดิจิตอล นั้น ลิขสิทธิ์ในระบบดิจิตอล หากข้อมูลดิจิตอลนั้นเป็นงานอันมีสิขสิทธิ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรม ดนตรีกรรม ศิลปกรรม สิ่งบันทึกเสียง ภาพยนต์ หรืองานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระบบดิจิตอลสามารถทำซ้ำได้ง่าย ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์คิดหาวิธีทางเทคโนโลยีปัองกันที่เจ้าของเลือกก็คือ การป้องกันการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอล ได้แก่  การใส่รหัสผ่าน (passwordการป้องกันการเข้าถึงข้อมูงดิจิตอลก็เปรียบเสมือนการปิดประตูบ้านหรือการล็อกประตูบ้าน นั่นเอง กล่าวคือ  กฎหมายลิขสิทธิ์ยังคงเป็นบรรทัดฐานและเป็นหลักในการคุ้มครองระบบดิจิตอลอยู่ แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายสิขลิทธิ์ของไทยยังไม่ทันกับการพัฒนาการทางเทคโนโลยีดิจิตอล ทำให้บางส่วนของกฎหมายไม่สามารถให้ความคุ้มครองกับระบบดิจิตอลได้อย่างเต็มที่ ทำให้สิทธิ์ของเจ้าของสิขสิทธิ์ในการควบคุมการใช้สิทธิ์ของตนในระบบดิจิตอลลดน้อยลงหรือไม่มีประสิทธิ์ภาพ ทั่งนี้ เพราะประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีของ  WCT   ( WIPO Copyright Treaty ) และ  WPPT ( WIPO Phonograms and Performers Treaty )  ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของอนุสัญญา กรุงเบิร์น (Berne Convention) เพื่อคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ในยุคดิจิตอล   และยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลิขสิทธิ์ ให้ครอบคลุมระบบดิจิตอล  แต่ก็เชื่อรัฐบาลจะเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะสร้างความเชื่อมั่นแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ ให้เจ้าลิขสิทธิ์ได้อำนาจในการควบคุมการใช้สิทธิ์ของตนในระบบดิจิตอลคือมา  และเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ น่าจะไดเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวบทกฎหมายในเรื่องของการคุ้มครองระบบดิจิตอล  ไม่เพียงแต่ในเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์เท่านั้น   แต่เป็นเรื่องอื่นด้วย เช่นการให้ความร่วมมือของผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในอินเตอร์เน็ต  

หมายเลขบันทึก: 41240เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต้องการให้ผู้เกี่ยวข้องแก้ไข/เพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์ไวๆ

ใช้ค่ะ พี่วันทนา แต่เนื่องจากว่ามีพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแล้วค่ะ นับแต่ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นโดยที่ไม่ต้องจดทะเบียน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท