บทเรียนจากชีวิตชาวนา


ศาสตร์ทุกแขนงควรมีเป้าหมายบูรณาการชีวิต ไม่ใช่แยกส่วนชีวิต

บทเรียนจากชีวิตชาวนา

 

-         ทุกข์อันเกิดจากระบบเศรษฐกิจ

-         ทุกข์อันเกิดจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม-         ทุกข์อันเกิดจากปัญหาทางสังคม-         ทุกข์อันเกิดจากปัญหาสุขภาพอนามัย 

-         กล่าวได้ว่าทุกข์ของชาวนาเป็นทุกข์ที่เกิดจากอิทธิพลของทุนนิยม เป็นทุกข์อันเกิดจากการแยกส่วนชีวิตกับธรรมชาติ จึงเป็นทุกข์ที่คล้ายกันกับทุกข์ของคนในทุกภาคส่วนของสังคม

 

ลักษณะการจัดการความรู้ที่ดี

         เรียนรู้ทฤษฎีพร้อมไปกับการปฏิบัติ

         เป็นการเรียนรู้เพื่อให้พึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว         เป็นการเรียนรู้ในฐานะที่ตนเป็นองคาพยพหนึ่งของธรรมชาติซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน มิใช่การศึกษาเพื่อเอาชนะธรรมชาติ         ศาสตร์ทุกแขนงควรมุ่งสู่การบูรณาการชีวิต ทำหน้าที่เหมือนดั่งอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่ทำหน้าที่ต่างกันแต่ก็เพื่อให้ร่างกายนั้นสมบูรณ์ อวัยวะแตกต่างมิได้หมายความว่าร่างกายต้องแยกส่วน  อิหม่ามกับการจัดการวัฒนธรรมการเรียนรู้ - เรียกร้องสู่การรวมตัวโดยใช้แกนกลางชีวิตคือหลักศาสนานำทาง    ศาสดามุหัมมัด (ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน) สอนว่า การรวมตัวเป็นลักษณะหนึ่งของพระเมตตาจากอัลลอฮฺเจ้า และความแตกแยกเป็นโทษทัณฑ์ของพระองค์     ผู้ใดประสงค์จะได้อยู่ในตำแหน่งใจกลางแห่งสรวงสวรรค์ ก็พึงยึดมั่นในความเป็นหมู่คณะ- สร้างสำนึกให้เห็นความเป็นเอกภาพระหว่างชีวิตกับธรรมชาติ   ธรรมชาติคือสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงรังสรรค์ไว้แก่มวลมนุษย์ มนุษย์อยู่ในฐานะที่จะต้องดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติตามพระราชประสงค์(เป็นคอลีฟะฮฺ) เหมือนดั่งที่เราดูแลบ้านเรือนของเราเอง การทำลายธรรมชาติก็เหมือนทำลายบ้านที่ตนอยู่อาศัยและเป็นการทำลายสถานะแห่งผู้แทนอัลลอฮฺบนพื้นพิภพลงอย่างสิ้นเชิง

      

 

          

   

        
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 41170เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท