KM ที่รัก ตอนที่30 " สิทธิของชุมชน ...ใครกำหนด ? "


" ไข่มดแดง....เป็นของใคร??"

ในปัจจุบันการเรียกร้องสิทธิ การทวงสิทธิ์ของชาวบ้านเกิดขึ้นมากมาย   

... ทำไมชาวบ้านถึงคิดว่าพวกเขามีสิทธิ์ในทรัพยากรเหล่านั้นร่วมกัน แต่ฝ่ายราชการเองหรือคนในเมืองมักคิดว่าชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ การตีความหมายของสิทธิมนุษยชนไม่ตรงกันเป็นท่มาของความขัดแย้ง  ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีคำถามที่เราควรช่วยกันตอบ อยู่ 2 ข้อ คือ 

       1.การอ้างสิทธิตามความหมายที่แตกต่างกันนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร 

       2. ความหมายของสิทธิชุมชน เช่นไร จึงจะส่งเสริมสิทธิของเกษตรกรพร้อมกับการใช้ทรัพยากร ให้ยั่งยืนและเป็นธรรม

       ก่อนที่เราพยายามจะตอบตำถาม เราลองกลับไปดูที่มาของนโยบายรัฐที่พยายามออกกฏระเบียบ  กฏหมายลักษณมายาคติในการกีดกันสิทธิตามหลักการของสิทธิเชิงเดี่ยว ซึงได้แนวคิดมาจาก เพื่อกีดกันสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร..ผลพวงจากแนวคิดนี้ เกิดการออกเอกสารสิทธิ์ (นส.3 , โฉนดที่ดิน) และเร่งรัดการประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำไห้เกิดการเป็นเจ้าของ และครอบครองอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด  และละเลยความเป็นชุมชน ซึ่งไม่สามารถกำหนดหน่วยพื้นที่ได้แน่นอน  และชุมชนไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ตามกฏหมาย.. 

        สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ  สิทธิในลักษณะซับซ้อนทับกันบนหน่วยพื้นที่เดียวกัน เพราะว่าถึงแม้เราเป็นเจ้าของที่ดินที่มีหลักฐานก็ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะเป็นสมบัติของเราทั้งหมด เช่นกรณีต้นมะม่วงที่อยู่ในที่ดินของท่าน ท่านอาจจะเป็นเจ้าของต้นมะม่วง ลูกมะม่วง แต่สิ่งที่อยู่บนต้นมะม่วง เช่น ไข่มดแดง คนอื่นก็มีสิทธิที่จะมานำเอาไข่มดแดงไปใช้ได้ เพราะเราไม่ได้เลี้ยงมดแดง ไข่มดแดงจึงเป็นสิทธิที่มันทับซ้อนกันอยู่ของชุมชน 

             คุณค่าของสิทธิชุมชนเชิงทับซ้อนจะสามารถสร้างหลักประกันให้กับความสามารถในการยังชีพของทุกคนในชุมชน ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่เข้าใจในสิทธิชุมชนเชิงซ้อน มีการกีดกันสิทธิ ชาวบ้านก็จะสูญเสียความสามารถในการยังชีพของเขา กรณีป่ากับคน คนกับป่า สิทธิเชิงซ้อนถึงแม้ทางกฎหมายจะชี้ว่าป่าสงวนเป็น (สมบัติ) ของกรมป่าไม้ คุณมีความเป็นเจ้าของอย่างเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด ชาวบ้านเองไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าเพื่อยังชีพได้             

 แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เอกชนหรือนายทุนกับดังรับสัมปทาน ตัดไม้ ขุดภูเขาได้ จึงไม่แน่ใจว่าที่กันป่ากันภูเขาไว้  กันไว้ให้กับใคร?”              แนวทางที่เราควรจะให้ชาวบ้านได้เห็นสิทธิชุมชนที่เป็นทั้งความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ความชอบธรรมและอัตลักษณ์ ตนเองของกลุ่ม ของชุมชน ควรจะมีบทบาทดังนี้

1.    ควรสร้างอำนาจท้องถิ่นให้เกษตรกรมีส่วนร่วมกับการพัฒนามากขึ้น

2.    เกษตรกรต้องร่วมเคลื่อนไหว ผลักดัน กับภาคประชาสังคม เพื่อให้คนเมืองได้เสียสละบ้าง


คำสำคัญ

อัตลักษณ์ หมายถึง ความพยายามที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับสิทธิชุมชนในพื้นฐานของความเป็นมนุษย์

สิทธิชุมชน หมายถึง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ความชอบธรรม และฐานคิด ในการแสดงอัตลักษณ์และตัวตนของกลุ่มชนต่าง ๆ

หมายเลขบันทึก: 41165เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท