ป้าแช่มพาเที่ยว : สยามใหม่จากมุมมองท้องถิ่น.


ไปผ่อนพักหัวใจ กับ ป้าแช่ม ในงาน เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ครั้งที่ ๒ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่นชัน กรุงเทพมหานคร ในตีม สยามใหม่ จากมุมมองท้องถิ่น .. พิพิธภัณฑ์จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยมาอยู่ที่นี่ให้ได้ เรียนรู้ศึกษารากเหง้าทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ กันไปจนถึงวันที่ ๑ ธันวาคม ๕๓ ..

ในวันนี้มีเสวนา เรื่อง ชีวิตในเรือ เรือในความทรงจำ โดย ส. พลายน้อย ผู้ที่เกิด เติบโต ใช้ชีวิตอยู่ในเรือ และอาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลา ผู้ที่ใช้ชีวิตทั้งในเรือ และริมแม่น้ำลพบุรี เป็นคุณครูสอนการต่อเรือ เริ่มสะสมเรือจนเกิดพิพิธภัณฑ์เรือไทย ที่จังหวัดอยุธยา ดำเนินรายการโดย คุณดำรง พุฒตาล ผู้ที่คุ้นเคยกับชีวิตในเรือมาก่อนเช่นกัน แต่วันนี้คุณดำรงไม่มา มีผู้ดำเนินรายการแทน การพูดคุยทำให้อรรถรสลดน้อยลงไปนิด .. ห้องประชุมใหญ่จุคนได้ร่วม ๓๐๐-๔๐๐ คน แต่มีผู้ให้ความสนใจประมาณ ๓๐ คน ๑ ใน ๓๐ เป็นผู้ที่เคยใช้ชีวิตในเรือมาก่อนเหมือนกัน เสียดายที่เวลาน้อย เลยไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้ามาฟังเสวนาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ..

ได้ฝึกทำตุง เครื่องสักการะของชาวล้านนา ตุงไส้หมู (ทำจากกระดาษ) ตุงเส้นไหม (ทำจากไหมพรม) การพับและตัดกระดาษลวดลายล้านนา แรกเริ่มอาจงงๆ กับการตัดกระดาษ พันไหม นั่งทำไปเรื่อยๆ เพลิดเพลิน ทำให้ลืมความวุ่นวายบางอย่างไปได้เหมือนกัน .. 

ข่วงม่วนใจ๋ กับการฟ้อนและเครื่องดนตรีล้านนา งามขนาด ม่วนแต๊ๆ เจ้า ..

 

 

 

 

 

 

 

 

--------------------------------------------
Website ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) [Click]
ถ่ายภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ

  

หมายเลขบันทึก: 410895เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2010 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะพี่ณัฐ

เห็นภาพกิจกรรม มีหลากหลายน่าสนใจทั้งนั้นเลยค่ะ

ชอบตุง ชมรำล้านนาฟังเพลง แล้วเข้าบรรยากาศจัง ขอบคุณค่ะ :)

สวัสดีค่ะ

วันงานมหกรรมอดเจอกันเลยนะคะ 

"ชีวิตในเรือ" น่าสนใจนะคะ  เด็กรุ่นเราก็ยังรู้ไม่มาก แต่เด็กรุ่นนี้  จะเหลืออะไรไหมคะ

สวัสดีค่ะ คุณน้องpoo : ยังพอมีเวลานะค่ะ ตีตั๋วมาด่วน =o)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

  • ช่วงนั่งฟังเสวนานึกถึงอาจารย์เลยค่ะ เสียดายที่ผู้ดำเนินรายการพาไม่ถึง ได้แค่พอสัมผัสหน่ะค่ะ นึกๆ แล้วเวลา ๑ ชั่วโมงครึ่ง มากกว่าเวที ปัน ปัน กับ ๖ วิทยากร แค่ ๑ ชั่วโมงได้อะไรกลับมากันเยอะเลยนะค่ะ ทักษะของผู้ดำเนินรายการ นั้นสำคัญจริงๆ ค่ะ ที่สามารถดึงเรื่องราวจากผู้ร่วมเสวนาให้ได้มากที่สุดในเวลากันจำกัดแบบนี้ ..
  • อือม์ แสดงความคิดเห็นด้วยภาพแบบนี้ก็ไม่เลวนะค่ะ เพิ่งสังเกตุว่าอาจารย์เริ่มที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นในบันทึกให้กับ blogger ท่านอื่นบ้างแล้วค่ะ =o)
  • ขอบพระคุณสำหรับข้อความในภาพค่ะ ..

สวัสดีค่ะ พี่ครูคิม

  • บ้านเดิมของน้องใกล้แม้น้ำแม่กลองค่ะ ใกล้ชนิดเดินไปประมาณ ๕ นาทีก็ถึงเขื่อน ใกล้ๆ กับสะพานข้ามแม่น้ำสมัยรัชกาลที่ ๕ ใกล้ตลาดโตรุ่งที่เราเรียกว่าสนามหญ้าที่ขึ้นชื่อว่าทั้งอาหาร ทั้งขนมนั้นอร่อยมากมาย แต่น้องถูกปลูกฝังว่าแม่น้ำนั้นน่ากลัว อย่าเข้าไปใกล้ จะเกิดอันตราย เข้าใจค่ะว่าครอบครัวเกรงจะเกิดอันตรายทางน้ำกับลูกหลานจนทำให้เรากลายเป็นคนไกลน้ำ ไกลคลองไปค่ะ .. ว่ายน้ำในแม่น้ำ ในคลองไม่เป็นค่ะ ว่ายน้ำเป็นแต่ที่สระว่ายน้ำ ..
  • เมื่อก่อนริมเขื่อนที่น้องเคยอยู่มีเรือขนส่งโอ่ง กระถาง ต่างๆ นานา พาดท่อนไม้ยาวๆ จากเรือมาที่ริมเขื่อนเพื่อขนโอ่งไปยังรถที่จะส่งต่อไปยังร้านค้าในเมือง เห็นวิถีชีวิตของชาวเรืออยู่บ้างค่ะ เห็นเด็กๆ ว่ายน้ำ เที่ยวเกาะกราบเรือออกไปไกลแล้วก็ปล่อยตัวให้ลอย หรือว่ายน้ำกลับมาที่ฝัง เป็นภาพที่น่ารักมากค่ะ
  • แต่เสียดายว่าเพียงไม่กี่ปีหลังจากที่ได้เห็นก็ต้องปรับเปลี่ยนไปเพราะทางราชการให้ขยับขยายไปขนส่งที่ท่าอื่นแทนซึ่งก็ไม่ทราบได้ว่าที่ไหนค่ะ เพราะมีการปรับเขื่อนให้ดูดี กลายเป็นที่ทำกิจกรรมของจังหวัดไป เพราะบริเวณนั้นส่วนหนึ่งเป็นส่วนของทางราชการค่ะ ที่ทำการป่าไม้จังหวัด และศาลากลางจังหวัด ซึ่งปัจจุบันอาคารเก่าแก่ได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดไปค่ะ จึงต้องทำทัศนียภาพบริเวณนั้นให้สวยงาม ไม่มีสิ่งใดมาบดบัง
  • แต่เมื่อโตขึ้นน้องกลับมองกลับกันกับแนวทางของราชการหน่ะค่ะ สิ่งนี้สิค่ะคือสิ่งที่เราต้องรักษามันไว้ .. ขนาดน้องยังเด็กก็เกือบจะไม่ทันได้เห็น ไม่อยากจะคิดว่าภาพเหล่านี้เด็กรุ่นใหม่จะสามารถเห็นได้จากภาพเก่าเล่าเรื่องตามพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเท่านั้นเสียแล้วหล่ะค่ะ ..
  • ทราบว่ามีชาว ศมส.แวะเข้ามาที่บันทึกนี้ ยินดีมากๆ ค่ะ ..
  • งั้นขอต้อนรับ ชาว ศมส.ทุกท่านนะค่ะ =)

                            

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท