การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ ๑๒ ประจำปี ๒๕๕๓ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ ๔ – ๖ พ.ย. ๕๓ (๑)


สัมมนา วิชาการ ประชุม สถาบัน เศรษฐกิจ การเมือง ประชาธิปไตย วัฒนธรรม ประชาชน ความสุข

ปาฐกถานำเรื่อง “Gross National Happiness and Social Quality” ความสุขมวลรวมประชาชาติกับคุณภาพสังคม โดย Lyonpo Dago Tshering” ผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีภูฏาน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

วันที่ ๔ พ.ย. ๕๓ เวลา ๑๑.๐๐ น. ทางคณะทำงานเสียงเล็กๆเพื่อสันติภาพ เดินทางไปถึงศูนย์ประชุมสหประชาชาติ เพื่อลงทะเบียนและเวลา ๑๓.๓๐ น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน นับเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดและได้เห็นพระพักตร์ของทั้ง ๒ พระองค์ ถือว่าเป็นกำไรชีวิตที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ หลังจากนั้นก็เป็นการชมวีดิทัศน์เรื่อง “ คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทย”ต่อด้วยการแสดงปาฐกถานำเรื่อง “Gross National Happiness and Social Quality” ความสุขมวลรวมประชาชาติกับคุณภาพสังคม โดย Lyonpo Dago Tshering” ผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีภูฏาน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งได้กล่าวถึงแนวคิด “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” ในฐานะแนวคิดหลักในการพัฒนาประเทศของภูฏานว่าเป็นแนวคิดที่มิได้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาประเทศ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ หากแต่เป็นแนวคิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่ผ่านมาประเทศภูฏานได้ใช้แนวคิดการพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติ ที่มุ่งเน้นเรื่องความสุขของประชาชนเป็นหลัก โดยบูรณาการการพัฒนาด้านวัตถุไปพร้อมกับการพัฒนาด้านจิตใจ แนวทางนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับการพัฒนาคุณภาพของสังคม ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยของภูฏาน แล้วประเทศไทยของเราล่ะ ณ ตอนนี้หรือที่ผ่านมาได้ใช้แนวคิดการพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติด้วยหรือเปล่า? มีการพัฒนาด้านวัตถุอย่างสุดโต่งหรือพัฒนาควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาด้านจิตใจด้วยหรือเปล่า? การพัฒนาของประเทศไทยมาถูกทางแล้วหรือยังและจะก้าวต่อไปอย่างไร? ท่านผู้แทนพิเศษฯ ยังทำให้ทราบอีกว่าแม้แต่พระมหากษัตริย์ของประเทศภูฏานเองก็ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วประเทศและทรงพบว่าการพัฒนาที่มุ่งเน้นทางด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลเสียด้านการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและจิตใจของประชาชน จากปาฐกถานำของผู้แทนพิเศษฯทำให้เรารู้สึกได้ว่าประเทศไทยและภูฏานเป็นเสมือนบ้านพี่เมืองน้องกัน เนื่องด้วยเป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและทรงห่วงใยราษฎร และนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อให้ประชาชนได้อยู่ดี กินดี มีชีวิตที่พอเพียง และนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยให้สถาพรต่อไป

หมายเลขบันทึก: 409237เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2010 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท