ปฏิบัติการสังคมผ่านวิธีสานพลังเครือข่ายผู้นำและสื่อมวลชน ในการวิจัยแบบ PAR


โดยทั่วไปแล้ว การวิจัยปฏิบัติการสังคมแบบ PAR มักมุ่งสนองตอบต่อความจำเป็นและความหลากหลายที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งลักษณะปัญหาตลอดจนบทเรียนความริเริ่มสร้างสรรค์ต่างๆในระดับชุมชนต่างๆนั้น โดยมากแล้วก็จะมีขีดจำกัดต่อการแก้ปัญหาเชิงระบบและการที่จะนำไปสู่การก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง ที่สำคัญก็คือ

  • เป็นกรณีความจำเป็นส่วนน้อย : ความเป็นจริงของการแก้ปัญหาหรือริเริ่มนำความเปลี่ยนแปลงต่างๆในสังคมและชุมชนระดับต่างๆนั้น ในความเป็นจริงแล้วจะมีความเชื่อมโยงกับระบบสังคมและสิ่งแวดล้อมอันซับซ้อน แต่ประเด็นปัญหาและบทเรียนจากการวิจัยแบบ PAR จะเป็นวิถีทางเลือกและเป็นกรณีชายขอบ จึงมักจะขาดการรับรู้ ถูกละเลยทอดทิ้ง และขาดการส่งเสริมเกื้อหนุนจากสังคมและสภาพแวดล้อมรอบข้าง
  • อยู่นอกความสนใจของสังคม : ความริเริ่มต่างๆตลอดจนการก่อเกิดภูมิปัญญาปฏิบัติบนกระบวนการวิจัยปฏิบัติการสังคมแบบ PAR มีความเข้มแข็งในการนำไปสู่การปฏิบัติและแก้ปัญหาได้จริง แต่ความเป็นทางเลือกและเป็นส่วนน้อยที่มักแตกต่างไปจากกระแสส่วนรวมของสังคม ดังนั้น ก็จะขาดเครือข่ายและแรงสนับสนุนทางสังคม ทำให้สังคมเกิดความสูญเสียความเป็นชุมชน ไม่สามารถสร้างและสั่งสมภูมิปัญญาชาวบ้านในระดับฐานรากอย่างเป็นตัวของตัวเองได้

ลักษณะปัญหาและเงื่อนไขความจำเป็นที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ ทำให้การวิจัยปฏิบัติการสังคมแบบ PAR นอกจากจะมุ่งแก้ปัญญหาระดับปฏิบัติเป็นกรณีจำเพาะแล้ว ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงกับพลังทางสังคมตลอดจนเชื่อมโยงกับเครือข่ายการบริหารจัดการความเป็นสาธารณะที่เป็นระบบนิเวศสุขภาวะสังคมชุมชนด้วย เพื่อสังคมรอบข้างจะได้เป็นสภาพล้อมที่ส่งเสริมในทางอ้อมในระดับที่อยู่เหนือความสามารถของปัจเจกและชุมชนชาวบ้าน ซึ่งแนวทางหนึ่งก็คือปฏิบัติการสังคมเพื่อเคลื่อนไหวระบบสังคมและสร้างกระแสสังคมผ่านปฏิบัติการเพื่อสร้างแรงสนับสนุนและการสนองตอบจากกลุ่มผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งสร้างกระแสสังคมให้เกิดแรงสนับสนุนอย่างสอดประสานกันโดยปฏิบัติการทางสื่อ

  เงื่อนไขเครือข่ายชุมชนผู้นำและสื่อมวลชนที่มีนัยยะต่อการออกแบบกระบวนการวิจัยแบบ PAR 

  • ระดับบุคคลมีเวลาจำกัด : กลุ่มผู้นำสาขาต่างๆไม่มีเวลามากและไม่สามารถที่จะเข้าถึงรายละเอียดที่ซับซ้อนเกินไป
  • ระดับกลุ่มจะรวมตัวให้พร้อมกันอยาก : กลุ่มผู้นำสาขาต่างๆเป็นชุมชนผู้นำเพียงส่วนน้อยแต่ต้องมีความรับผิดชอบมาก ดังนั้น จึงเป็นกาารยากที่จะสามารถมีเวลาว่างที่เพียงพอสำหรับมีส่วนร่วมกิจกรรมหนึ่งใดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งเป็นการยากที่ผู้นำในสาขาต่างๆจะสามารถจัดเวลาให้ว่างในช่วงเวลาเดียวกันได้
  • ไม่มีพลังความน่าสนใจจากสื่อกระแสหลัก : สื่อมวลชนไม่มีกำลังคนสำหรับเข้าถึงกิจกรรมและเหตุการณ์ต่างๆของสังคมได้อย่างทั่วถึงเพียงพอ และจะให้เป็นฝ่ายแสวงหาวัตถุดิบและข้อมูลสำหรับนำไปเผยแพร่ทางสื่อโดยตนเองแต่เพียงลำพัง เรื่องของชุมชนและประเด็นส่วนรวมในทางเลือกที่เป็นกิจกรรมการวิจัยแบบ PAR ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในความสนใจ

  ระดมพลังวิจัยเพื่อจัด Event และจัดเดินเรียนรู้ชุมชนอย่างมีพลังสำหรับกลุ่มผู้นำและสื่อมวลชน

ด้วยความจำเป็นเพื่อเคลื่อนไหวระดมพลังสังคม รวมทั้งจำเป็นต้องสร้างปัจจัยแวดล้อมที่จะเป็นแรงสนับสนุนทางสังคม ตลอดจนจำเป็นที่จะต้องสะท้อนบทเรียนและถ่ายทอดภูมิปัญญาต่างๆ ผ่านวิธีสื่อสารกับสังคมและสร้างการสนับสนุนจากเครือข่ายหน่วยงานและองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน ทว่า กลับมีข้อจำกัดเป็นอย่างยิ่งดังที่กล่าวมาในข้างต้น การออกแบบกระบวนการและปฏิบัติเชิงยุทธศาสตร์ผ่านกระบวนการวิจัยแบบ PAR ก็จะเอื้อให้เราสมารถดำเนินการปฏิบัติการสังคมได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการแก้ปัญหาดังกล่าวให้สามารถบรรลุจุดหมายร่วมกันได้เป็นอย่างดี เช่น

  • จัดเวทีชุมชน นำเสนอกิจกรรมของกลุ่มก้อน และเดินสัมผัสกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์เชื่อมโยงไปสู่ประเด็นการนำเสนอต่อกลุ่มผู้นำและสื่อมวลชนได้อย่างดี เพื่อนำเสนอข้อมูลอย่างมีพลังในระยะเวลาอันรวดเร็ว ภายในครึ่งชั่วโมงหรืออย่างมากที่สุดก็ภายใน ๑ วัน
  • จัดเอกสารข้อมูล สำหรับสื่อมวลชนและสื่อเครือข่ายผู้นำ ซึ่งเรียกว่า Press Release  (จะได้อธิบายโดยละเอียดในภายหลัง) ที่ได้ประเด็นเด่นชัดและมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตอบคำถามและนำไปสื่อสะท้อนหรือเคลื่อนไหวขยายผล ต่อไปทั้งโดยทางสื่อ และโดยการร่วมเป็นปากเสียงของเครือข่ายผู้นำ ประกอบด้วย What Who When Why How หรือ 4W1H
  • จัดกลุ่มผู้นำที่เหมาะสม เข้าถึงและประสานงานเครือข่ายผู้นำและสื่อมวลชนตามที่ต้องการ

  พลังการวิจัยแบบ PAR และการออกแบบเพื่อดำเนินการในแนวนี้ 

  • ค้นหาจุดสนใจที่ดีและมีพลังต่อการอธิบายสิ่งต่างๆ : ระบุประเด็นปัญหาหรือความน่าสนใจที่โดดเด่นและมีความเชื่อมโยงกับเรื่องราวอื่นๆทั้งหมดของชุมชนได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เป็นหัวข้อหลักและเป็นตัวเปิดประเด็นความสนใจ นำไปสู่การสื่อสารและนำเสนอเรื่องราวต่างๆต่อไปได้ตามที่ต้องการ
  • สร้างความรู้และข้อมูลเพื่อสื่อกับสังคม : ระดมกลุ่มประชาคมสร้างความรู้และเรียนรู้อย่างลึกซึ้งทั้งตนเองและความเป็นชุมชนของตนเองในมิติต่างๆ โดยเน้นประเด็นที่ได้เลือกร่วมกัน ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้ข้อมูลเตรียมการนำเสนอต่อกลุ่มผู้นำและสื่อมวลชนตามที่ต้องการได้เป็นอย่างดีแล้ว กระบวนการวิจัยดังกล่าวในขั้นตอนอย่างนี้ ก็จะเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มนักวิจัยชาวบ้านให้มีความเข้มแข็ง สามารถลุกขึ้นพูด สื่อสาร และนำเสนอสิ่งต่างๆในนามของตนเองและด้วยตนเองได้
  • ค้นหาสื่อตัวอย่างของจริง : ร่วมกันวิจัยในวิถีชาวบ้านเพื่อเข้าถึงกรณีตัวอย่างที่มีความสามารถอธิบายและบอกเล่าตนเองแก่กลุ่มผู้นำและสื่อ ให้สามารถเข้าใจและเห็นภาพสิ่งต่างๆอันเชื่อมโยงได้ในระยะเวลาที่จำกัด ให้ดีที่สุด กรณีตัวอย่าง กิจกรรม ตลอดจนความสามารถเชิญผู้นำสาขาต่างๆให้เข้ามามีส่วนร่วมเวทีที่จะจัดขึ้นมาได้ จะมีความน่าสนใจในการทำรายงานต่างๆของสื่อมวลชนอยู่ในตัวเอง ดังนั้น จึงต้องดำเนินการให้สัมพันธ์กัน
  • รวบรวมและจัดแสดงเพิ่มโอกาสสื่อสารความจริง : จัดเวทีชุมชนและวิเคราะห์สิ่งแสดงที่ให้พลังความคิดและนำไปสู่ความสร้างสรรค์ในอันที่จะเกิดความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจกันอย่างกว้างขวาง

  การจัดกิจกรรมและเชื่อมโยงสิ่งที่เตรียมการต่างๆเข้าด้วยกัน  

  • จัดกิจกรรมและเวทีสื่อสารกับผู้นำและสื่อมวลชน : จัดกิจกรรมเวทีนำเสนอและสร้างการสื่อสารกับกลุ่มผู้นำและกลุ่มสอื่อมวลชนในเวลาอันสั้น รวดเร็ว และยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบแต่ให้ได้สาระสำคัญเป็นอย่าสงดีที่สุด
  • ทำเอกสารข้อมูลสื่อและนำเสนอช่วยกันหลากหลาย : นำเสนออย่างมีส่วนร่วม พร้อมทั้งแจกจ่างเอกสารสื่อข้อมูลอย่างหลากหลายโดยเน้นรูปแบบที่เป็นธรรมชาติ สื่อสะท้อนชีวิตชุมชนและสามารถดำเนินการต่อไปได้อีกอยู่เสมอในระยะยาว
  • พาเดินเรียนรู้และสัมผัสตัวอย่างของจริง : จัดกรณีตัวอย่างสำหรับการเดินเรียนรู้และสัมพัสชุมชนไว้อย่าวหลากหลาย
  • ทุกคนเป็นนักวิจัยและสื่อชุมชน : เตรียมนักวิจัยชาวบ้านและผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มก้อน เพื่อนำเสนอช่วยกันให้ดีที่สุด

ในอดีตนั้น กระบวนการดังกล่าวนี้อาจจัดเป็นเวทีผู้นำและใช้รูปแบบอภิปรายหรือเสวนา ซึ่งก็ให้ผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี ทว่า ปัจจุบัน หากจะดำเนินการให้ได้ผลด้วยวิธีดังกล่าวนี้ก็คงจะเป็นไปได้ยาก กระบวนการิจัยแบบ PAR ซึ่งออกแบบและดำเนินการดังที่กล่าวมานี้ ก็จะเป็นวิธีปฏิบัติการสังคมบนกระบวนการวิจัยอย่างหนึ่งที่จะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวด้วยพลังสังคมชุมชนในขอบเขตต่างๆ ตามที่ต้องการในเงื่อนไขที่จำเป็นได้.

หมายเลขบันทึก: 408762เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในสังคม ในระบบชุมชน นอกจากกลุ่มผู้นำแล้ว

ยังมีผู้ที่ไม่มีเสียงหรือเสียงไม่ดัง ได้แก่ สตรี เด็ก คนพิการ

เขาเหล่านี้ก็มีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชุมขน

การเปลี่ยนแปลงโดยไม่คำนึงถึงคนส่วนน้อยที่อาจถูกกีดกัน

ไปสู่ชายขอบ แม้กระทั่งการมีส่วนร่วมตัดสินใจพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น

  • การวิจัยแนวนี้โดยมากแล้ว ในส่วนที่เชื่อมโยงกับกลุ่มผู้นำและกลุ่มคนกลุ่มต่างๆ ก็จะเชื่อมโยงเพื่อให้เข้าไปดูแลและเป็นเครือข่ายสนับสนุนกลุ่มคนที่ไร้โอกาส กลุ่มคนที่เสียเปรียบ กลุ่มคนชายขอบ และกลุ่มคนที่อยู่นอกความเป็นกระแสหลักของสังคมน่ะครับ
  • ในด้านรที่ไม่ใช่ปัญหาก็เช่นกันครับ ก็จะมุ่งเชื่อมโยงให้ไปดูและหรือให้ความสนใจกับความริเริ่มเล็กๆของคนส่วนน้อย
  • ไม่อย่างนั้นกรณีส่วนน้อยจะจะถูกละเลยและขาดการได้โอกาสที่ดีจากสังคม
  • หลายแห่งก็ทำในแนวนี้ได้เป็นอย่างดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท