EK-KARIN CHUAYCHOO
นาย เอกรินทร์ EK-KARIN CHUAYCHOO ช่วยชู

ป้องกันรักษาอาการใบเหี่ยวเหลือง แง่งเน่า ของขมิ้นด้วยจุลินทรีย์และหินแร่ภูเขาไฟ


นำเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) หมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัมน้ำเปล่า 15 ลิตร ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 200 ลิตร ร่วมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วย 400 ซีซี. ฮิวมัส 30 กรัม แล้วราดรดบริเวณแนวร่องทุกๆ 15 วัน/ครั้ง หรือปล่อยผ่านท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ นานวันละ10-15 นาที

อาการใบเหี่ยวเหลือง แง่งเน่า ในขมิ้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum  แพร่ระบาดได้ง่ายในสภาพแวดล้อมที่มี อุณหภูมิค่อนข้างสูง ฝนตกชุก ซึ่งจะเข้าทำลายและอาศัยอยู่แบบข้ามฤดู ซึ่งส่วนใหญ่เชื้อดังกล่าวจะติดมากับแง่งขมิ้นหรือหน่อที่ใช้ทำพันธุ์ โดยจะแสดงอาการในระยะเริ่มแรกหลังจากเชื้อเข้าทำลาย ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ จะเหี่ยว ตกลู่ลง ต่อมาจะม้วนเป็นหลอดและเหลือง อาการจะค่อยๆ ลามจากล่างสูงขึ้นไปยังส่วนบน ต่อมาใบจะม้วน เหลืองแห้งทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่จะมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ซึ่งต่อมาจะเน่าเปื่อยหักหลุดออกมาจากแง่งโดยง่าย แต่จะไม่มีกลิ่นเหม็น เมื่อตรวจดูที่ลำต้นจะพบว่าส่วนที่เป็นท่อน้ำท่ออาหาร จะถูกทำลายเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม และมีเมือกของแบคทีเรียเป็นของเหลวสีขาวข้นคล้ายน้ำนมซึมออกมาตรงรอยแผลหรือรอยตัดของต้นหรือแง่งที่เป็นโรค สำหรับแง่งจากต้นที่เพิ่งแสดงอาการโรคในระยะแรก หากนำขึ้นมาผ่าออกดู จะพบรอยช้ำฉ่ำน้ำเป็นปื้นๆ โดยเฉพาะแง่งที่ยังอ่อน ต่อมาอาการจะทวีความรุนแรงทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยยุ่ยและสีคล้ำขึ้น อาการเหล่านี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศร้อนชื้น ตั้งแต่เริ่มแสดงอาการจนทำให้ต้นหักพับตาย จะใช้เวลา 5-7 วัน เป็นอย่างช้า

การควบคุมป้องกันรักษา

  1. ตัดแต่งใบส่วนที่เป็นโรคออกประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เว้นใบให้พืชได้สังเคราะห์แสง
  2. กำจัดวัชพืชออกทำลายนอกแปลง ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดิน เพื่อลดปริมาณความชื้นในแปลง
  3. การป้องกันรักษากระทำได้ 2 วิธี ทั้งทางดิน ทางใบหรือกระทำพร้อมๆ กัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น

      3.1วิธีควบคุมป้องกันทางดิน

  • นำพูมิชซัลเฟอร์หว่านโรยรอบทรงพุ่มหรือแนวร่องบางๆ ทุกๆ 1 เดือน เป็นไปได้ให้นำพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัมผสมร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัมและเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม หว่านปรับสภาพดินก่อนเพาะกล้าทุกครั้ง  เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราในดินอีกทางหนึ่งด้วย
  • นำเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) หมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัมน้ำเปล่า 15 ลิตร ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมงก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าหรือน้ำที่ละลายพูมิชซัลเฟอร์ ประมาณ 200 ลิตร ร่วมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วย 400 ซีซี.และโพแทสเซียมฮิวเมท 30 กรัม แล้วราดรดบริเวณทรงพุ่มหรือแนวร่องทุกๆ 15 วันครั้ง หรืออาจจะปล่อยผ่านท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ก็ได้ นานวันละ10 -15 นาที

       3.2วิธีควบคุมป้องกันทางใบ

  • ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม น้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำเปล่าหรือน้ำที่ละลายพูมิชซัลเฟอร์ (พูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ปล่อยให้ตกตะกอนนานประมาณ 15 นาทีหรือน้ำใส )  200 ลิตร ร่วมกับไคโตซาน MT 50 ซีซี. ซิลิโคเทรช 100 กรัม และม้อยเจอร์แพล้นหรือสารจับใบ 20 ซีซี. ก่อนนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 10-15 วันครั้ง

มิตรเกษตรท่านใดสนใจสอบถามแลกเปลี่ยนข้อมูลติดต่อได้ที่คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (081-3983128)

หมายเลขบันทึก: 408580เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2010 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท