KM ที่รัก ตอนที่28 " พลังของชุมชน มุมมองของนักทฤษฎี วาทกรรมการพัฒนา"


วาทกรรมของใคร?????

                 วาทกรรมการพัฒนา เป็นหัวข้อสำคัญที่สุดในการถกกัในวันนี้ โดยมีอาจารย์กนกวรรณ เป็นคุณอำนวยไห้เกิดการแลกเปลี่ยน วิพากษ์ วิจารณ์ ของนักศึกษาที่มีต่อทฤษฎี "วาทกรรมการพัฒนา   รวมถึง  การพัฒนาอย่างยั่งยืน  แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน  เป็นประด็นที่เราจะถก และแลกเปลี่ยน วิพากษ์  และโต้แย้ง   กันตลอดเวลา 3 ชั่วโมง

                วาทกรรมคืออะไร? อะไรคือวาทกรรม? พอสรุปจากเวทีการแลกเปลี่ยนกัน  คือวาทกรรมหมายถึง"กระบวนการผลิต หรือสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ให้มีตัวตน โดยมีภาคปฏิบัติ เป็นเครื่องมือเพื่อการตรึง ให้วาทกรรมนั้นๆ คงอยู่ เช่นใช้ ความเชื่อ ,จารีตประเพณี,กฎหมาย,กฎเกณฑ์ ,สถาบัน เป็นตัวคำการดำรงอยู่ของวาทกรรม  และจะมีความสัมพันธ์กับ เรื่องเวลา(Timing) นอกจากนี้วาทะกรรมยังเป็นคนกำหนดให้เป็นไปของสรรพสิ่ง โยงไปถึงว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดควรทำ   ที่สำคัญวาทกรรมเมื่อถูกขัดเกลาอย่างดีแล้ว ก็จะกลายเป็น องค์ความรู้

             ถามว่าทำไมต้องมีวาทกรรม   "วาทกรรม"เป็นแนวคิดเชิงระบบ    ที่มีอิทธิพล ต่อการแสดงเอกลักษณ์ และความหมายของสรรพสิ่งต่าง ๆชึ่งวาทกรรม สามารถ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ วาทกรรมหลัก  และวาทกรรมรอง ถ้าเราจะมองให้เห็นภาพที่ชัดเจน ดังตัวอย่างนโยบายของรัฐบาล ในปัจจุบันในช่วงต้น วาทกรรมหลักทางนโยบาย  คือการพัฒนาประเทศแบบทุนนิยม  และนโยบายที่เป็นวาทกรรมรองคือการพัฒนาแบบทฤษฎีใหม่  ซึ่งแนวคิดแบบแยกหรือแบ่งฝ่ายเป็นวาทกรรมหลักและวาทกรรมรอง   นักคิดนักทฤษฎีอย่าง ฟูโก ก็ไม่เห็นด้วย  เพราะว่านอกจากจะมองไม่เห็นความซับซ้อน ของการต่อสู้ และขับเคี่ยว ระหว่างวาทกรรมแล้ว อาจทำให้เราเข้าใจผิดว่าทั้งสองอย่างมันแบ่งแยกกันอย่างเด็ดขาด จริง ๆแล้ววาทกรรมน่าจะมีความกลมกลืนกัน เพราจะส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกฏระเบียบ และกฏหมายของฝ่ายรัฐ เป็นเครื่องมือที่จะควบคุม กลุ่มคนที่อ่อนแอกว่า รวมทั้งผู้เสียเปรียบ จะถูกจัดระเบียบควบคุมมากกว่าผู้ที่แข็งแรงกว่า

                วาทกรรมส่งผลทำให้มีการมุมมอง การวิพากษ์ และการโต้แย้ง ของ Modernity  ที่ใช้เทคโนโลยี ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ นำไปสู่ Modernization ที่มุ่งเน้นและเชื่อว่าการสร้างความม้งคั่งให้กับบุคคลเชิงปัจเจก จะทำให้เกิดสังคมที่ดีและมั่งคั่ง   จึงเกิดแนวคิดจากกลุ่ม Post-modernism  กลุ่มนี้วิพากษ์ และโต้แย้ง ว่ากลุ่มทันสมัยนิยมว่า

              1. ทำไม่ใด้ตามสัญญา

              2.ไม่เชื่อว่าการใช้ความรู้(วิทยาศาสตร์) อย่างเดียวจะทำให้เกิดการพัฒนาได้

               3. ไม่เชื่อในความเที่ยงตรงของความรู้ เพราะความรู้สามารถเปลี่ยนแปลงได้

                4. ไม่เชื่อว่าความทันสมัย จะสร้างความสุขที่แท้จริงได้

                            สิ่งเหล่านี้ทำให้เรากลับไปมอง วิธีการพัฒนาที่ผ่านมาว่า "ใช่หรือปล่าว" และที่เกิดปัญหาผลกระทบมากมาย ทั้งด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ มลภาวะ ความรุนแรงในสังคมที่เกิดขึ้นกับผลผลิตจากการพัฒนาที่ผ่านมา ใช่หรือปล่าว..ครับ เจ้านาย.. 

หมายเลขบันทึก: 40843เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท