เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยI


เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยI

เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย

 การเขียนชื่อเรื่องงานวิจัย

              การเขียนชื่อเรื่องงานวิจัย  ควรมีความ   กะทัดรัด  มีความชัดเจนในตัวเอง  แสดงให้เห็นลักษณะของตัวแปร  กลุ่มตัวอย่าง  และขอบเขตของการวิจัย   ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่เชื่อถือได้ในวิชาชีพนั้น ๆ เป็นประโยคที่สมบูรณ์  ข้อความ หรือวลีก็ได้

การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย

  1. แนวในการเขียนแบ่งเป็น  3  ส่วน  คือ

       1.1   เริ่มจากจากสภาพปัจจุบันของสิ่งที่จะวิจัย   

       1.2   ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับสิ่งที่จะวิจัย

       1.3   แนวทาง หรือ หลักการที่จะแก้ปัญหานั้น

              (1) ตรงประเด็น ชัดเจนและชี้ให้เห็นความสำคัญของการวิจัย                 

              (2) มีข้อมูลอ้างอิง ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ

              (3) มีความต่อเนื่องกัน  ในแต่ละย่อหน้าผู้เขียนต้องเขียนให้ต่อเนื่องกัน  

              (4) มีการสรุปเหตุผลที่ผู้วิจัยจะศึกษา  ในส่วนสุดท้ายของความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย  

 การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย              

1.   สอดคล้อง/สัมพันธ์  กับชื่อเรื่องการวิจัย

2.   ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร  กับใคร  ที่ไหน

3.   ถ้าเรื่องที่วิจัยเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลาย ๆ ตัว  ควรเขียนแยกเป็นข้อ ๆ

4.   ภาษาที่ใช้ต้องเข้าใจง่าย  และแจ่มชัดในตัวเอง

5.   สามารถเก็บข้อมูลได้ ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเขียนแล้ว  ผู้วิจัยไม่รู้ หรือไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้  จะทำให้การวิจัยประสบความล้มเหลวได้

การเขียนสมมุติฐานการวิจัย

                การ เขียนสมมุติฐานการวิจัย ควรเขียนหลังจากที่ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเรียบร้อย  เพราะจะทำให้ผู้วิจัยมีเหตุผลในการกำหนดสมมุติฐาน

                1.   หลักการกำหนดและทดสอบสมมุติฐาน

                      1.1  มีข้อมูลพอเพียงเกี่ยวกับตัวแปร และ ความสัมพันธ์ของตัวแปร  จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

                      1.2 มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง  

                      1.3 ผู้วิจัยต้องการจะใช้วิธีการ การทดสอบสมมุติฐาน

                2.   หลักการเขียนสมมุติฐานการวิจัย

                      2.1   งานวิจัยจะมีสมมุติฐานการวิจัย เมื่อวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นการเปรียบเทียบหรือมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบ

                     2.2    ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

                     2.3    สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป  หรือ มีทฤษฎี   งานวิจัยรองรับ

                     2.4    ใช้คำที่เข้าใจง่าย  ชัดเจน  เข้าใจได้ตรงกัน

 การเขียนตัวแปร

                1.  ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent  variable)   เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุ (Cause)  ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ  ตัวแปรต้นเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น หรือจัดกระทำ  (Treatment)     ตัวแปรต้นจะมีผลต่อตัวแปรตาม    ค่าตัวแปรต้นมีส่วนกำหนดค่าตัวแปรตาม

                2.  ตัวแปรตาม (Dependent variable)  เป็นตัวแปรซึ่งเป็นผลที่เกิดจากตัวแปรต้น  เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการให้เกิดพฤติกรรมนั้น  ๆ    ค่าตัวแปรตาม  ผันแปรตามค่าของตัวแปรต้น  

 

การเขียนนิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย

              นิยามศัพท์เฉพาะ (Definitions of specific terms)   เป็นการให้ความหมายของตัวแปร หรือ คำศัพท์  ที่นำมาใช้ในการวิจัย  ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้อ่านงานวิจัยกับผู้วิจัย   คำที่ควรเขียนเป็นนิยามศัพท์เฉพาะ   ควรเป็นตัวแปร หรือคำที่ผู้วิจัยเขียนบ่อยมากในงานวิจัยครั้งนั้น

                1.    หลักการเขียนนิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย

                       1.1   ไม่ขัดแย้งกับหลักทฤษฎี  หรือ ข้อเท็จจริงทั่วไป

                       1.2   ควรเป็นนิยามที่ผู้วิจัยเขียนขึ้นเอง  โดยศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย และทฤษฎี

                       1.3   ควรนิยามตามตัวแปรที่จะศึกษา  และ เนื้อหาที่วิจัย

                       1.4   มีความชัดเจน  เข้าใจได้ง่าย   และผู้อ่านเข้าใจได้ตรงกัน

                       1.5   ควรเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ (ตัวแปรวัดด้วยอะไร  ผลเป็นอะไร)

2.    เทคนิคการกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย

              ในการทำวิจัยแต่ละเรื่อง ผู้วิจัยอาจมีคำเฉพาะที่ใช้ในการวิจัย เนื่องจากคำที่ใช้มีความหมายคลุมเครือหรือแปลความได้หลายความหมาย หรือคำบางคำที่ผู้วิจัยคิดว่าถ้าไม่บอก หรืออธิบายคำ นั้น ๆ  ก่อน  อาจจะทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นต่อผู้อ่านงานวิจัยได้   จึงจำเป็นต้องให้คำจำกัดความไว้  เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจได้ตรงกับผู้วิจัย 

 การเขียนประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

1.  เขียนประโยชน์ที่ได้รับโดยตรงมากที่สุด ไปหาประโยชน์น้อยที่สุดจากการวิจัย

2.  เขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และสิ่งที่วิจัย แต่ควรเขียนในลักษณะว่า  เมื่อทราบความแตกต่างแล้ว  จะก่อให้เกิดประโยชน์  ในแง่การเสริมสร้างความรู้ หรือการใช้ผลอย่างไร

3.  ต้องอยู่ในขอบข่ายของวัตถุประสงค์ที่ศึกษาเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 408197เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท