เหตุขวางกั้นการทำความดี


                                        เหตุขวางกั้นการทำความดี

       

                             นิวรณ์มี ๕ ประการ  ได้แก่ 
         ๑.กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ ๕                                                  

         ๒.พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ

         ๓.ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน        

         ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และรำคาญหงุดหงิดใจ
         ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

              พอที่จะอธิบายพอสังเขป ดังนี้

      ๑.กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ ๕ ได้แก่อารมณ์ที่ครุ่นคิดติดอยู่กับความเป็นอดีต - อนาคต – ปัจจุบัน   ในเรื่องของ รูป เสียง กลิ่น รสและสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์ เช่น เรื่องความห่วงใย บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร หลาน ทรัพย์สินทั้งหลาย อาหาร เครื่องแต่งกาย ละคร เพลงต่างๆ และ ฯลฯ  ในความเป็นอดีต - ในอนาคต – ในปัจจุบัน  ด้วยความพึงพอใจบ้าง ด้วยความไม่พึงพอใจบ้าง เป็นกุศลบ้าง ไม่เป็นกุศลบ้าง เพียงนี้แหละฌานก็ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง
     ๒.พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ  ได้แก่อารมณ์ที่ครุ่นคิดติดอยู่กับความเป็นอดีต - อนาคต – ปัจจุบัน ในเรื่องของความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ ใน กามคุณ ๕   คือ รูป เสียง กลิ่น รสและสัมผัส อันเป็นวิสัยของความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ เช่น เรื่องความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร หลาน ทรัพย์สินทั้งหลาย อาหาร เครื่องแต่งกาย ละคร เพลงต่างๆ และ ฯลฯ  ในความเป็นอดีต - ในอนาคต – ในปัจจุบัน ด้วยความไม่พึงพอใจ ที่ไม่เป็นกุศล เพียงนี้แหละฌานก็ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง
     ๓.ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ประดุจดั่งข้อธรรมที่เป็นกลางๆ คือ อุเบกขารมณ์แบบรุนแรง ไม่มีสติ-สัมปชัญญะ ควบคุมกำลังใจ และกาย ต้องกล่าวอย่างรุนแรงว่า “มันหลับไปเลยครับอาจารย์”... เพียงนี้แหละฌานก็ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง
     ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และรำคาญหงุดหงิดใจ ได้แก่อารมณ์ที่ครุ่นคิดติดอยู่กับความเป็นอดีต - อนาคต – ปัจจุบัน   ในเรื่องของ รูป เสียง กลิ่น รสและสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์ เช่น เรื่องความห่วงใย บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร หลาน ทรัพย์สินทั้งหลาย อาหาร เครื่องแต่งกาย ละคร เพลงต่างๆ และ ฯลฯ  ในความเป็นอดีต - ในอนาคต – ในปัจจุบัน ด้วยความพึงพอใจบ้าง ด้วยความไม่พึงพอใจบ้าง เป็นกุศลบ้าง ไม่เป็นกุศลบ้าง จนในที่สุดความคิดกระจายไปแบบกว้างขวาง มิอาจหยุดความคิดนั้นๆได้ เพียงนี้แหละฌานก็ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง
     ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ในผลของการปฏิบัติไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่เพียงใด เพียงนี้แหละฌานก็ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง
           วิธีแก้ไขอารมณ์ที่นิวรณ์ ๕ เข้ามากวนใจ มีหลายวิธีการ คือ

               ๑) ด้วยการตั้ง สติ-สัมปชัญญะ ในการทำสมาธิ คือ ต้องมาตั้งต้นกันใหม่ที่ อานาปานสติ กำหนดรู้ลมหายใจ เข้า / ออก   จะข่มนิวรณ ๕ได้

                ๒) ด้วยการตั้ง สติ-สัมปชัญญะ เราต้องการทำความดีให้พ้นทุกข์จากวัฏสงสารไม่ใช่หรือ ยังไม่เข็ดกับการคบกับนิวรณ์ ๕ หรือ

                ๓) ด้วยการตั้ง สติ-สัมปชัญญะ เตือนตนว่ายังไม่หายบ้าอีกหรือ ไม่ได้เจริญสมาธิ ก็มีนิวรณ์ ๕ เข้ามาเป็นเจ้าแห่งความคิด ทำสมาธิก็มีนิวรณ์ ๕ เป็นเจ้าแห่งความคิดเมื่อไรจะได้ดีเสียที

                 ๔) ด้วยการตั้ง สติ-สัมปชัญญะ ตกนรกมามากก็เพราะนิวรณ์ ๕ ไม่หลาบจำหรือ

                 ๕) ยังมีอีกมากความคิดในการตัด ฯลฯ

คำสำคัญ (Tags): #ความดี
หมายเลขบันทึก: 407693เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท