Nongjik Under Water Hospital


โรงพยาบาลหนองจิก ได้ เปิดบริการประชน เมื่อ วันที่  3  มิถุนายน  พ.ศ.  2528  เป็นโรงพยาบาล ขนาด 10 เตียง  และได้รับการจัดสรรเป็นโรงพยาบาลขนาด  30  เตียง  เมื่อเดือนพฤษภาคม  พ.ศ.  2537  เป็นโรงพยาบาลที่ห่างจากตัวจังหวัดเพียง  14 กิโลเมตร  มีสถานบริการด้านสาธารณสุขในความรับผิดชอบ  15 แห่ง   ประชากรในพื้นที่ความรับผิดชอบค่อนข้างสูงเป็นอันดับต้นๆ ของจังหวัด    คือ จำนวน   64,571    คน  โรงพยาบาลหนองจิก เป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในที่ลุ่มริมแม่น้ำ  ทำให้โรงพยาบาลมีปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งในฤดูฝน    ระดับน้ำในโรงพยาบาลสูงที่สุด ประมาณ 1.5 เมตร     ในปี พ.ศ. 2548 อุทกภัย ได้เกิดอุทกภัยรุนแรงที่สุด โดยในครั้งนี้ ระดับน้ำท่วมสูงสุด180 ซ.ม.  เกินความคาดหมายของโรงพยาบาล ที่ได้จัดทำแผนเตรียมรับอุทกภัยไว้  

การจัดระบบแบ่ง 3 ระดับ คือ

  • ระดับ 1  : หมายถึง ระดับน้ำท่วม ต่ำกว่า 100 ฃ.ม.  
  • ระดับ 2  : หมายถึง ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 100 ฃ.ม.
  • ระดับ 3  : หมายถึง ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 150 ฃ.ม.

 การเตรียมการในแต่ละด้าน มีความครอบคลุมทั้ง 3 ระดับ ที่ตั้งเกณฑ์ไว้ สรุปได้ดังนี้

การเตรียมการด้านต่างๆ

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

1.  ด้านบุคลากร

 

* การสื่อสาร

เตรียมพร้อมเรื่องการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

* เตรียมการจัดบุคลากรทดแทนกรณี เดินทางมาปฏิบัติงานไม่ได้

หน่วยงานที่รับผิดชอบ เตรียมแผนและกำหนดผู้รับผิดชอบ ที่ชัดเจน

อาจต้องงดบริการ ขึ้นกับผู้บริหารสูงสุดสั่งการอีกครั้ง

* บุคลากรที่อยู่บ้านพัก

ดำเนินการตามแผนที่เตรียมไว้ ในการป้องกันอุทกภัย และขนย้ายอุปกรณ์เสี่ยง เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ในโรงพยาบาล เนื่องจาก  ไม่มีระบบไฟฟ้า และ น้ำปะปา ใช้ ประกอบน้ำท่วมสูง อาจเกิดอันตราย ขณะเดินทางจากบ้านพัก มายังห้องทำงาน

ด้าน การให้บริการ และ ผู้รับบริการ

 

ให้บริการได้ปกติ ตามความสมัครใจของผู้รับบริการ และ ผู้รับบริการที่เดินทางมาโรงพยาบาลได้

- งดให้บริการ เนื่องจาก โรงพยาบาลไม่มีระบบไฟฟ้า และ น้ำปะปา ใช้ ประกอบน้ำท่วมสูง อาจเกิดอันตราย ขณะเดินทางมารับบริการ

- กำหนดการเตรียมแผนในการขนย้ายผู้ป่วยในไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลปัตตานี

ด้านสถานที่ และ สิ่งแวดล้อม รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์

 

- แต่ละหน่วยงาน สำรวจวัสดุ/อุปกรณ์เสี่ยงภัย และ ทำการเคลื่อนย้าย ให้อยู่ในระดับปลอดภัย

- จัดหาอุปกรณ์ที่ป้องกันน้ำท่วมเข้าหน่วยงาน

แต่ละหน่วยงาน  ทำการเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ ให้อยู่ในระดับปลอดภัยเท่าที่จะทำได้

4.ด้านสิ่งสนับสนุน ต่างๆ เช่น อาหาร

 

จัดเตรียมอาหาร และปัจจัยจำเป็น แก่ บุคลากร และ ผู้รับบริการ

จัดเตรียมอาหารสำหรับบุคลากรที่เฝ้าระวังภัย ในโรงพยาบาล

5.แผนการฟื้นฟู ให้กลับสู่สภาพปกติเร็วที่สุด

 -สำรวจความเสียหาย

- ทำความสะอาด

-สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น และ เร่งดำเนินการซ่อม

- เร่งปรับสภาพต่างๆให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

- รายงานหน่วยเหนือ กรณีความเสียหายรุนแรง

 

 

 

 

 เหตุการณ์อุทกภัยในปี 2548

 ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม2548 มีฝนตกอย่างต่อเนื่องจนเกิดภาวะน้ำท่วม

วันที่  8-9 ธันวาคม 2548

  • ได้รับการแจ้งเตือนจากชลประทาน อำเภอยะรัง เรื่องการปล่อยน้ำจากเขื่อนบางลาง
  • ผู้รับผิดชอบรีบแจ้งให้หน่วยงาน และบ้านพัก  สำรวจสิ่งที่ต้องเคลื่อนย้ายเมื่อน้ำท่วม
  • เตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง  ก่ออิฐ ทำแนวกั้นน้ำ  จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า และเตรียมพร้อมเรือท้องแบนสำหรับใช้งาน

 9 - 17 ธันวาคม 2548

  • ระดับน้ำสูงสุดประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์
  • ระดับน้ำท่วมบริเวณทางเข้าโรงพยาบาล  แพทย์แผนไทย  งานซักฟอกและจ่ายกลาง  บ้านพักเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
  • ระบบซักฟอกไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากน้ำท่วมบ่อบำบัดน้ำเสีย

ประสานกับโรงพยาบาลปัตตานี ในเรื่องการส่งต่อ ผู้รับบริการคลอดไปยังโรงพยาบาลปัตตานี  และขอความอนุเคราะห์ผ้า  แต่ยังคงให้บริการผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยในทั่วไป/ผู้ป่วยอุบัติเหตุและ  ฉุกเฉินตามปกติ

  • ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่หมุนเวียนในหมู่บ้านต่างๆ มีผู้ป่วยเฉลี่ยวันละ150-200 คน ด้วยโรคน้ำกัดเท้า โรคระบบทางเดินหายใจ

 18 ธันวาคม 2548 

เวลา  10.30 น  ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีได้ประกาศพื้นที่อุทกภัยในเขตอำเภอเมือง  และอำเภอใกล้เคียง 

21.00 น น้ำเริ่มไหลเข้าทางประตูหน้าโรงพยาบาลในปริมาณมาก น้ำท่วมบ้านพัก ระดับน้ำสูง มากกว่า  100 ซ. ม

 23.00 น ย้ายเจ้าหน้าที่จากบ้านพักขึ้นบนโรงพยาบาลเนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมบ้านพักมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

 19ธันวาคม  2548 

00.30 น  ระดับน้ำสูง ประมาณ  150 ซ.ม  จนเกิดแรงดันพื้นห้องซันสูตร  พื้นปูนแตก ต้องขนย้ายครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ในห้องชันสูตรขึ้นตึกผู้ป่วยนอก น้ำเริ่มเข้าอาคารผู้ป่วยคลอด  ห้องผ่าตัด  ห้องทันตกรรม กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว 

03.30น- 05.00 น.  แจ้งตัดระบบไฟของโรงพยาบาล   ผู้อำนวยการตัดสินใจย้ายผู้ป่วยในหอผู้ป่วยในซึ่งมี  จำนวน 12 คน พร้อมญาติ ด้วยเรือท้องแบนที่โรงพยาบาลเตรียมความพร้อมไว้  ไปโรงพยาบาลปัตตานี   

07.30  ระดับน้ำท่วมสูงเกินระดับของการก่ออิฐป้องกันระบบจ่ายกลาง และซักฟอก   น้ำท่วมล้นเข้าทางหน้าต่าง ระดับน้ำสูงประมาณ  1.8  เมตร  และท่วมอาคารผู้ป่วยทั้งหมดของโรงพยาบาล

10.30 น นายแพทย์ส.ส.จ และคณะเข้ามาให้การช่วยเหลือ ในเรื่องระบบไฟ และอาหาร ตลอดจนการวางแผนร่วมกันกับทางโรงพยาบาล   หากระดับน้ำสูงกว่า 2.5 เมตร  ซึ่งโรงพยาบาล จะสามารถรับระดับน้ำได้อีกไม่เกิน  50 ซ. ม  แต่แล้วระดับน้ำเริ่มคงตัว

12.30น   นายแพทย์ส.ส.จ. ประกาศปิดโรงพยาบาลเป็นการชั่วคราว เนื่องจากไม่สามารถให้บริการแก่ผู้รับบริการได้  เป็นเวลา  1 สัปดาห์ 

20 ธันวาคม 2548

  • ระดับน้ำเริ่มลดลงจากตัวอาคารผู้ป่วยนอก  ทำความสะอาด/สำรวจความเสียหายต่างๆ
  • จัดหน่วยแพทย์ตรวจรักษาผู้ป่วยนอก ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ตั้งแต่วันที่  20-24  ธันวาคม 2548 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน  เนื่องจากมีสภาพน้ำท่วมทั่วทั้งอำเภอ 

21 ธันวาคม 2548

  • ผู้ตรวจราชการ   นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและคณะ เยี่ยมโรงพยาบาล
  • โรงพยาบาลหนองจิกจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจรักษาผู้ป่วยในตำบลต่างๆ ตังแต่วันที่ 21-27 ธันวาคม  2548 
  • โรงพยาบาลโคกโพธิ์ , โรงพยาบาลยุพราชสายบุรี , โรงพยาบาลมายอ , โรงพยาบาลยะหริ่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี  , โรงพยาบาลปัตตานี ,  โรงพยาบาลศูนย์ยาเสพติด   ให้ความช่วยเหลือออกหน่วยแพทย์เคลือนที่  ในพื้นที่อำเภอหนองจิกทั้งหมด  เพิ่มอีก  14 จุด 

โรคที่ตรวจพบ 5 อันดับโรคแรก 

แผลอักเสบ จากน้ำกัดเท้า ระบบทางเดินหายใจ ปวดเมื่อย ผื่นคัน ปวดศีรษะ

22-23 ธันวาคม 2548 : ระดับน้ำตึกผู้ป่วยใน และตึกคลอด  เริ่มลดลง  ทำความสะอาด และเริ่มปรับปรุงโรงพยาบาล

25 ธันวาคม 2548 : สามารถเปิดให้บริการผู้ป่วยนอก อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

เปิดให้บริการผู้ป่วยในทั่วไป  ยกเว้น ผู้ป่วยคลอด 

 28 ธันวาคม 2548  : เปิดให้บริการทันตกรรม 

 29 ธันวาคม  2548 : เปิดให้บริการผู้ป่วยคลอด 

 โรงพยาบาลหนองจิกได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ดังนี้

  1. โรงพยาบาลปัตตานี  รับส่งต่อผู้ป่วยใน  ผู้ป่วยคลอด  สนับสนุน ผ้าปูที่นอน  ปลอกหมอน
  2.  สสจ.  ประสานงานเรื่องการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งอำเภอหนองจิก ,  ประสานกองช่างบำรุง  ร่วมวางแผนระยะยาวในการเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ อุทกภัย ครั้งต่อไป  , สนับสนุนในเรื่อง อาหาร น้ำ , ระบบไฟฟ้าสำรอง นอกเหนือจากที่โรงพยาบาลที่ได้เตรียมการไว้   
  3. โรงพยาบาลโคกโพธิ์ , โรงพยาบาลยุพราชสายบุรี , โรงพยาบาลมายอ , โรงพยาบาลยะหริ่ง   , โรงพยาบาลปัตตานี ,  โรงพยาบาลศูนย์ยาเสพติด และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี   ให้ความช่วยเหลือออกหน่วยแพทย์เคลือนที่  ในพื้นที่อำเภอหนองจิก  14 จุด 
  4. โรงพยาบาลยะหริ่ง  ให้ใช้เครื่องซักผ้า

ด้านการฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลหนองจิก ได้ความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย ดังนี้

  1. บริษัทเอกชน  ซ่อมแซมยูนิตทันตกรรม ,เครื่องมือห้องชันสูตร , ระบบแอร์ ให้เครื่องมือต่างๆ ใช้ได้ทันใจ
  2. กองช่างบำรุงฯ  ได้ซ่อมแซมครุภัณฑ์หน่วยจ่ายกลาง
  3. หน่วยซ่อมบำรุงของโรงพยาบาล ตรวจเช็คเครื่องไฟฟ้าที่ถูกน้ำในบางส่วนทั้งระบบ ก่อนนำมาใช้งาน , เครื่องมืออื่นๆ ที่ได้รับความเสียหาย 
  4. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคนให้ความร่วมมือในการทำความสะอาดโรงพยาบาล
  5. คณะทำงานสิ่งแวดล้อม  ร่วมกับฝ่ายบริหารงานทั่วไปฟื้นฟูสภาพทั่วไปของโรงพยาบาล 
  6. คณะกรรมบริหารโรงพยาบาลทบทวนแผนระยะยาว  นำเสนอการแก้ปัญหาที่นอกเหนือจากที่โรงพยาบาลจะสามารถรับระดับน้ำได้ในปัจจุบัน  (ประมาณ 2.5 เมตร )
  7. รถน้ำเทศบาล  ฉีดล้างถนน  ลานจอดรถ

  ประเมินความเสียหาย

  • ครุภัณฑ์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ทัน  เช่น ยูนิตทันตกรรมจำนวน 3 ตัว , เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ เครื่องซักผ้า , เครื่องปั่นผ้า  ซึ่งครุภัณฑ์เหล่านี้ จัดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กโทรนิก เมื่อต้องแช่น้ำเป็นเวลานาน มักมีผลต่อการใช้งานในอนาคต ( ค่าชีวิตการใช้งานสั้นลงแน่นอน )
  • เวชภัณฑ์บางส่วน
  • คุรุภัณฑ์ และ วัสดุสำนักงาน ตัวอาคาร สำนักงาน บ้านพัก

แผนการแก้ปัญหาระยะสั้น 

-   ปรับระบบการป้องกันน้ำท่วมขึ้นอีก 50 เซนติเมตร

-  โยกย้ายจุดให้บริการบางจุดขึ้นที่สูง เช่น ชันสูตร ,ก่ออิฐกั้นทางน้ำในตัวอาคารประมาณ  70 ซ. ม.

 แผนการแก้ปัญหาระยะยาว

-  สร้างแฟลตสำหรับเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม เพื่อโยกย้ายเจ้าหน้าที่จากบ้านพัก

- ทบทวนตัวอาคารพัสดุ โภชนาการ ซักฟอกจ่ายกลาง ทันตกรรม ชันสูตร แผนไทย ,

  โรงไฟฟ้า  ซึ่งตั้งอยู่ในที่ต่ำ

-ระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน

- ทางเชื่อมต่อระหว่างอาคาร

ความภาคภูมิใจ 

  • ทีมงานโรงพยาบาลหนองจิก สามารถนำพาโรงพยาบาลให้ผ่านพ้นวิกฤต ตามแผนรองรับความเสี่ยง และจัดการความเสี่ยงได้ตามระบบที่วางไว้ ตลอดจนสามารถจัดการในเรื่องการดูแลผู้รับบริการ ได้ตลอด ช่วงที่เกิดอุทกภัย และ
  • ไม่มีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องรับการรักษาใน ร.พ   อันเกิดจากภาวะน้ำท่วม
  • มีการติดตามผู้ป่วยเรื้อรังทุกราย ที่ไม่สามารถมารับยา ที่ ส.ส.อ ในช่วงที่เกิดน้ำท่วม     
  • มีการจัดการระบบรับยาในผู้ป่วย ARV ในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต      โดยการประสานงานกับโรงพยาบาลปัตตานี 
  • การแก้ปัญหาในการดูแลผู้ป่วย โรคแผลอักเสบจาก น้ำกัดเท้าการดูแลผุ้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องแผล  ในช่วงที่น้ำท่วม โดย
  • การจัดเตรียมชุดทำแผล Disposable ในจำนวนที่เพียงพอ ให้ผู้ป่วยสามารถทำแผลได้เองที่บ้าน

การจัดระบบเพื่อรองรับปัญหาน้ำท่วมกลายเป็น เรื่องที่พวกเราคุ้นชิน 

เหตุการณ์น้ำท่วมยังคงต้องเกิดขึ้นต่อไป ทุกปี    

การจัดการระบบเพียงเพื่อสามารถรองรับการให้บริการผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง

เป็นคำตอบสุดท้ายที่พวเราคาดหวัง                                                                 

หมายเลขบันทึก: 406831เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2010 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2014 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เก็บประวัคิศาสตร์ดีจังค่ะ

บังเอิญเป็นเรื่องเล่าที่นำเสนอที่ Forum ปี 49 นะคะ เลยเปิดเจอข้อมูล นำมาบันทึก เอาไว้บอกกล่าว เล่าเรื่อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท