ระบบ DRGs กับสวัสดิการข้าราชการ


สวัสดิการข้าราชการ

เป็นข่าวดีสำหรับข้าราชการและครอบครัว เมื่อกรมบัญชีกลางประกาศให้สถานพยาบาลเอกชนสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการสวัสดิการข้าราชการหรือเรียก ง่ายๆ ว่า"เบิกจ่ายตรง"เข้ารับบริการผู้ป่วยในที่รอสามารถรอการผ่าตัด เช่น ไส้เลื่อน,เนื้องอกในมดลูก เป็นต้น  ซึ่งตัวผู้เขียนก็ทำงานที่ โรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการนี้ แต่ต้องลองศึกษาดูในโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ อย่างเช่นโรงพยาบาลของรัฐ

การปรับตัวรองรับ DRG ข้าราชการสำหรับโรงพยาบาลเอกชน/รัฐ

•วิเคราะห์ระบบ DRG ข้าราชการ –จุดแข็ง/ จุดอ่อนของระบบ –ความเหมาะสมในการใช้ DRG กับ IPD   ทุกโรค/ ทุก รพ.

•SWOT analysis –ประเมินสถานการณ์/ คาดการณ์ผลกระทบ –วิเคราะห์ตัวเรา จุดแข็ง/ จุดอ่อน ----> ปรับตัว

วิเคราะห์ DRG ข้าราชการ

•Strength ---> Standardized payment

•Weakness ---->Standardized payment

•ความเหมาะสมในการใช้ DRG กับ IPD ทุกโรค/ ทุก รพ. ---->การพัฒนา DRG อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ DRG เหมาะสมในการใช้กับทุกโรงพยาบาล ที่มี input ต่างกันจริงหรือ?, การพัฒนาของโรค

ข้อพิจารณา DRG

•ความแม่นยำของระบบ DRG

 •ความเหมาะสมของอัตรา Base rate ในแต่ละกองทุน

 •การกำหนดมาตรฐานการรักษา

•Exclusion list (รายการบัญชียกเว้น) --->อยู่นอก DRG

 •คุณภาพและผลลัพธ์การรักษาพยาบาล

DRG Mechanism:

•การจ่ายเงินระบบ DRG เหมือนการจ่ายเงินซื้อของเหมา หรือ ซื้อแบบชั่งเป็นกิโล

 •หากของที่ขายมีความแตกต่างกันมาก    DRG จะไม่เป็นธรรม

 •เลือกซื้อบางชิ้น ไม่ได้

 •เมื่อต่อราคาแล้ว ต้องตกลงตามนั้น -----> ไม่มีส่วนลดอีกตอนจ่ายเงิน

DRG ที่มีประสิทธิภาพ:

ได้มาจาก........•โรคมาตรฐาน/ความถี่ของกลุ่มโรค

•มาตรฐานการรักษาพยาบาล

 •มาตรฐานการคิดราคา (Charge)

•มาตรฐานการบันทึกข้อมูลเวชระเบียนและการกำหนดรหัส ICD

สะท้อน…….. •Severity/Comorbidity/ผลลัพธ์การรักษา

CS – หมวดรายจ่ายประเภทผู้ป่วยใน

หมวดที่   1  ค่าห้องและค่าอาหาร

หมวดที่   2  ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค

หมวดที่   3    ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด

หมวดที่   4    ค่ายากลับบ้าน

หมวดที่   5    ค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา

หมวดที่   6    ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต

หมวดที่   7      ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา

หมวดที่   8      ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา

หมวดที่   9      ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่นๆ

หมวดที่ 10    ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางแพทย์

หมวดที่ 11    ค่าทำหัตถการ และวิสัญญี

หมวดที่ 12    ค่าบริการทางพยาบาล

หมวดที่ 13    ค่าบริการทางทันตกรรม

หมวดที่ 14    ค่าบริการทางกายภาพบำบัดและทางเวชกรรมฟื้นฟู

หมวดที่ 15    ค่าบริการฝังเข็ม และค่าบริการการให้การบำบัดของผู้ประกอบโรค  ศิลปะอื่น

หมวดที่ 16    ค่าบริการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยตรง

CS – DRG version 4.0

การคำนวณ RW ไม่รวม

•หมวด  1  ค่าห้องและค่าอาหาร <--- เลือกได้

•หมวด  2   ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค <--หลากหลาย / ราคาแพง

ข้อสังเกต

•หมวด  8   ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา

•หมวด  9  ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ

 •หมวด 10  ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางแพทย์

บริการเหล่านี้ มีความหลากหลาย และราคาแพง...ควรจะแยกออกจาก DRG หรือ

ข้อพึงระวัง •หมวด 4 ค่ายากลับบ้าน ---->คชจ. OPD

 •ให้ยากลับบ้านจำนวนมาก---> ค่าบริการ IPD สูง--> Charge/AdjRW สูง

 •พฤติกรรมแพทย์ที่อยากช่วยผู้ป่วย (เดิมผู้ป่วยสำรองจ่ายค่ายา OPD แล้วจึงเบิก)

 •ระบบ DRG รวมค่ายากลับบ้าน

การเบิกจ่าย

•เบิกตามระบบ DRG สำหรับหมวดที่ 3 – 15 (ยกเว้นรายการที่ไม่คุ้มครอง

 •เบิกค่าห้องและค่าอาหารตามระเบียบ CS เดิม

•เบิกค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัด รักษาโรค ตามประกาศ ว.77 (15 กพ.2548)

คำถาม

•รายการอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ฯ ที่ไม่อยู่ในประกาศ ว.77 ???--> Exclusion list

พ.ญ.ทัสนีย์  จันทร์น้อย

โรงพยาบาลศิริราช

30 มีนาคม 2550

SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์ตัวเรา

•Strength ---> บริการทางการแพทย์เป็นความจำเป็น, ประชาชนเชื่อถือ รพ.รัฐ

•Weakness --->ระบบบริการ, พฤติกรรมการใช้ทรัพยากรสุขภาพ, Severity of illness

•Opportunity --> DRG กระตุ้นโอกาสในการปรับตัวของโรงพยาบาล

 •Threat --> ความคล่องตัวในการบริหาร, Potential loss of incom

ผู้เขียนอ่านแล้วก็ยังงง คงต้องค่อยเรียนรู้ต่อไป

อ้างอิงจาก  พญ.ทัสนีย์ จันทร์น้อย โรงพยาบาลศิริราช 30 มีนาคม 2550

คำสำคัญ (Tags): #เบิกตรง
หมายเลขบันทึก: 406818เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2010 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท