โรงเรียนชาวนาระดับมัธยม (๕)


โรงเรียนชาวนาระดับมัธยม (๕)


           เริ่มเข้าเนื้อเรื่องเรื่องดินแล้วนะครับ    การจัดการความรู้เริ่มที่การสำรวจ “ทุนความรู้” ของตนเอง     โดยนิยามความหมายของคำว่า “ความรู้” ว่าหมายถึงอะไรก็ได้ที่เอามาใช้ในการทำงานได้     ช่วยให้งานประสบผลสำเร็จ    ซึ่งในที่นี้หมายถึงการทำนา     อะไรที่ใช้ช่วยให้การทำนาได้ผลดีถือเป็นความรู้ทั้งสิ้น     ดังนั้นดินที่ดีจึงถือเป็น “ความรู้” อย่างหนึ่งสำหรับ KM ชาวนา     การทำความรู้จักสภาพดินของตน (และของเพื่อนนักเรียนชาวนา) จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการความรู้เรื่องดิน

ตอนที่  4  ดินนาของเรา

             จะจับเข่าคุยกันเกี่ยวกับเรื่องดินๆ  ก่อนอื่นใดนั้น  นักเรียนชาวนาควรจะต้องเรียนรู้ดินในนาของตนเองเสียก่อน  ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเรียนรู้เรื่องดิน  เพราะดินในนาเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆตัว  เรียนรู้เพื่อทำความรู้จักและทำความเข้าใจดินในนาของตนเอง  ซึ่งนักเรียนชาวนาคลุกคลีกับดินมาโดยตลอด  ในคราวนี้จะฝึกให้นักเรียนชาวนาได้ทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับดิน  ทบทวนด้วยการจับเข่าคุยกันในกลุ่ม

             วงเสวนากลุ่มนักเรียนชาวนาบ้านโพธิ์เปิดฉากด้วยการเปิดประเด็นเรื่องดินๆ  โดยให้นักเรียนชาวนาแต่ละคนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับนาข้าว  ดิน  ปุ๋ย  เรื่องราวของแต่ละคนก็ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญมาก  ในวงเสวนาทุกคนจะได้เรียนรู้ดินจากแปลงนาของเพื่อนในกลุ่มไปพร้อมกัน  เพราะนอกจากที่นักเรียนชาวนาแต่ละคนจะนำเสนอข้อมูลของตนเอง  ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้หรือการทบทวนสิ่งที่ตนเองได้รู้จักได้สัมผัสมาก่อน  ในขณะเดียวกัน  เรื่องราวของแต่ละคนที่ได้นำเสนอ  เพื่อนๆนักเรียนชาวนาจะได้ข้อมูลไปด้วย  หลายๆ คนคอยฟังเพื่อนเล่าเรื่องด้วยความอยากรู้อยากจะติดตามสภาพปัญหา  พร้อมๆกับคิดเปรียบเทียบระหว่างเรื่องราวของตนเองกับเพื่อนๆด้วย  ...  นี่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันของกลุ่ม

             เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้  ได้มุ่งเน้นไปยังเรื่องดินกับปัญหาสภาพดินในนา  จากการเล่าเรื่องดินๆของแต่ละคน  ทำให้เราๆท่านๆได้เรียนรู้ข้อมูลชิ้นใหญ่เลยทีเดียว  ข้อมูลดังกล่าวเป็น   เบื้องต้นที่ได้มาจากการบอกเล่าของนักเรียนชาวนาแต่ละคน  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ลำดับที่

นักเรียนชาวนา

ข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องดิน

1

นางทิ้ง  ศรีสุข

-  ที่นาซื้อใหม่ 

-  ดินสีดำ  เหนียว  นิ่ม 

-  ได้ผลผลิตดี 

-  ฤดูกาลที่ผ่านมาใส่ปุ๋ยอินทรีย์

2

นายสุรัตน์  เขียวฉอ้อน

ที่นา  2  แปลง

-  นาดอน  ดินเหนียวปนทราย  นุ่ม 

   ใส่ปุ๋ย  25  กิโลกรัมต่อไร่

-  นาลุ่ม  ดินเหนียวดำ 

   ใส่ปุ๋ยไม่เกิน  50  กิโลกรัมต่อไร่

3

นางทองแย้ม  ครุฑคำ

-  นาลุ่ม  ดินดำ  เหนียว

-  ได้ผลผลิตดี 

-  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

4

นายประมูล  อินยิน

-  ดินดำ

-  มีปัญหาเรื่องข้าวเหลืองเป็นแห่งๆ

-  ใส่ปุ๋ย  20  กิโลกรัมต่อไร่

5

นายกิตติ  เรืองทอง 

-  ข้าวดำเหนียวดำ  ข้าวไม่ตาย  แต่มีหญ้ามาก 

-  ใส่ปุ๋ย  40  กิโลกรัมต่อไร่  เคยใช้ฟูไมค์

6

นายจำลอง  นิลวงษ์

-  ที่ดอน  ดินร่วนทราย 

-  ปลูกมะม่วงใหม่ตาย  เพราะดินเป็นกรด

7

นายบุญมา  ศรีแก้ว

ที่นา  2  แปลง

-  นาลุ่ม  เหนียวร่วน  ธาตุอาหารดีงาม  ดินดำ

-  นาดอน  ร่วนปนทราย  ดินแน่น  ทรายปนแดง

   สูบน้ำบ่อย  มีคราบสนิม 

-  ผลผลิตไม่ดี 

-  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

8

นางลำจวน  จันทาทอง

ที่นา  2  แปลง

-  นาบ้าน  ดินเหนียวปนทรายแดง  ข้าวไม่ตาย 

   ดินนุ่ม  ผลผลิตดี  50  กิโลกรัมต่อไร่

-  นาบึง  ดินดี  ดำเหนียว  ข้าวไม่ตาย

9

นายคง  นุชพันธ์

-  ดินเหนียวดำ 

-  ผลผลิตดี

10

นางสุรินทร์  ปิ่นเทศ

-  นาลุ่ม  ดินเหนียว  ดินนิ่ม  มีปนทรายบางแห่ง

-  ใส่ปุ๋ยน้อยกว่า  50  กิโลกรัมต่อไร่

11

นายนคร  แก้วพิลา

-  ดินไม่แข็ง 

-  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

12

นายเสวก  แก่นเชื้อชัย

-  ดินเหนียวดำ  ข้าวไม่ตาย  หญ้าขึ้น

-  ปลูกข้าวนาปี  ได้ข้าว  50  กิโลกรัมต่อไร่

13

นางสาวปลั่ง  คุณที

ที่นา  2  แปลง

-  นาลุ่ม  ดินดำ  ข้าวตายเป็นหย่อมๆ 

   ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

-  นาดอน  ดินเหนียวปนทราย 

   ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

14

นางสว่าง  ศรีสมพงษ์

-  ดินนา  ถ้าดินแห้ง  ดินจะแข็ง 

-  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

15

นางสำรวย  บุญโสม

ที่นา  2  แปลง

-  นาลุ่ม  ดินดี

-  นาดอน  ข้าวแดงตายเป็นหย่อมๆ  น้ำขอด ข้าวแดง  

-  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

16

นางสำรวย  อินทร์บุญ

-  ดินเหนียว  นิ่ม  

-  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

17

นางบังอร  พันธ์เผือก

-  ดินเหนียวดำดี  เหนียวปนทรายดินดี 

-  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยยูเรีย  3 : 1

18

นางทองคำ  กายแก้ว

-  ดินเคยปลูกมะม่วงมาก่อน  ดินเหนียวดำ 

-  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์  50  กิโลกรัมต่อไร่

19

นายสน  สว่างโลก

-  นาดอน  ดินเคยปลูกข้าวโพดมาก่อน  ข้าวไม่งาม   ข้าวเหลือง 

-  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

20

นายทองสุข  วัฒนา

ที่นา  2  แปลง

-  นาลุ่ม  ดินนิ่มเหนียวดำ  ตะกอนปุ๋ยธรรมชาติมาก ผลผลิตดี  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่  เคยใช้ฟูไมค์

-  นาดอน  ดินเหนียวดำ  ดินมีคราบสนิม  ใส่ปุ๋ย

   น้อยลง

21

นายณรงค์  กันโต

-  ดินดำเหนียว 

-  ถ้าดินเปียก  ดินจะนุ่ม  แต่ถ้าดินแห้ง  ดินจะแข็ง 

   เป็นคราบขาวแข็ง

22

นายเปล่ง  คุณที

ที่นา  2  แปลง

-  นาลุ่ม  ดินดำปนทราย  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

-  นาดอน  ดินดำปนทราย  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตดีกว่า

23

นายเสวก  มาลัย

ที่นา  2  แปลง

-  ดินทราย  ดินนุ่ม  ข้าวงาม

-  ดินเหนียว  ดินเป็นสนิม  ข้าวตาย  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

24

นางจำเนียร  อุ่นเจิม

ที่นา  2  แปลง

-  นาลุ่ม  ดินดำ  นุ่ม  ผลผลิตดีข้าวงาม  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่ 

-  ดินดำร่วน  แข็งแห้งเกือบขาว  ข้าวแดง  กาบแห้ง

25

นางสาวประเทือง  คชาชัย

-  ดินดำดี  นาลุ่ม  ดินนิ่ม   

-  ได้ผลผลิตดี

-  ใส่ปุ๋ย  50  กิโลกรัมต่อไร่

26

นายวินัย  วิไลชัยกุล

ที่นา  2  แปลง

-  นาลุ่ม  ดินดำนิ่ม

-  นาดอน  ดินแดงปนทรายร่วน  เคยทำสวนมะม่วง 

   2  ฤดู

 


      
 

 

ภาพที่  17 – 18  สภาพดินในนาจากแปลงนาของนักเรียนชาวนา

             หลังจากที่นักเรียนชาวนาได้จับเข่าคุยกันเรื่องดินๆแล้ว  พบว่า  ดินในแปลงนาของนักเรียนชาวนาบ้านโพธิ์ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว  หากมีน้ำขัง  ดินจะเหนียว  และมีสีดำ  ถ้าหากดินแห้ง  ดินก็จะแข็ง  ในบางรายนั้น  ได้พบปัญหาเรื่องต้นข้าวเหลืองตายเป็นหย่อมๆ  ดินเป็นสนิม  และมีคราบสีแดงลอยอยู่บนผิวน้ำ  และหากดินแห้ง  ดินจะมีคราบสีขาวเกาะติดอยู่ 

             ในด้านผลผลิตนั้น  นักเรียนชาวนาส่วนใหญ่ได้ข้าวอยู่ในระหว่าง  80 – 100  ถังต่อไร่  ส่วนกรณีที่มีการใส่ปุ๋ยเคมี  ส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยสูตร  46-0-0  และ  16-20-0  ระหว่าง  25 – 50  กิโลกรัมต่อไร่

             ดินนาของเรา  นักเรียนชาวนาได้ให้ข้อมูลแก่เราๆท่านๆแล้วว่าดินเป็นอย่างไร  ปลูกข้าวแล้วเป็นอย่างไร  คำตอบในเบื้องต้นจึงเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำคัญมาก  เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาดินของนักเรียนชาวนาแต่ละคน  ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่กระบวนการปรับปรุงบำรุงดินต่อไป 

           ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดิน จะเป็น “ความรู้” สำหรับการทำนาก็ต่อเมื่อมีความรู้เกี่ยวกับผลผลิตมาประกอบ     ข้อมูลจะไม่เป็นความรู้ถ้าไม่มีบริบทเข้ามากำกับ     จะเห็นว่านักเรียนชาวนาได้ฝึกการจัดการความรู้เรื่องดินโดยเอาข้อมูลเรื่องดินจากการสังเกตของตนมาประกอบกับข้อมูลการทำนาและข้อมูลผลผลิต     ได้เป็นความรู้เบื้องต้เกี่ยวกับดินเพื่อการทำนาในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

วิจารณ์ พานิช
๑๗ สค. ๔๘

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4068เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2005 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท