การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม


การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
สุมณฑา พรหมบุญ บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์
อรพรรณ พรสีมา ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ
จิตใจเข้าร่วมจึงเรียนรู้ได้
มนุษย์ คือผู้ที่ฝึกได้และต้องได้รับการฝึก มนุษย์ทุกคนมีพ่อแม่เป็นครู
ฝึกคนแรก ต่อมาจึงอาศัยกัลยาณมิตรอื่น ๆ ช่วยเหลือเกื้อกูล ทำ ให้มนุษย์แต่ละ
คนเรียนรู้ และเพิ่มพูนสติปัญญาของตน ส่วนนี้เองที่ทำ ให้มนุษย์ประเสริฐกว่า
สัตว์ มีศักยภาพในการแสวงหาความจริงต่าง ๆ นอกเหนือไปจากการแสวงหา
อาหาร การหลบภัย การต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด และการสืบพันธุ์
การเรียนให้ “รู้” นั้นเกิดขึ้นที่จิตใจ ดังนั้นการเรียนการสอนที่ไม่เข้าถึง
จิตใจของผู้เรียน จึงไม่สามารถทำ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ ไม่ว่าผู้สอนจะ
สอนดีเพียงใดก็ตาม หลักของการเรียนรู้ให้รู้จึงมีเพียงประการเดียวเท่านั้นคือ
ต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และที่ว่ามีส่วนร่วมก็คือ จิตใจของเขาเข้าร่วม มิฉะนั้น
จะไม่เกิดการเรียนรู้ได้เลย
           จิตของมนุษย์มหัศจรรย์กว่าคอมพิวเตอร์มาก ประการแรก จิตสามารถ
รับข้อมูลจากประสาทการรับรู้ทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส ตลอดเวลาที่
ประสาทเหล่านี้ทำ งาน ประการที่สอง จิตมีความรู้สึกสุขหรือทุกข์ได้ ประการที่สาม
จิตมีความทรงจำ ที่ไม่จำ กัด และประการที่สี่ จิตมีความสามารถในการคิด ปรุงแต่ง
เชื่อมโยงอย่างไม่มีขอบเขต และเมื่อประมวลจากความสามารถของจิตทั้งสี่ประการที่
กล่าวมาแล้วนี้ ก็สรุปรวบยอดเป็นคุณสมบัติ ประการสุดท้าย ของจิตคือ จิตสามารถรู้
ได้ และโปรแกรมสิ่งที่เรียนรู้นั้นเก็บไว้ในจิตอย่างไม่จำ กัดประเภทและปริมาณ มนุษย์
แต่ละคนจึงเจริญเติบโตควบคู่กับการแปรแกรมจิตของตนเอง ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว
การเรียนการสอนที่มีคุณภาพจึงต้องให้ผู้เรียนเอาจิตใจเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
ตลอดกระบวนการ
          ภาพที่ ๑ แสดงกลไกของการเรียนรู้ เริ่มต้นจากการรับข้อมูลจากสิ่งเร้าภายนอก
และภายในร่างกาย ผ่านประสาทรับรู้ทั้ง ๕ อย่างคือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย เข้าสู่สมอง
และจิต จิตที่ทุกข์หรือจิตที่สุขควบคู่ไปกับข้อมูลที่ได้รับเข้ามาจะประทับในความทรงจำ
ได้รวดเร็ว และทนนานกว่าข้อมูลอื่น เนื่องจากธรรมชาติของจิตมักจะจดจ่ออยู่กับการ
แสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์อยู่เสมอ ดังนั้นการทำ ให้จิตใจของผู้เรียนเข้า
ร่วมได้โดยง่ายที่สุดก็คือ การหาวิธีที่จะทำ ให้จิตสุขหรือทุกข์ไปพร้อม ๆ กับสิ่งที่อยาก
จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้นั้นเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า การเรียนรู้แบบมีสุข/ทุกข์เงื่อนไข
เงื่อนไขก็คือการเสริมด้วยสุขหรือทุกข์แล้วแต่กรณี ถ้าจะให้มีปฏิกิริยาในทางบวกต่อข้อ
มูลก็เสริมด้วยเงื่อนไขสุข แต่ถ้าจะให้มีปฏิกิริยาในทางลบต่อข้อมูลนั้นก็เสริมด้วยเงื่อน
ไขทุกข์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการเรียนรู้ในวัยเด็กนั้นเป็นการเรียนรู้แบบนี้
ส่วนการเรียนรู้ที่ไม่ต้องอาศัยสุขหรือทุกข์เป็นเงื่อนไขนั้นเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน แต่จะ
เกิดจากจิตที่มีสติและปัญญาเป็นพื้นฐาน ผู้ที่มีจิตแบบนี้โดยสมบูรณ์ย่อมไม่ต้องอาศัย
เทคนิคอะไรมากมายในการฝึกให้เขาเกิดการเรียนรู้ เพราะจิตของเขาพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่
แล้ว
          ดังนั้น ในการฝึกให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผู้ฝึกจึงต้องเข้าใจกลไกของการเรียนรู้เป็น
พื้นฐาน และรู้จักกำ หนดเงื่อนไขของสิ่งที่จะให้เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพื้นฐานจิตของผู้
เรียนแต่ละคน ทั้งในด้านประเภท ปริมาณ และความถี่ของเงื่อนไขนั้น เพื่อให้เข้าถึง
จิตใจของผู้เรียนให้ได้ มิฉะนั้นแล้วความพยายามทั้งหลายของผู้สอนก็จะสูญเปล่า แม้
ว่าจะตั้งใจดีเพียงใดก็ตาม
          ถ้าเราเข้าใจกลไกของการเรียนรู้ จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้นั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะใน
ห้องเรียนเท่านั้น แต่การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่ประสาทรับรู้ทำ งานประสานกับ
จิตใจ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่จะนำ เสนอต่อไปนี้จึงเป็นการนำ เสนอมิติใหม่ของการ
เรียนการสอน ที่เรียกว่า “การศึกษา ๑๐๐ %” หมายถึง การเรียนรู้เต็ม ๑๐๐ % ของเวลา
ของผู้เรียน โดยมีครูเป็นผู้จัดการให้เกิดการเรียนรู้ให้เต็มร้อยนั้น ศูนย์กลางของการ
เรียนรู้จึงอยู่ที่ผู้เรียน มิใช่ผู้สอน การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมก็คือ การที่เด็กแต่ละคนมี
ส่วนร่วม และการมีส่วนร่วม ก็คือการที่เด็กเอาจิตใจร่วมทำ ให้ตัวเขาเองเกิดการเรียนรู้
ในสิ่งที่ครูอยากจะให้รู้ ไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม
            ดังนั้น บทบาทและหน้าที่ของครูจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ครูที่แท้จริงคือ
กัลยาณมิตรของลูกศิษย์ คือผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้ ด้วยความรัก ความ
เอาใจใส่ และความปรารถนาดีต่อศิษย์เสมือนหนึ่งลูกของตนเอง และเป็นที่พึ่งของศิษย์
ที่เทคโนโลยีใด ๆ มิอาจทดแทนได้
ยุทธวิธี ๔ ดาว
           การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่การเป็น “คนเก่ง ดี มีสุข” นั้น
ครูจำ เป็นต้องปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบการสอนให้สอดคล้องกันทั้ง
ระบบ หนทางในการปรับเปลี่ยนอาจกระทำ ได้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่โครงการนำ ร่องศูนย์
พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชนได้ทดลองปฏิบัติ และเกิดผลดีคือ ยุทธวิธี ๔ ดาว ดัง
ปรากฏในภาพที่ 3
            การเรียนการสอนที่มีคุณภาพจะต้องพยายามจัดการให้มียุทธวิธีทั้ง ๔ กลุ่ม
ประกอบกัน มากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับปัญหาและสถานการณ์?แตกต่างกัน ยุทธวิธีทั้ง
๔ นี้ ไม่ใช่ทางเลือก ๔ อย่าง แต่ต้องมีทั้ง ๔ อย่าง และเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ยุทธวิธีที่ ๒-๔ จะสนับสนุนและส่งเสริมให้การสอนในชั้นเรียนตามยุทธวิธีที่ ๑ ได้ผล
ดีอย่างเต็มที่
            ยุทธวิธีที่ ๑ : วิธีการสอนแบบดาว ๕ แฉก เป็นเทคนิคการสอนซึ่งมีแนวคิดและหลักการดังนี้
๑. การเรียนเป็นกลุ่ม
๒. การใช้คำ ถามเป็นสื่อให้คิด
๓. การให้เด็กทำ กิจกรรมและสร้างผลงาน
๔. การช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการโดยการเสริมด้วยสื่อสายตาต่าง ๆ
๕. การเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
            ยุทธวิธีที่ ๒ : การสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประกอบ
ด้วย กิจกรรมหลัก ดังนี้
๑. การปรับสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเพื่อให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองให้
มากที่สุด และสามารถใช้เวลาที่เหลืออยู่ทำ กิจกรรมของตนเองในห้องเรียน
๒. การจัดบริเวณในโรงเรียนให้เป็นแหล่งความรู้ และแหล่งสนับสนุน
เช่น ความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้ในโรงเรียน ประโยชน์ของอาหารในโรงอาหาร สวน
สมุนไพร ร้านหนังสือ เป็นต้น
๓. การจัดศูนย์วิทยาการให้เป็นแหล่งความรู้ที่หลากหลายนอกเหนือไป
จากหลักสูตรปกติ และห้องสมุด เพื่อเน้นให้เด็กเรียนด้วยตนเอง นักเรียนสามารถเรียน
ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ โดยมีครูประจำ ศูนย์วิทยาการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้
ชิดเมื่อเด็กต้องการ และมีการปรับเปลี่ยนสื่อและกิจกรรมการเรียนทุก ๒-๔ สัปดาห์
๔. การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อช่วยสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่บ้าน
๕. การร่วมมือกับผู้ปกครองควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกบ้านและ
นอกโรงเรียน
          ยุทธวิธีที่ ๓ : การแนะแนวและจิตวิทยา โดยประสานกัลยาณมิตร ๕ กลุ่ม ได้
แก่ ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครูแนะแนว และนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ด้วยกระบวนการ
๕ ประการ
๑. การปรับโครงสร้างการแนะแนวและจิตวิทยา โดยการทำ งานแบบ
เป็นทีม ที่มีการแบ่งแยกความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา มีการประสานงานกันอย่างเป็น
ระบบ (Multidisciplinary Team) ซึ่งจะมีทั้งนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ นักแนะแนว ครู
และผู้ปกครองทุกคน รวมทั้งผู้บริหารด้วย
๒. การปรับระบบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กทุกด้าน เพื่อให้ครูและผู้ปกครอง
ได้นำ ข้อมูลที่ได้มาไปใช้ในการพัฒนาเด็กแต่ละคน
๓. การใช้ความรู้ การปรับทัศนคติและเทคนิคพื้นฐานของการแนะแนว
และจิตวิทยาแก่ครูทุกคน เพื่อให้รู้วิธีสังเกตศักยภาพด้านต่าง ๆ ของเด็ก ตลอดจน
ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข ซึ่งครูจะเป็นบุคคลสำ คัญในการให้ข้อมูลร่วมกับผู้ปกครอง
๔. การให้ความช่วยเหลือทางจิตวิทยาในกรณีที่มีปัญหาเกินกว่าที่ครูจะ
ช่วยเหลือได้
๕. การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับจิตวิทยาของเด็กและการส่งเสริม
ศักยภาพของเด็กด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม
       ยุทธวิธีที่ ๔ : การประเมินผล โดยกระบวนการ ๕ ประการ
๑. การประเมินผลโดยการทดสอบความรู้พื้นฐานหรือผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา โดยที่ครูมีความรู้และความเข้าใจเรื่องเทคนิคการออกข้อ
สอบ และการตัดสินผล
๒. การประเมินจากแฟ้มผลงานหรือแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ทุก
ด้านของเด็ก
๓. การประเมินจากการติดตามกระบวนการทำ งานของเด็ก
๔. การประเมินจากข้อสอบมาตรฐานเพื่อวัดความสามารถพิเศษของเด็ก
ด้านต่าง ๆ
          เมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นให้เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามยุทธวิธีเหล่านี้ เด็กจะ
สามารถแสดงออกได้อย่างหลากหลาย มีโอกาสได้ศึกษาทดลองสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
ที่มีการจัดเตรียมให้อย่างเป็นระบบทั้งในและนอกห้องเรียน เด็กก็จะแสดงความสามารถ
หลายด้านหรือเฉพาะด้านของตนออกมาในเชิงสร้างสรรค์ และเป็นการฝึกลักษณะนิสัย
ที่ดี สามารถทำ งานร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมใน
โอกาสต่อไป

ทำไมจึงควรใช้วิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
         การเรียนรู้จากครูซึ่งเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลักในการสอน ย่อมไม่เพียงพอสำ หรับ
การดำ รงชีวิตอย่างมีคุณภาพในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคม
เป็นไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนอาจล้าสมัยในเวลาไม่มากนัก และเพื่อเป็น
การสร้างมิติใหม่ทางการศึกษา “การศึกษา ๑๐๐ %” “การศึกษาตลอดชีพ” และ “สังคม
แห่งการเรียนรู้” หนทางที่จะไปสู่มิติดังกล่าวได้ก็โดยการสอนให้ผู้เรียนสามารถแสวง
หาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลายและยืดหยุ่น ได้
เรียนรู้จากครู ผู้ปกครอง ชุมชน และสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อการ
เรียนรู้ของตนเอง เหตุผลที่สนับสนุนให้นำ วิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมาใช้ในโรง
เรียนอาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
๑. ความรู้และความจริงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในโลกถูกค้นพบใหม่เสมอ ๆ ความ
เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในสังคมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ผู้เรียนจึงต้อง
เรียนรู้วิธีที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
๒. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ช่วยเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะเผชิญกับชีวิตจริง
เพราะลักษณะของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับผิดชอบต่อการ
เรียนรู้ของตนเอง ได้ลงมือปฏิบัติได้ทำ กิจกรรมกลุ่ม ได้ฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ ทักษะ
การบริหาร การจัดการ การเป็นผู้นำ ผู้ตาม และที่สำ คัญเป็นการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์
สอดคล้องกับชีวิตจริงของผู้เรียนมากที่สุดวิธีหนึ่ง
๓. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี ช่วยให้
นักเรียนได้ฝึกฝน ความเป็นประชาธิปไตย ฝึกการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ฝึกการอยู่ร่วม
กันอย่างเป็นสุข ช่วยให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน ต่อครู ต่อสถานศึกษา และต่อ
สังคม
๔. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ช่วยลดปัญหาทางวินัยในชั้นเรียน เพราะนักเรียน
ทุกคน จะได้ฝึกฝนจนกระทั่งเกิดวินัยในตนเอง ผู้เรียนแต่ละคนจะได้รับการยอมรับ
จากครู จากเพื่อน ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทำ ให้เกิดการยอมรับตนเอง เกิด
ความสุขในการอยู่ร่วมกับเพื่อน ๆ ปัญหาทางวินัยจึงลดน้อยลงและหมดไปในที่สุด
๕. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยของผู้
เรียนทั้งชั้นสูงขึ้น การช่วยเหลือกันในกลุ่มเพื่อน ทำ ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่
เรียนได้ดียิ่งขึ้น
       จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงสรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจะช่วยให้ผู้
เรียนได้รับประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ได้รับการฝึกฝน ทักษะการแสวงหา
ความรู้ ทักษะการบันทึกความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการจัดการกับความรู้ ทักษะการ
แสดงออก ทักษะการสร้างความรู้ใหม่ และทักษะการทำ งานกลุ่ม สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้
เรียนได้รับการพัฒนาไปสู่การเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่ครู ผู้ปกครอง
และสังคม ปรารถนาอย่างยิ่ง ครูจึงต้องแสวงหาแนวทางที่จะนำ เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
แนวคิดสู่การปฏิบัติ
           การนำ เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในเอกสารนี้ ไม่สามารถ
เสนอสูตรสำ เร็จหรือชุดการสอนที่จะครอบคลุมทุกสถานการณ์ของการสอน และคงจะ
เป็นไปไม่ได้ที่จะนำ เสนอได้ทั้งหมด เนื่องจากความหลากหลายของรูปแบบและวิธีการ
รวมทั้งเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละเรื่อง
อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะนำ เสนอกระบวนการเรียนรู้ ๓ วิธี เพื่อเป็นตัวอย่าง และ
ทั้งสามวิธีนี้เป็นวิธีการหลัก ๆ ที่ใช้ได้ผลดีมาแล้วในหลายสถานการณ์ ได้แก่
๑. กระบวนการกลุ่ม (Group Process/Group Activity/Group Dynamics)
๒. การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism)
๓. การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ (Cooperative Learning)
การนำ แต่ละวิธีการไปใช้ในการเรียนการสอนแต่ละเรื่อง ผู้สอนจะต้องปรับให้
เหมาะสมกับสภาพต่าง ๆ โดยต้องพยายามมุ่งเป้าหมาย “เก่ง ดี มีสุข” เป็นสำ คัญ และ
ต้องให้ผู้เรียนแต่ละคนได้บรรลุเป้าหมายนี้อย่างทั่วถึง กล่าวคือแต่ละคนเก่งขึ้น ดีขึ้น
และมีความสุขขึ้นกว่าเดิม
การเรียนการสอนเช่นนี้จึงถือว่าบรรลุเป้าหมายของทั้งผู้สอนและผู้เรียน สำ หรับ
ผู้สอน ก็ควรจะเป็นการสอนที่สนุก และเป็นโอกาสสร้างสรรค์เทคนิคการสอนใหม่ ๆ
ให้แก่วิชาชีพ อาชีพครูเป็นอาชีพของผู้ที่ทำ หน้าที่พัฒนาคน จึงเป็นอาชีพที่ท้าทายและ
มีเกียรติ อีกทั้งยังทำ ให้ครูได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพและพัฒนาปัญญาของตนเองใน
กระบวนการของความเป็นครูด้วย
๑. กระบวนการกลุ่ม (Group Dynamics, Group Process) เป็นกระบวนการเรียนรู้
ของกลุ่มผู้เรียนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีแรง
จูงใจร่วมกันในการทำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยที่แต่ละคนในกลุ่มมีอิทธิพลต่อกันและกัน การ
นำ กระบวนการกลุ่มมาใช้ในระยะแรกเป็นไปเพื่อการฝึกทักษะด้านมนุษยสีมพันธ์ การ
พัฒนาบุคลิกภาพ การให้คำ ปรึกษาและแนะแนว ในปัจจุบันได้มีการนำ กระบวนการ
กลุ่มเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ
หลักการสำ คัญของกระบวนการกลุ่มประกอบด้วย ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการ
เรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และการ
สร้างสรรค์ความรู้โดยกลุ่ม นักการศึกษาและครูสามารถนำ หลักการดังกล่าวไปประยุกต์
ใช้ในการเรียนการสอนได้ (ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ ๒๕๔๐)
๑.๑ เกม เป็นกิจกรรมการเรียนปนเล่นมีกฎกติกาไม่สลับซับซ้อน จึงช่วยให้ผู้
เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การ
ตัดสินใจ ฝึกความมีนํ้าใจเป็นนักกีฬา
๑.๒ บทบาทสมมติ กลุ่มผู้เรียนจะต้องแบ่งบทบาทและหน้าที่ให้สมาชิกในกลุ่ม
ได้แสดงบทบาทตามสถานการณ์ที่สมมติขึ้น เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการและ
ความคิดสร้างสรรค์ที่ดี เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง
๑.๓ กรณีตัวอย่าง เป็นการเรียนจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงหรือเป็นสถานการณ์ที่
เหมือนจริง โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาวิเคราะห์ อภิปราย เพื่อฝึกฝนการแก้
ปัญหา
๑.๔ การอภิปรายกลุ่ม เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่กลุ่มสนใจ
ร่วมกัน การอภิปรายกลุ่มอาจมีสมาชิกประมาณ ๖–๑๒ คน โดยมีผู้ดำ เนินการอภิปราย
สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปราย การอภิปรายทำ ได้หลายลักษณะ ผู้สอนจะต้องเลือก
ตามความเหมาะสม
๒. การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการเรียนที่
เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ สมาชิก
แต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และในความสำ เร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลก
เปลี่ยนความคิดเห็น และการแบ่งปันทรัพยากร การเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นกำ ลังใจแก่
กันและกัน สมาชิกแต่ละคน จะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองพร้อม ๆ กับการ
ดูแลเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ความสำ เร็จของแต่ละบุคคลคือ ความสำ เร็จของกลุ่ม
ความสำ เร็จของกลุ่มคือ ความสำ เร็จของทุกคน
การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ มีหลักการบางประการที่คล้ายคลึงกับการเรียน
แบบกระบวนการกลุ่ม แต่แตกต่างกันในรายละเอียด เช่น โดยหลักการนักเรียนทำ งาน
เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เหมือนกัน แต่สมาชิกกลุ่มย่อยของการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจจะต้อง
ประกอบด้วย ผู้เรียนที่คุณลักษณะแตกต่างกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้
เรียนแต่ละคนได้นำ ศักยภาพของตนมาเสริมสร้างความสำ เร็จของกลุ่มเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสช่วยเหลือกัน สมาชิกของกลุ่มต้องมีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงบวก จะต้องไว้วางใจ
กัน ยอมรับในบทบาทและผลงานของเพื่อน กิจกรรมในขั้นเตรียม ผู้เรียนจะต้องฝึกฝน
ทักษะทางสังคมเพื่อการทำ งานกลุ่ม
จากแนวคิดข้างต้น นักการศึกษาได้พัฒนาเทคนิควิธีเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
๒.๑ การเล่าเรื่องรอบวง (Roundrobin) เป็นเทคนิคการเรียนที่เปิดโอกาสให้
สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้เล่าประสบการณ์ ความรู้ สิ่งที่ตนกำ ลังศึกษา สิ่งที่ตนประทับใจ
ให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง
๒.๒ มุมสนทนา (Corners) เริ่มต้นจากการให้ผู้เรียนกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าไปนั่ง
ตามมุมหรือจุดต่าง ๆ ของห้องเรียน และช่วยกันหาคำ ตอบสำ หรับโจทย์ปัญหาต่าง ๆ ที่
ครูยกขึ้นมา และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนอธิบายเรื่องราวที่ตนศึกษาให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง
๒.๓ คู่ตรวจสอบ (Pairs Check) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มละ ๔ หรือ ๖ คน ให้นัก
เรียนจับคู่กันทำ งาน คนหนึ่งทำ หน้าที่เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา อีกคนทำ หน้าที่แก้โจทย์
เสร็จข้อที่ ๑ แล้วให้สลับหน้าที่กัน เมื่อเสร็จครบ ๒ ข้อ ให้นำ คำ ตอบมาตรวจสอบกับคำ
ตอบของคู่อื่นในกลุ่ม
๒.๔ คู่คิด (Think-Pair Share) ครูตั้งคำ ถามให้นักเรียนตอบ นักเรียนแต่
ละคนจะต้องคิดคำ ตอบของตนเอง นำ คำ ตอบมาอภิปรายกับเพื่อนที่นั่งติดกับตน นำ คำ
ตอบมาเล่าให้เพื่อนทั้งชั้นฟัง
๒.๕ ปริศนาความคิด (Jigsaw) ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาที่ครูกำ หนดให้
สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มประจำ จะได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาที่แตกต่างกันตาม
ความเหมาะสม ผู้เรียนที่ศึกษาเนื้อหาเดียวกันจากทุกกลุ่มรวมกันเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อร่วมกันศึกษาเนื้อหาจนเข้าใจ แล้วหาวิธีอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มประจำ ของตนฟัง
กลับเข้ากลุ่มประจำ เพื่อเล่าเรื่องที่ตนศึกษาให้เพื่อนฟัง เมื่อทุกคนเล่าเรื่องที่ตนศึกษาจบ
แล้ว จึงให้สมาชิกคนหนึ่งสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน ครูทดสอบความเข้า
ใจและให้รางวัล
๒.๖ กลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มย่อยจะได้รับ
มอบหมาย ให้ศึกษาเนื้อหา หรือทำ กิจกรรมที่ต่างกัน ทำ เสร็จแล้วจึงนำ ผลงานมารวม
กันเป็นงานกลุ่ม เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ควรอ่านทบทวนและตรวจแก้ไขภาษา
นำ ผลงานกลุ่มเสนอต่อชั้นเรียน
๒.๗ การร่วมมือกันแข่งขัน (The Games Tournament) ครูแบ่งผู้เรียนเป็น
๓ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มแข่งขัน สมาชิกในกลุ่มทั้ง ๒ ต้องมีจำ นวน
เท่ากัน กลุ่มที่ ๓ เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือกลุ่มผู้ตัดสิน ทุกกลุ่มต้องศึกษาเนื้อหาให้เข้า
ใจ สมาชิกกลุ่มแข่งขันแต่ละคนต้องเขียนคำ ถามมอบให้กลุ่มผู้ตัดสิน โดยไม่ต้องให้คำ
ตอบ กลุ่มแข่งขันแต่ละกลุ่มจะติวข้อสอบให้กับเพื่อนของตน เมื่อถึงเวลาแข่งขัน ผู้ตัด
สินอธิบายกติกา และเรียกตัวแทนของกลุ่มแข่งขันออกมาทีละคน หรือมากกว่านั้น ตาม
ความเหมาะสม เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน กลุ่มที่ได้คะแนนสูงกว่าเป็นผู้ชนะ
๒.๘ ร่วมกันคิด (Numbered Heads Together) เริ่มจากครูถามคำ ถาม เปิด
โอกาสให้นักเรียน แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำ ตอบ จากนั้นครูจึงเรียกให้นักเรียนคนใด
คนหนึ่งจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือทุก ๆ กลุ่มตอบคำ ถาม เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการทบ
ทวนหรือตรวจสอบความเข้าใจ
๓. การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ (Constructivist) เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียน
ต้องแสวงหาความรู้ และสร้างความรู้ความเข้าใจขึ้นด้วยตนเอง ความแข็งแกร่ง ความ
เจริญงอกงามในความรู้ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบ
การณ์กับคนอื่น ๆ หรือได้พบสิ่งใหม่ ๆ แล้วนำ ความรู้ที่มีอยู่มาเชื่อมโยง ตรวจสอบกับ
สิ่งใหม่ ๆ
แนวคิดของการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ก็คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการ
สรรค์สร้างความรู้ ความรู้เดิมเป็นพื้นฐานสำ คัญของการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ และคุณ
ภาพของการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับบริบทที่เกิดขึ้น
แนวคิดเกี่ยวกับยุทธวิธีการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ ประกอบด้วยสาระ
สำ คัญ ๕ ประการ คือ (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ : ๒๕๔๐)
๑. การสอนของครู คือการอำ นวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนสรรค์สร้างความรู้
ความเข้าใจให้เกิดขึ้นโดยตัวนักเรียนเอง
๒. การเรียนรู้เป็นกระบวนการสรรค์สร้างความคิดรวบยอด ทฤษฎี และแบบ
จำ ลองขึ้นใหม่ของแต่ละบุคคล
๓. ครูช่วยนักเรียนสรรค์สร้างความรู้ความเข้าใจใหม่ ช่วยผู้เรียนสรรค์สร้าง
ความรู้ความคิดรวบยอดที่ยังไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้น
๔. ครูช่วยผู้เรียนตรวจสอบความเข้าใจโดยพิจารณาว่าความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้น
ได้ประสานกันเป็นระเบียบ เป็นโครงสร้างความรู้ที่สามารถนำ ไปใช้ในบริบททางสังคม
ได้เพียงใด
๕. ครูช่วยผู้เรียนสร้างแผนผังความคิด โดยให้นักเรียนนำ ความรู้ ความคิดรวบ
ยอดที่สร้างขึ้นมาอภิปรายร่วมกันเป็นกลุ่ม แล้วจึงทำ เป็นแผนผังความคิด
         ถ้าจะนำ แนวคิดเกี่ยวกับยุทธวิธีการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ไปปฏิบัติจริง
ในห้องเรียน ครู ควรจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนเป็น ๕ ขั้นตอน ดังนี้
๑. ปฐมนิเทศ ครูให้โอกาสผู้เรียนสร้างจุดมุ่งหมายและแรงจูงใจในการเรียนรู้
เนื้อหาที่กำ หนด
๒. ทำ ความเข้าใจ ให้ผู้เรียนทำ ความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อของบทเรียนให้ชัดเจน
โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย
๓. จัดโครงสร้างแนวความคิดใหม่ ผู้เรียนศึกษาแนวคิดให้กระจ่าง แล้วร่วมกัน
สร้างแนวความคิดขึ้นใหม่ แล้วประเมินแนวความคิดใหม่
๔. การนำ แนวความคิดไปใช้ ผู้เรียนนำ แนวความคิดของตนไปใช้ในสถาน
การณ์ต่าง ๆ ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย
๕. การทบทวน นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่าแนวคิดของตนได้เปลี่ยนแปลงไป
อย่างไร
ข้อควรระวังในการนำ แนวคิดไปสู่การปฏิบัติ
๑. การนำ วิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมไปประยุกต์ใช้ ต้องคำ นึงถึงหลักการและ
ความมุ่งหมายควบคู่กันไปเสมอ
๒. อย่าติดรูปแบบโดยลืมสาระ เทคนิคการสอนคือรูปแบบ สาระคือการมุ่งให้
ผู้เรียนเก่ง ดี มีสุข มีประโยชน์ต่อสังคม
๓. เนื้อหาต่างกัน ผู้เรียนต่างกัน สภาพแวดล้อมต่างกัน อาจต้องใช้เทคนิคที่ต่าง
กัน ไม่มีเทคนิคใดที่ใช้ได้ทุกสถานการณ์
๔. การนำ วิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนแต่ละ
ครั้ง อาจต้องผสมผสานกันหลาย ๆ เทคนิค
๕. การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต้องกระทำ ทั้งระบบ คือต้องปรับทั้งวิธีสอน สภาพแวดล้อมทางการเรียน ให้ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระบบการแนะแนว และจิตวิทยา และระบบวัดผลประเมินผลเทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่นำ เสนอไปแล้วนั้น เป็นเพียงตัวอย่างที่ครูสามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และเมื่อครูได้เริ่มใช้ไปรายหนึ่งแล้ว ครูผู้สอนย่อมจะพัฒนาเทคนิควิธีเรียนวิธีสอนแบบมีส่วนร่วมขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะของตนเอง ครูอาจนำ เอาวิธีการที่ตนได้ค้นคิดไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนครู และนำ ไปสู่
การเผยแพร่เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาไทยในโอกาสต่อไป

 

ที่มา  http://www.onec.go.th/publication/4105001/join.pdf

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 406568เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2010 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท