งานวิจัยครูผู้สอน กรณีศึกษาเฉพาะครูผู้สอน กศน.ตำบลไผ่ล้อม


Research แปลว่า ค้นคว้าซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งน่าจะหมายถึง การค้นหาความรู้ความจริง ค้นแล้วค้นอีก ซึ่งจะทำให้ได้รับรู้ความรู้ความจริงที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง เพราะมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการสรุปเป็นความรู้ความจริงนั้น

 

การวิจัย

เป็นกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ความจริงตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในการค้นคว้าหาความรู้ความจริงของนักวิจัยนั้นก็เพื่อจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้

1. เพื่อใช้ในการทำนาย ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้พยากรณ์หรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มอย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า เช่น การวิจัยเรื่องการสำรวจราคาสินค้าสามารถนำผลมาทำนายได้ว่า แนวโน้มของราคาสินค้าในอนาคตจะเป็นอย่างไร และยังสามารถทำนายสภาพเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้อีกด้วย

2. เพื่อใช้ในการอธิบาย จุดมุ่งหมายของการวิจัยข้อนี้ก็เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้อธิบายปัญหาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุว่า สิ่งใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือสิ่งใดเป็นผลที่ทำให้เกิดสาเหตุนั้น ๆ เช่น การวิจัยหาสาเหตุที่ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่ำ ผลที่ได้จากการวิจัยจะสามารถนำมาอธิบายได้ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่ำ

3. เพื่อใช้ในการบรรยาย เป็นการมุ่งนำผลที่ได้จากการวิจัยไปใช้บรรยายสภาพและลักษณะของปัญหาว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีสภาพและลักษณะอย่างไร เช่น การวิจัยเพื่อการสำรวจความต้องการของนิสิตที่มีต่อการจัดบริการของมหาวิทยาลัย การวิจัยในลักษณะนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยมาบรรยายสภาพและลักษณะความต้องการของนิสิต ซึ่งการนำผลที่ได้จากการวิจัยมาบรรยายจะทำได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากกว่าการบรรยายสภาพและลักษณะของปัญหาที่เกิดจากความคิดเห็นหรือการวิเคราะห์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

4. เพื่อใช้ในการควบคุม จุดมุ่งหมายการวิจัยประการนี้ก็เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยไปวางแผนหรือกำหนดวิธีการในการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การวิจัยหาสาเหตุที่ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่ำ เมื่อพบสาเหตุก็สามารถหาทางควบคุมหรือป้องกันได้

5. เพื่อใช้ในการพัฒนา ผลการวิจัยอาจนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาได้ เช่น การพัฒนาบุคคล พัฒนาระบบการทำงาน พัฒนาอาคารสถานที่ ฯลฯ ดังผลการวิจัยที่พบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมโดยวิธีบรรยายมากกว่าการทดลอง ดังนั้นอาจารย์และผู้บริหารของโรงเรียนก็ควรที่จะได้หาทางปรับปรุงวิธีการสอนให้ถูกต้องและสอดคล้องกับธรรมชาติของวิชามากขึ้น

 

ผู้เขียนว่าถ้าจะกล่าวถึงจุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัยอย่างกว้าง ๆ แล้วอาจกล่าวได้ว่า ในการทำการวิจัยใด ๆ ก็ตาม ผู้ทำการวิจัยจะมีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ประการนี้คือ

1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็น อยากทราบเหตุผลและปรากฏการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงทำการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบ สิ่งใดที่พอรู้อยู่บ้างก็ทำให้รู้และเข้าใจดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางลึกซึ้ง

2. เพื่อนำผลไปประยุกต์หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้เกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาที่จะต้องค้นคว้าหาความจริงเพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยไปแก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป

         

                     

                     

                    

                    

                    

ตัวอย่างงานวิจัยค่ะ  

งานวิจัยครูผู้สอน

 

เรื่อง 

 

ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน

กรณีศึกษาเฉพาะ ครูผู้สอน กศน.ตำบลไผ่ล้อม

 

ผู้วิจัย

นางดาธิณี   ตามเพิ่ม

 

 

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2553

กศน.ตำบลไผ่ล้อม

 

โดยได้รับความเห็นชอบจาก

 

 

        ……………………………….ประธาน

                                      (นายสุชาติ  บัณฑิตเขียน)

ผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าเรือ

รักษาการในตำแหน่ง

ผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภาชี

 

ประกาศคุณูปการ

 

            การวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน" สำเร็จลงด้วยดีเพราะได้รับคำแนะนำจากเพื่อนร่วมงานซึ่งคอยให้กำลังใจและคำปรึกษาอยู่ตลอดเวลา  ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง  และขอขอบคุณนักศึกษาที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล

                งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะได้รับความกรุณาอย่างสูงจาก             นายเฉลิมฤทธิ์  เขมชัยธัญโรจน์  ที่ให้คำแนะนำ ให้ข้อคิดช่วยเหลือและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ตลอดเวลาในการดำเนินงาน ผู้วิจัยขอขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วย

 

 

 

                                                                              (นางดาธิณี  ตามเพิ่ม)

                                                                                        ผู้วิจัย

                                                                                 13  ตุลาคม  2553

 

 

ชื่องานวิจัย            ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน    
                           กรณีศึกษาเฉพาะครูผู้สอน กศน.ตำบลไผ่ล้อม                        
ชื่อผู้วิจัย               ดาธิณี   ตามเพิ่ม
ฝ่าย/งาน                งานสายสามัญ
 
บทคัดย่อ
 
                การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน กรณีศึกษาเฉพาะครูผู้สอน กศน.ตำบลไผ่ล้อม  
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจคือ นักศึกษา กศน.ตำบลไผ่ล้อม ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1. ความพึงพอใจมากที่สุด 
      2. ความพึงพอใจมาก 
      3. ความพึงพอใจปานกลาง 
      4. ความพึงพอใจน้อย         
      5. ความพึงพอใจน้อยที่สุด
                ผลปรากฏว่านักศึกษากลุ่มนี้มีความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน
ในระดับมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 23.15
ระดับมากร้อยละ 62.23
ระดับปานกลางร้อยละ 11.61
ระดับน้อยร้อยละ -
และระดับน้อยที่สุดร้อยละ -

 

วิจัยครูผู้สอน

ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน

กรณีศึกษาเฉพาะ กศน.ตำบลไผ่ล้อม

 

ความสำคัญ และที่มา

                ในแต่ละปีการศึกษาการจัดวางอัตรากำลังของครู กศน.ตำบล ให้ตรงกับความสามารถและความพึงพอใจของแต่ละบุคคลนั้น ไม่สามารถทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม แต่เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ในทุกหน้าที่มีระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ในระดับที่เหมาะสม

                ด้วยเหตุผลดังกล่าว ประกอบกับผู้วิจัยเป็นหัวหน้า กศน.ตำบลไผ่ล้อม รับผิดชอบในหน้าที่งานการศึกษาสายสามัญ กศน.อำเภอภาชี จึงได้สนใจที่จะทำการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูผู้สอน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยน และลดภาวะกดดันในการทำงานของครูผู้สอนในการลงพื้นที่ กศน.ตำบล ต่อไป

 

จุดมุ่งหมาย

                เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนหน้าที่ที่เหมาะสม และเกิดความพึงพอใจในระดับหนึ่งของนักศึกษาต่อไป

 

ตัวแปรที่ศึกษา

                การออกแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน กรณีศึกษาเฉพาะครูผู้สอน กศน.ตำบลไผ่ล้อม

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                เป็นแนวทางเพื่อการปรับเปลี่ยนหน้าที่ของครู กศน.ตำบล ให้ตรงกับความสามารถและความพึงพอใจของนักศึกษา  ทำให้งานที่ได้รับมอบหมายออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะได้รับความร่วมมือที่ดีจากนักศึกษาใน ตำบลนั้น

ขอบเขตของการวิจัย

  1. แบบประเมินเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษา กศน.ตำบลไผ่ล้อม
  2. ให้นักศึกษา กศน.ตำบลไผ่ล้อมทำแบบสอบถามประเมินสมรรถนะครูผู้สอนจำนวน 22 คน
  3. ประเมินผลที่ได้จากแบบประเมิน นำมาสรุปและนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง และกราฟ

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน

 

ตารางการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน

สมรรถนะ/รายการพฤติกรรม

ระดับการปฏิบัติ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

1. สมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน

 

 

 

 

 

1.  วิเคราะห์ภารกิจงานเพื่อวางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

-

-

2

8

12

2. กำหนดแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน

-

-

5

14

3

3. ใฝ่เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้

-

-

3

13

6

4. ริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

-

-

2

14

6

5.  แสวงหาความรู้ที่เกี่ยวกับวิชาชีพใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาตนเอง

-

-

3

10

9

6. ใช้ผลการประเมินการปฏิบัติงานมาใช้ปรับปรุง/พัฒนา

     การทำงานให้ดียิ่งขึ้น

-

-

4

15

3

7. พัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษา และชุมชน

-

-

2

15

5

2. สมรรถนะการบริการที่ดี

-

-

 

 

 

1.  ให้บริการด้วยความยิ้มแย้ม เอาใจใส่ เห็นอกเห็นใจนักศึกษา

-

-

3

14

5

2.  ให้บริการอย่างรวดเร็ว ทันใจ  ไม่ล่าช้า

-

-

3

15

4

3.  ให้บริการอย่างมีความเคารพยกย่อง อ่อนน้อมให้เกียรตินักศึกษา

-

-

3

15

4

4. ให้บริการด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจและเต็มอกเต็มใจ

-

-

2

15

5

5.  ช่วยแก้ปัญหาให้กับนักศึกษา

-

-

3

15

4

6. ให้บริการโดยยึดความต้องการของนักศึกษาเป็นหลัก

-

-

1

15

6

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน

 

ตารางการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน

สมรรถนะ/รายการพฤติกรรม

ระดับการปฏิบัติ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

1. สมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน

 

 

 

 

 

1.  วิเคราะห์ภารกิจงานเพื่อวางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

-

-

9%

36%

55%

2. กำหนดแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน

-

-

9%

62%

29%

3. ใฝ่เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้

-

-

23%

63%

14%

4. ริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

-

-

9%

64%

27%

5.  แสวงหาความรู้ที่เกี่ยวกับวิชาชีพใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาตนเอง

 

-

 

-

 

14%

 

45%

 

41%

6. ใช้ผลการประเมินการปฏิบัติงานมาใช้ปรับปรุง/พัฒนา

     การทำงานให้ดียิ่งขึ้น

 

-

 

-

 

18%

 

68%

 

14%

7. พัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษา และชุมชน

 

-

 

-

 

9%

 

68%

 

23%

2. สมรรถนะการบริการที่ดี

 

 

 

 

 

1.  ให้บริการด้วยความยิ้มแย้ม เอาใจใส่ เห็นอกเห็นใจนักศึกษา

 

-

 

-

 

23%

 

63%

 

23%

2.  ให้บริการอย่างรวดเร็ว ทันใจ  ไม่ล่าช้า

-

-

18%

14%

68%

3.  ให้บริการอย่างมีความเคารพยกย่อง อ่อนน้อมให้เกียรตินักศึกษา

 

-

 

-

 

14%

 

68%

 

18%

4. ให้บริการด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจและเต็มอกเต็มใจ

-

-

9%

68%

23%

5.  ช่วยแก้ปัญหาให้กับนักศึกษา

-

-

14%

68%

18%

6. ให้บริการโดยยึดความต้องการของนักศึกษาเป็นหลัก

-

-

5%

68%

27%

สรุปผล

                ผลการวิจัยเพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของครูผู้สอน กรณีศึกษาเฉพาะ กศน.ตำบลไผ่ล้อม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจเพื่อทำการประเมินครูผู้สอน คือ นักศึกษา กศน.ตำบลไผ่ล้อม จำนวน 22 คน แบ่งผลสำรวจเป็น 5 กลุ่ม คือ

  1. ความพึงพอใจมากที่สุด
  2. ความพึงพอใจมาก
  3. ความพึงพอใจปานกลาง
  4. ความพึงพอใจน้อย
  5. ความพึงพอใจน้อยที่สุด

ปรากฏว่านักศึกษากลุ่ม กศน.ตำบลไผ่ล้อม มีความพึงพอใจต่อครูผู้สอนในการปฏิบัติหน้าที่ที่

ได้รับมอบหมายในการสอน

ในระดับมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 23.15

ระดับมากร้อยละ 62.23

ระดับปานกลางร้อยละ 11.61

ระดับน้อยร้อยละ -

และระดับน้อยที่สุดร้อยละ -

 

สรุป แบบประเมินสรรถนะครูผู้สอน  ที่อยู่ในระดับมาก   68%  คือ

-                   ใช้การประเมินการปฏิบัติงานมาใช้ในการปรับปรุง/พัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

-                   พัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและชุมชน

-                   ครูผู้สอนให้บริการรวดเร็ว ทันใจ ไม่ล่าช้า

-                   ครูผู้สอนให้บริการอย่างมีความเคารพยกย่อง อ่อนน้อมให้เกียรตินักศึกษา

-                   ครูผู้สอนให้บริการด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และเต็มอกเต็มใจ

-                   ครูผู้สอนช่วยแก้ปัญหาให้กับนักศึกษา

-                   ครูผู้สอนให้บริการโดยยึดความต้องการของนักศึกษาเป็นหลัก

 

จากข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยจะได้นำไปเป็นข้อมูลไปพัฒนาตนเอง ในการจัดกิจกรรมการศึกษาให้กับนักศึกษา กศน.ตำบลไผ่ล้อม และเป็นฐานข้อมูลในการปรับเปลี่ยนงานของผู้วิจัย ในปีการศึกษาหน้าต่อไป 

ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย 

  1. นักศึกษามีความคาดหวังในการปฏิบัติหน้าที่ของครูผู้สอนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ว่าการสอนตรงกับความสามารถของครู และตามความต้องการนักศึกษาหรือไม่
  2. ครูผู้สอนสามารถทราบและนำมาปฏิบัติในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

 

คณะผู้จัดทำ

ที่ปรึกษา

 

นายสุชาติ   บัณฑิตเขียน                                ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอท่าเรือ                             

นายทศพล     วงษ์เนตร                                  ศึกษานิเทศก์  สพท.เขต 1 พระนครศรีอยุธยา

นายเฉลิมฤทธิ์   เขมชัยธัญโรจน์                    อดีตผู้อำนวยการ กศน.อำเภอาชี

นายวุฒิพล  สุขศรี                                          ครู คศ.1

นางสาวขวัญเรือน   บัณฑิตเขียน                   พนักงานราชการ

นางสาวรัตนา   ทองพิมพ์                               พนักงานราชการ

 

ผู้วิจัย

นางดาธิณี   ตามเพิ่ม                                        หัวหน้า กศน.ตำบลไผ่ล้อม 

ผู้เรียบเรียง/จัดพิมพ์รูปเล่ม 

นางดาธิณี   ตามเพิ่ม                                        หัวหน้า กศน.ตำบลไผ่ล้อม    

หมายเลขบันทึก: 406060เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2010 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท